ไต้ร่มอโศก: ศูนย์รวมข่าวคราวของญาติธรรมจากทั่วสารทิศ เพื่อเสริมสร้างกำลังใจ ให้กรรมฐานและแก้ปัญหาของนักปฏิบัติธรรม หนังสือพิมพ์สารอโศก อันดับที่ 228 ฉบับ เดือนกันยายน 2543
หน้า 1/2

เพียงแค่เทวทูต ๔ จิตโพธิสัตว์เริ่มหวั่นไหว...นึกคิด
แต่กับมนุษย์ปุถุชน

มีแต่โลกาวินาศจึงรู้สึก!

ความเห็นแก่ตัว มัวเมา บริโภค...วุ่นวายปรนเปรอ

โลกจึงบอบช้ำ...รันทด

คนชนบทตายไปเมื่อหลายปี

ชีวิตของดินวันนี้ อยู่ได้เพราะสารเคมี

โลกก็เริ่มตายแล้ว...กลิ่นเน่าเริ่มโชย

ความอบอุ่นในครอบครัวล่มสลาย

ดินฟ้าอากาศ วิปริต บ้าคลั่ง

ภัยธรรมชาติใหญ่หลวงเกินกว่ามนุษย์หน้าไหนบำบัด

จงสงบ...จงหยุดร่าน...จงหยุดมัวเมา

ไถ่บาปด้วยชีวิตเรียบง่าย ประหยัด

กินน้อยใช้น้อย เสียสละ มากน้ำใจ

เป็นรหัสแห่งชีวิตที่ไขไปสู่อมตะ!

เป็นเคล็ดลับที่จะช่วยกันคุ้มครองดูแลโลก

เป็นมนตราฉมังที่จะช่วยสังคม ตกต่ำ

จะรออีกกี่ครั้งภัยพิบัติ...จึงจะสำนึก

เทวฑูตยุค ๒๐๐๐ สะกิดแล้ว

กระตุกแล้ว...กระชากแล้ว...

และกำลังจะหยาบคายมากขึ้น!
ปฏิบัติธรรมด้วย การดูแลบุพการี
        ออกจากอาจารย์สอนวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี เผื่อจะมีโอกาสช่วยงานวัด แต่งานที่สำคัญกว่าต้องมาก่อน

เมื่อคุณแม่ป่วย ญาติธรรม เปรมใจ จึงได้ทดแทนพระคุณเต็มที่

        "สำหรับแม่มีสุขภาพดีแต่ก็ปวดเมื่อยตามประสาคนชรา ที่ยังช่วยตัวเองได้ ดิฉันก็เป็นผู้ช่วยที่ใช้ได้บ้างไม่ได้บ้าง บางทีแม่ก็ทำเองเพราะดิฉันไม่ได้ทำให้ ดิฉันก็เพียงแต่ดูแลให้แม่กินข้าวได้ นอนหลับ ขับถ่ายเป็นเวลาทุกวัน แค่นี้ก็รู้สึกว่าเป็นงานที่น่ายินดีทำต่อไปให้ได้ แม้ว่าจะมีจิตเห็นว่างานนี้ ไม่ได้ช่วยผู้อื่นเลย แต่ก็พยายามมองมุมอื่นว่า เราได้มีโอกาสเรียนรู้การใช้ชีวิตที่อยู่ในสภาพวัยของ ๘๕ ในการลุกนั่ง ยืน เดิน นอน ที่เต็มไปด้วยการต้องระมัดระวังอยู่เสมอ ก็เป็นความน่าเบื่อของคนชราแล้ว เราจะได้รับรู้สภาวะนี้ เพื่อปรับเปลี่ยนทุกข์ให้เป็นภาวะที่สุข(จิตยินดี พอใจ ในภาวะนั้น) ก็เลยคิดว่าเลิกเบื่อหน่ายในอาชีพนี้เสีย จงทำดีต่อไป เห็นดีต่อไป คิดดีต่อไป เพื่อจะได้รับธรรมที่สูงๆขึ้นนั่นเองค่ะ..."

บรรยากาศแห่งการปฏิบัติธรรม
 จากญาติธรรม อนงค์  (อ.สายบุรี จ.ปัตตานี) เล่ากิจกรรรมประจำชีวิตสู่กันฟัง

"รู้สึกละอายแก่ใจเหมือนกันที่ตนเองยังไม่ก้าวหน้าไปถึงไหนเลย คือยังไม่มั่นคง โลเลไปตามกิเลส ได้มีการรวมกลุ่มสวดมนต์เย็นเวลา ๑๙.๓๐ น. ต่อด้วยการนั่งสมาธิอีกประมาณ ๒๐ นาทีค่ะ ช่วงเข้าพรรษานี้ เพิ่มการไปสวดมนต์ที่วัดใกล้บ้านในวันพระด้วย คงต้องมีตารางกิจวัตรฝึกตนเองตามที่ท่านชี้นำแล้ว..."

    พวกเราหลายคน ปฏิบัติไปปฏิบัติมา กลายเป็น"นักมังสวิรัติ"มากกว่า"นักปฏิบัติธรรม"!

    และบางคน ปฏิบัติธรรมก็จริง แต่"กายสักขี" กลับไม่มีให้เห็น คนอื่นสัมผัสไม่ได้ ตัวเองก็เริ่มเฉื่อยชา รูปแบบชาวธรรมะมีอะไรบ้าง เป็นหน้าที่ของทุกคน ที่จะต้องน้อมนำมาเป็น"กายสักขี"

ชาวมุสลิม มีการนมัสการ ๕ ครั้งใน ๑ วัน

ชาวอโศก นอกจากมีปรมัตถธรรม ยังมีกายสักขีอื่นใดอีก โปรดค้นหา จุ๊ย์ๆๆ

วิกาลโภชนา ๔ ระดับเป็นไฉน?
    โลกมนุษย์วุ่นวายสับสนเพราะกินไม่เป็น ทั้งหลงรสชาติ ทั้งมัวเมาในกามคุณ(รูปสวย กลิ่นหอม รสอร่อย ฯลฯ)

    พวกเราญาติธรรม ณ วันนี้ ปฏิบัติอย่างไร โปรดแจ้งแถลงไข? จากญาติธรรม กิตติ (อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่)

    "ทุกข์เพราะความอยากกินเป็นทุกข์อย่างยิ่ง จึงลดอาหารลงมาเหลือเพียงข้าวกล้องถั่วที่ไม่ใช่ถั่วเหลือง งา ผักสดพื้นบ้าน กล้วยน้ำว้า"

    ทั้งหมดไม่ใด้ปรุงแต่ง สะดวกสบาย ไม่ยุ่งยาก ได้สารอาหาร วิตามินโดยไม่ถูกทำลาย ร่างกายสดชื่น กว่าการกินอาหารที่ผ่านการทำให้สุก

    ทั้งนี้ปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายที่ได้รับอาหารสดดีกว่าอาหารปรุงแต่ง ที่ผ่านความร้อน ทำให้อึดอัดไม่สบายเกิดโรคได้ง่าย

    กระผมเชื่อว่า ยิ่งปรุงแต่งมากก็เกิดโรคมาก ปรุงแต่งน้อยโรคก็เกิดน้อย ทั้งอาหารและอารมณ์ รับประทานอาหารให้เป็นยา ดีกว่าสนอง

ความอยากด้วยการปรุงแต่งให้มันอร่อย

    ในเรื่องของอาหาร จะพยายามต่อไป บางครั้งยืดหยุ่นด้วยความจำเป็น และยังเอาชนะใจไม่ได้ แต่ก็จะพยายาม"

    ลดมื้อ-ลดรสชาติ-ลดปริมาณ-ลดเวลา ๔ ลดให้คะแนนตัวเอง ทำได้ระดับไหน

๑.ลดมื้อ จะไม่จุบจิบ จะ ๒ มื้อ  จะ ๑ มื้อ ก็ให้จริงจัง

๒.ลดรสชาติ ความตั้งใจที่จะฝึกกินไม่อร่อย หรือทำลายรสอร่อยให้หมดลง

๓. ลดปริมาณ เมื่อคงที่ลงตัว  ปริมาณก็ต้องลดลงด้วย มิฉะนั้นแล้ว แทนที่จะทำให้ชาวโลกศรัทธา กลับดูหมิ่นเหยียดหยาม เพราะกินเหมือนชูชก

๔. ลดเวลา ใช้เวลาพอประมาณ ต้องรู้กาลเทศะ เร็วไปไม่ดีแน่ แต่นานไปก็แย่เหมือนกัน ต้องรู้ฐานะตัวเอง บางคนกินตั้งครึ่งวัน ใจคอจะไม่ยอมทำงานอื่นเลยหรือไง  จุ๊ย์ๆๆ

การประชุมที่น่าเบื่อหน่าย
    ๔ ตุลาคม ๒๕๔๓ พนักงานบริษัทพลังบุญ  พบพ่อท่านเพื่อฟังธรรม  ในวาระบริษัทยืนหยัด"บุญนิยม" มาได้ครบ ๑๔ ปี

    ในหลายๆเรื่อง พอท่านบอกชาวอโศกนี้แหละ ประชุมเก่ง มีประสบการณ์เยอะ แต่การประชุมที่น่าเบื่อ ที่ต้องระวัง มีดังนี้

๑. ไม่กำหนดวาระการประชุม

๒. พูดนอกประเด็น

๓. ไม่ทำตามมติ

    หวังว่า ๓ ข้อนี้ คงจะทำให้กลุ่มต่างๆของพวกเรา ประชุมได้ดีขึ้นนะฮะ จุ๊ย์ๆๆ

การเดินทางไปสู่ความตาย!
    จากญาติธรรม ภาธิดา (อ.นครชัยศรี นครปฐม)

    "ดิฉันยอมรับหลักปฏิบัติของหมู่กลุ่มชาวอโศก ดิฉันเองพยายามทานมังสวิรัติในวันพระ วันเกิด ถ้าไม่ได้จริงๆ ก็วันละ ๑ มื้อ (ที่กระทรวงมหาดไทยจะมีอาหารมังสวิรัติขายค่ะ) ถ้าเสาร์อาทิตย์อยู่บ้านก็จะทำทานเอง ไม่พูดโทรศัพท์กับใครเพื่อเพิ่มกิเลส สวดมนต์ อ่านหนังสือธรรมะ ฟังเท็ป อ่านดอกห­้า อ่านสารอโศก..."

มาทางธรรม มาลดละ ฝึกตน นั่นก็คือมาตายฮะ แต่เป็น"ตายก่อนตาย !"
ส่วนใหญ่ เมื่อปฏิบัติธรรมเขาก็มักจะเริ่มสงบขึ้น อยู่กับตัวเองมากขึ้น หากิจกรรมเกี่ยวกับธรรมะมากุ๊กกิ๊ก !

พุทธธรรมกำมือเดียว เหมือนเส้นผมบังภูเขา "ละชั่ว ประพฤติดี"

อกุศลกรรมมีตรงไหน เรียนรู้และจัดการ ไม่ว่าจะกายกรรม วจีกรรม และลึกเข้าไปอีก ก็มโนกรรม

ข้อสำคัญที่จะ"ไม่ทันเกม" ก็คือ รู้มั้ยว่า อกุศลกรรมของตัวเองมีอะไร พ่อท่านสอนตลอดเวลาอยู่แล้ว หน้าที่ของลูกๆก็คือ เริ่มลงมือฝึกฝน พากเพียร อดทน อย่าบ่น!

ทำได้ง่าย แสดงว่ามีบารมีง่าย ทำได้ยาก แปลว่ากำลังสร้างบารมี  (ส่วนการเดินทางศึกษาตามสำนักต่างๆ นั่นก็คือ หารายละเอียดเพิ่มเติม บางคนพอได้ดีจึงสำคัญผิด คิดว่ารายละเอียดเป็นตัวหลักก็มีเหมือนกัน)

ไม่ทำวันนี้ แล้วเมื่อไหร่จะสำเร็จ? จุ๊ย์ๆๆ

ข้อพิจารณาสำหรับคนปฏิบัติที่อยู่ทางโลก
    "สำหรับตัวกระผมนั้นตอนนี้ก็ได้ปฏิบัติตนตามแนวอโศก จะไม่ครบตามมาตรฐาน เช่น ไม่ได้ร่วมประชุมกลุ่ม ไม่ได้ช่วยเหลือในหมู่คณะ ไม่ได้ไปร่วมงานสำคัญของชาวอโศก แต่ผมก็ยังปฏิบัติ รักษาศีล ๕ ละอบายมุข รับประทานอาหารมังสวิรัติ อยู่นอนเรียบง่าย นอนเสื่อ ไม่มีที่นอนสูงๆ กินสองมื้อ กินข้าวกล้อง ถั่วงา และไม่ใช้ของฟุ่มเฟือย ผมปฏิบัติอย่างนี้บางคนก็บอกว่าดี บางคนก็บอกผมตระหนี่บ้างละ บางคนก็ว่าบ้าๆบ๊องๆบ้าง ผมก็ไม่ว่าอะไร"

  
  ญาติธรรม อ้าย ผัดวัน (อ.แม่อาย เชียงใหม่) ถึงตัวอยู่ไกล แต่ก็ยังมั่นคงในการปฏิบัติ
 
   "มั่นคง" ของจิ้งจก หมายถึง แม้ล้มก็ยังลุกขึ้นสู้ต่อไป
    ขั้นตอนที่ ๑ ผ่านไป  ขั้นตอนที่ ๒ คงต้องหาทางมาใกล้ชิดชาวอโศก ให้มากขึ้นนะครับ

    เพื่อหล่อหลอมจิตวิญญาณให้เป็นหนึ่งเดียว ! จุ๊ยๆ์ๆๆ

การทำงานต้องปฏิบัติธรรมเป็น (๖๒)
    ตอน: เราจะตาทิพย์ มองชีวิตในหลายมิติ

    "การทำงานได้ทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน

เวลาทำงานด้วยกันพูดคุยกัน จะต้องรู้จริตของแต่ละคน

การทำงานของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ควรปรับหลักการทำงานให้ไปในทิศทางเดียวกัน

เราต้องรู้ประมาณในการพูด พูดอะไรออกไปแล้ว เขาไม่ชอบในสิ่งที่เราพูด เราก็อย่าพูดเลยดีกว่า

แต่ถ้าจะพูด ควรพูดส่งเสริมให้กำลังใจกัน ไม่ใช่ซ้ำเติมกัน

ก็ขอให้ทุกคนทำงานด้วยความเข้าใจซึ่งกันและกัน

ยิ้มให้กับคนที่เราไม่ชอบ ทักทายกัน ช่วยเหลือกัน เพื่อลดความโกรธในใจเรา

ถึงแม้จะฝืนใจก็ต้องทำ!

มิฉะนั้นแล้วความโกรธจะไม่ลด จะเก็บสะสมไว้คอยเวลาระเบิดออกมา

คนที่เราไม่ชอบให้เราหัดวางใจ มองในมุมดีของเขาให้มาก..."

(เก็บตกโอวาทประธาน สมณะซาบซึ่ง สิริเตโช ในการประชุม ชมร.เชียงใหม่ ครั้งที่ ๗ เมื่อวันที่ ๑๗ ก.ค.๒๕๔๑)