โครงการพลังกู้ดิน ประชาเป็นสุข 1/5 โครงการพลังกู้ดิน ประชาเป็นสุข Close

หน้าแรก >[04] กสิกรรม > คกร. > โครงการพลังกู้ดินฟ้า ประชาเป็นสุข >โครงการ และที่ตั้งสำนักงานโครงการ

หลักการ เหตุผล ประวัติ ความสำคัญ และที่มา ของโครงการ
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
วัตถุประสงค์
กลวิธีและกิจกรรม
   ผังแสดงความสัมพันธ์ของกระบวนการเรียนรู้
   3 แผนงานหลัก 12 กิจกรรม
   แผนภูมิยุทธศาสตร์การดำเนินงาน
แผนปฏิบัติงานโครงการ ปฏิทินกิจกรรม
กลุ่มเป้าหมาย และพื้นที่ดำเนินงาน

ผลลัพท์ (Output)
ผลกระทบ (Impact)
ตัวชี้วัด
การประเมินผล
งบประมาณ
องค์กรภาคีร่วมงาน
ลไกการจัดการ
การขยายผล
ความต่อเนื่องและยั่งยืน

 

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) พลังกู้ดินฟ้าประชาเป็นสุข

ประเภทโครงการ

เป็นโครงการที่พัฒนาแบบองค์รวมทั้งด้านจิตภาพ และด้านกายภาพ โดยเน้นการลดละเลิกอบายมุข เพื่อสุขภาพจิตที่ดีของตัวเอง และครอบครัว ตั้งแต่การพัฒนาองค์ความรู้ การรณรงค์ เผยแพร่องค์ความรู้ การสร้างความเข้มแข็งของกลุ่ม และชุมชน ตลอดทั้งการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถของเครือข่าย

องค์กรที่เสนอโครงการ

ชื่อองค์กร เครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษแห่งประเทศไทย
ชื่อหัวหน้าองค์กร นายธำรงค์ แสงสุริยจันทร์
ตำแหน่ง ประธานกรรมการเครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษแห่งประเทศไทย

ที่อยู่ เลขที่ 65/45 อาคารฟ้าอภัย ซอยเทียมพร ถนนนวมินทร์ เขตบึงกุ่ม
กรุงเทพมหานคร 10240 โทร. 0-2375 8511 Fax. 0-2733 6677
Email:
[email protected]

ผู้รับผิดชอบโครงการ

ชื่อ นายธำรงค์ แสงสุริยจันทร์
ตำแหน่ง ประธานกรรมการเครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษแห่งประเทศไทย

ที่อยู่ เลขที่ 65/45 อาคารฟ้าอภัย ซอยเทียมพร ถนนนวมินทร์ เขตบึงกุ่ม
กรุงเทพมหานคร 10240 โทร. 0-2375 8511 Fax. 0-2733 6677
Email: [email protected]

กรณีติดต่อผู้รับผิดชอบไม่ได้ ขอให้ติดต่อ

ชื่อ นายแก่นฟ้า แสนเมือง
ที่อยู่ เลขที่ 270 หมู่ 15 ต.กระแชง อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ
รหัสไปรษณีย์ 33110 โทรศัพท์ / โทรศัพท์เคลื่อนที่ 09 8461212 , โทรสาร 045 635767

งบประมาณโครงการ

งบประมาณรวมทั้งโครงการ 50,345,475 บาท (ห้าสิบล้านสามแสนสี่หมื่นห้าพันสี่ร้อยเจ็ดสิบห้าบาทถ้วน)

งบประมาณที่ต้องการสนับสนุนจาก สสส. จำนวน 36,279,275 บาท (สามสิบหกล้านสองแสนเจ็ด
หมื่นเก้าพันสองร้อยเจ็ดสิบห้าบาทถ้วน )

งบประมาณสมทบ จากองค์กรที่เสนอโครงการ 14,066,200 บาท ( สิบสี่ล้านหกหมื่นหกพันสองร้อยบาทถ้วน)
[ดูภาคผนวก 1]

โครงการนี้ ขอรับการสนับสนุนจาก สสส. เพียงแหล่งทุนเดียวเท่านั้น

โครงการจะเริ่มต้น และสิ้นสุดเมื่อใด

วันเริ่มต้น 1 มิถุนายน 2546 กำหนดเสร็จ 31 พฤษภาคม 2547

โปรดให้รายชื่อบุคคลที่น่าเชื่อถือ ที่สามารถอธิบายถึงผลงานของท่านที่ผ่านมาได้ จำนวน 2 ท่าน

ชื่อ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ที่อยู่ เลขที่ 9 บ้านพิษณุโลก กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์ 01 8113444 ตำแหน่ง/หน่วยงาน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี

 

ชื่อ ร.ต.อ.ดร.นิติภูมิ นวรัตน์ ที่อยู่ 100/189 หมู่บ้านเลคการ์เดน ถ.ขุมทอง-ลำต้อยติ่ง
แขวงขุมทอง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯโทรศัพท์ 01 9264419

(หมายเหตุ ในกรณีงบประมาณโครงการที่เสนอต่อ สสส. มากกว่า 500,000 บาทให้แนบหนังสือรับรองผลงาน และให้บุคคลอ้างอิงลงนามมาพร้อมกับแบบเสนอโครงการ)

ท่าน และองค์กรของท่าน จัดอยู่ ในประเภทองค์กรใด เลือกเพียง 1 ข้อ

เป็นองค์กรชาวบ้าน ซึ่งรวมกลุ่มกันเป็นเครือข่ายชุมชนพึ่งตนเองแบบครบวงจร ที่มีการพัฒนาจิตวิญญาณของคน ในองค์กรบนพื้นฐานของพุทธศาสนา จนสามารถลดกิเลสได้ระดับหนึ่ง แล้วพัฒนากิจกรรม ในการพึ่งตนเอง สู่การนำไปช่วยเหลือสังคมที่หลากหลาย ทั้งด้านการศึกษา สิ่งแวดล้อม ศาสนา เศรษฐกิจ และสังคม เป็นระบบที่เรียกว่า “บุญนิยม”

ผลงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (ในการให้คน ในชุมชนมีสุขภาพดีขึ้นหรือไม่)

มีการพัฒนาชุมชนพึ่งตนเอง ตามทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จนเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านชุมชนเข้มแจ็ง 21 ชุมชนทั่วประเทศไทย เป็นที่ศึกษาเรียนรู้ และดูงานของทั้งภาครัฐ และเอกชนตกเฉลี่ยปีละ 100,000 คน

สร้างศูนย์อบรมหลักสูตร “สัจธรรมชีวิต” 19 ศูนย์สำหรับเกษตรกร ในโครงการพักหนี้ของ ธกส. ตามนโยบายของรัฐบาล ทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดย ในหลักสูตรเน้นการลดละเลิกอบายมุข และเศรษฐกิจพึ่งตนเอง มีเกษตรกรผ่านการอบรมมาแล้วประมาณ 35,000 คน

มีการพัฒนาระบบสุขภาพวิถีไทยแบบพึ่งตนเอง ในชุมชน โดยนำศาสตร์แพทย์แผนไทย แพทย์แผนตะวันออก และแพทย์แผนปัจจุบัน มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน จนเป็นที่สนใจของหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนที่มาศึกษาดูงาน

มีการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมด้านสุขภาพ เรียกว่า “ค่าย 8 อ.” คือ
(1) อิทธิบาท (2) อาหาร (3) อากาศ (4) ออกกำลังกาย / อิริยาบท (5) เอนกาย (6) อารมณ์ (7) เอาพิษออก (8) อนามัยสิ่งแวดล้อม / อุบัติเหตุ เป็นการปฏิบัติการเชิงรุก ด้านสุขภาพของชุมชน ด้วยหลักการพึ่งตนเองแบบง่ายๆ และมีศูนย์สุขภาพชุมชนเป็นที่รวบรวมความรู้ 11 ชุมชน

ผลงานด้านเผยแพร่การกสิกรรมไร้สารพิษจนเป็นที่รู้จักทั่วประเทศ ทั้งด้านการผลิต โดยการใช้ปุ๋ยชีวภาพที่สามารถผลิตเองได้ การรักษาสิ่งแวดล้อม การจัดการขยะ ในชุมชน การแปรรูปผลผลิตโดยองค์กรชุมชน และการตลาด

มีผลงานด้านการเผยแพร่เทคโนโลยี่ชีวภาพ เช่นการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด การทำฮอร์โมนพืชการทำสารป้องกันศัตรูพืชจากชีวภาพ เป็นต้น

ประสบการณ์ ในการดำเนินงาน หรือบริหารโครงการ

1. โครงการ พัฒนาคุณภาพ และศักยภาพเกษตรกร
แหล่งทุนสนับสนุน ธนาคาร เพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)
งบประมาณโครงการ 60 ล้านบาท ปี พ.ศ. ที่ดำเนินงานโครงการ 2544 – 2545

2. โครงการชุมชนเข้มแข็งประเทศชาติมั่นคง
แหล่งทุนสนับสนุน กองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคม (SIF)
งบประมาณโครงการ 9.8 ล้านบาท ปี พ.ศ. ที่ดำเนินงานโครงการ 2542 – 2544

3. โครงการชุมชนกู้วิกฤติชาติ
แหล่งทุนสนับสนุน กองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคม (SIF)
งบประมาณโครงการ 9.6 ล้านบาท ปี พ.ศ. ที่ดำเนินงานโครงการ 2542 – 2544

4. โครงการกู้ดินฟ้า
แหล่งทุนสนับสนุน เครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษประประเทศไทย (คกร.)
งบประมาณโครงการ 12 ล้านบาท ปี พ.ศ. ที่ดำเนินงานโครงการ 2542 – ปัจจุบัน

รายละเอียดโครงการ

1. หลักการ เหตุผล ประวัติ ความสำคัญ และที่มา ของโครงการ

ความสำคัญ และประเด็นสุขภาพที่เกี่ยวข้อง จากผลการวิจัยของ คณะนักวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจากข้อมูลของศูนย์วิทยุนารายณ์ของกรมตำรวจที่เผยแพร่ ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และมติชนเมื่อต้นปี 2545 กล่าวถึงความสูญเสียของคนไทยดังนี้

ลำดับ

รายการ

มูลค่าความสูญเสีย (ล้านบาท)

1.

คนไทยซื้อหวยใต้ดิน

200,000

2.

คนไทยเล่นการพนันฟุตบอล

55,000

3.

คนไทยสูบบุหรี่

42,000

4.

คนไทยดื่มเบียร์

50,000

5.

คนไทยดื่มเหล้า

30,000

6.

คนไทยเล่นไพ่

100,000

7.

อุบัติเหตุจากการดื่มเหล้า

101,467

8.

คนไทยซื้อหวยรัฐ

30,000

รวมความสูญเสียเป็นเงิน

50,345,475

ความสูญเสียทางเศรษฐกิจดังกล่าว มีมูลค่าเกือบเท่าผลผลิตมวลรวม ของภาคเกษตรกรรม ปี พ.ศ. 2545 ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 650,000 ล้านบาท (ข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์) ทั้งนี้ไม่รวมความสูญเสียทางด้านจิตใจ และสังคม จากการที่เครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษแห่งประเทศไทย จัดอบรมหลักสูตร “สัจธรรมชีวิต” ได้มีการสุ่มสำรวจข้อมูลจากเกษตรกรที่เข้ารับการพักชำระหนี้ทั่วประเทศพบว่าค่าใช้จ่าย ที่เกิดจากอบายมุขดังกล่าว มีมูลค่าสูงกว่าค่าใช้จ่าย ด้านปัจจัยสี่เสียอีก ภาวะหนี้สินที่เกิดขึ้น ทำให้ต้องกู้เงินทั้ง ในระบบ และนอกระบบโดยไม่คำนึงถึงดอกเบี้ยที่ ตามมา

สุดท้ายกลายเป็นวัวพันหลักบีบคั้นจนสุขภาพจิตของเกษตรกรเสื่อมลง คุณธรรมจริยธรรมอันเป็นรากแก้วของสังคมเริ่มหายไป ทุกคนมุ่งหาเงินเป็นหลัก มีการใช้สารเคมี และสารพิษเร่ง และกำจัดศัตรูทางการเกษตร โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค ส่งผลให้ผู้ไม่มีทางเลือกได้รับสารพิษเหล่านี้สะสม ในร่างกายจนเกิดโรคภาวะแห่งความเสื่อม อีกทั้งตัวเกษตรกรเอง ยังตกอยู่ ในภาวะที่เสี่ยงต่อชีวิต และสุขภาพ ในการใช้สารพิษเหล่านั้นด้วย

ทางพุทธศาสนาถือว่า จิตวิญญาณเป็นประธานของสิ่งทั้งปวง เมื่อจิตวิญญาณป่วย ร่างกายย่อมเสื่อมโทรมไปด้วย มนุษย์เป็นสัตว์สังคม และเชื่อมร้อยกันด้วยจิตวิญญาณ แต่การพัฒนา ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นทางด้านวัตถุ โดยลืมเลือนการพัฒนาทางด้านจิตวิญญาณ ภาวะการเจ็บป่วยทางจิตจึงสูงขึ้น ส่งผลให้คน ในสังคมหันไปพึ่งสิ่งเสพติดทั้งที่ถูกกฎหมาย และผิดกฎหมาย ทำให้สุขภาพเสื่อมลงไปอีก ประเทศชาติจึงสูญเสียค่าใช้จ่าย ด้านรักษาสุขภาพสูงขึ้นทุกปี (จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุข เมื่อปี 2544 สูงถึง 250,000 ล้านบาท) และ ตามมาด้วยปัญหาอาชญากรรม เป็นผลทำให้สุขภาพของสังคมเสื่อมต่ำลงไปจนไม่ผาสุก

ดังนั้นแนวคิดของโครงการจึงมุ่งเน้นการแก้ปัญหาทั้งด้านจิตภาพ และกายภาพควบคู่กันไป โดยทางด้านจิตภาพจะมุ่งเน้นคุณธรรมขั้นพื้นฐาน 6 ประการคือ

คุณธรรม 6 ประการ

เครื่องชี้วัด

การประเมินผล

1. สะอาด

ปราศจากอบายมุข 6

สุขภาพจิตที่ดีขึ้น

2. ขยัน

มีความกระตือรือร้น มีอิทธิบาท

เกิดความรักใคร่กัน

3. ประหยัด

ใช้จ่าย อย่างระมัดระวังไม่ฟุ่มเฟือย

หนี้สินที่ลดลง

4. ซื่อสัตย์

ความเป็นคนตรงไปตรงมา

ความเชื่อถือของ เพื่อนบ้าน

5. เสียสละ

ช่วยเหลืองานของกลุ่ม องค์กร

มีภาวะของการเป็นผู้นำ

6. กตัญญู

รู้ตอบแทนผู้อื่น

การเกื้อกูลช่วยเหลือกัน

ส่วนด้านกายภาพจะใช้ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นหลัก ในการดำเนินกิจกรรม คือมุ่งเน้นการพึ่งตนเอง การลดรายจ่าย การเพิ่มรายได้ เช่น การทำปุ๋ยชีวภาพ การทำกสิ-กรรมไร้สารพิษ การทำแชมพูสมุนไพร การทำน้ำยาล้างจาน การทำน้ำยาซักผ้า การทำสบู่เหลว การตลาดชุมชน การสร้างเสริมสุขภาพด้วยค่าย 8 อ. เป็นต้น ซึ่ง ในกิจกรรมเหล่านี้จะมีทั้งการอบรม การสาธิต การสร้างกลุ่ม/องค์กร การเชื่อมร้อยเครือข่ายชุมชนให้เข้มแข็ง การพึ่งพา และการเอื้ออาทรต่อกัน

โครงการนี้จะเป็นการสร้างเสริมสุขภาพแบบบูรณาการ โดยจะทำเป็นระบบทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

2. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

สามสิบปีแห่งการพัฒนาองค์กร โดยเริ่มจากการพัฒนาคน ให้เข้าใจสาระของการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย และเป็นประโยชน์ ตามแนวทางของพุทธศาสนา จนกระทั่งเกิดมวลหมู่ที่ตกผลึกทางด้านความคิด และร่วมกันสร้างองค์กรที่เรียนรู้การพึ่งตนเองด้วยการสร้างทรัพยากร และใช้ อย่างมีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของคำว่า “ประโยชน์สูง ประหยัดสุด” จนเกิดองค์ความรู้ที่หลากหลาย กระจายไปทั่วเครือข่าย จนเป็นที่ยอมรับขององค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน ทั้งความรู้ ในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้พ้นทุกข์ และเป็นประโยชน์ต่อสังคม และความรู้ ในการดำรงชีวิตบนสัมมาอาชีพที่พึ่งตน และพอเพียงพร้อมๆ กับการสร้างสิ่งแวดล้อม ที่เหมาะสมทั้ง ในปัจจุบัน และ เพื่ออนาคต

จากการที่มีคนให้ความสนใจมาศึกษาปฏิบัติ จนเห็นผลเกิดกับตัวเอง ให้องค์กรต้องจัดให้มีหลักสูตรการอบรมขึ้นหลายหลักสูตร และหลายระดับ ทั้งพัฒนาบุคลากรภาย ใน และภายนอก ดังนี้

หลักสูตร

กลุ่มบุคคล

ระยะเวลา

1. คนสร้างชาติ

กลุ่มนักเรียน นักศึกษา (ภายนอก)

2 คืน 3 วัน

2. ยุวพุทธทายาท

กลุ่มนักเรียนอายุไม่เกิน 15 ปี (ภายนอก)

6 คืน 7 วัน

3. พุทธทายาท

กลุ่มหนุ่มสาวอายุ 16 – 25 ปี (ภายนอก)

4 คืน 5 วัน

3. สัจธรรมชีวิต

เกษตรกร (ภายนอก)

4 คืน 5 วัน

4. คุณธรรมกสิกรรมไร้สารพิษ

ผู้นำชุมชน (ภายนอก)

4 คืน 5 วัน

5. กสิกรรมไร้สารพิษเศรษฐกิจพอเพียง

บุคคลทั่วไป (ภายนอก)

3 คืน 4 วัน

6. เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง

บุคคลทั่วไป (ภายนอก)

10 คืน 10 วัน

7. ปลูกผักไร้สารพิษสู่มืออาชีพ

บุคคลทั่วไป (ภายนอก)

3 เดือน

8. พุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหารย์

พัฒนาด้านจิตใจบุคลากรภาย ใน

7 คืน 7 วัน

9. ปลุกเสกพระแท้ๆของพุทธ

พัฒนาด้านจิตใจบุคลากรภาย ใน

7 คืน 7 วัน

10. มหาปวารณา

พัฒนาศักยภาพผู้นำภาย ใน

5 คืน 5 วัน

11. อโศกรำลึก

พัฒนาบุคลากรภาย ใน

2 คืน 2 วัน

12. ตลาดอาริยะ

เพิ่มศักยภาพภาย ในช่วยเหลือสังคม

3 คืน 3 วัน

13. เพื่อฟ้าดิน

เพิ่มศักยภาพภาย ในช่วยเหลือสังคม

3 คืน 3 วัน

หลักสูตรการอบรมเหล่านี้ ให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรร อย่างต่อเนื่อง และเกิดมีบุคลากรที่ศรัทธา เสียสละเข้ามาช่วยงาน เพื่อประโยชน์ของสังคม และประเทศชาติเพิ่มขึ้น องค์ความรู้ต่างๆ หลายสาขามีผู้เต็มใจ และยินดีถ่ายทอดให้แก่บุคลากร ในเครือข่าย อย่างไม่ปิดบังเป็นการทำบุญโดยหวังให้
เครือข่ายถ่ายทอดเป็นประโยชน์ต่อสังคม และประเทศชาติต่อไป

จากการที่เครือข่ายได้เปิดศูนย์อบรม 19 ศูนย์ทั่วทุกภาคของประเทศ ให้แก่กสิกร ตามนโยบายพักหนี้เกษตรกรรายย่อยของรัฐบาล โดยร่วมมือกับทางธนาคาร เพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ในปี 2544 – 2545 นั้น มีกสิกรที่ผ่านการอบรมหลักสูตร “สัจธรรมชีวิต” ประมาณ 30,000 คน ให้เกิดแนวคิดว่า น่าจะมีการติด ตามผล และคัดเกษตรกรบางส่วน เพื่อพัฒนาศักยภาพ ให้สูงขึ้น จนสามารถเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับคนอื่นให้นที่ได้


<3. วัตถุประสงค์

3.1 เพื่อติด ตามประเมินผลกสิกรที่ผ่านการอบรมหลักสูตร “สัจธรรมชีวิต” จำนวน 30,000 คน โดยมีเครื่องชี้วัดผู้ผ่านการอบรมดังนี้

3.1.1 จำนวนผู้เลิกอบายมุขได้ อย่างเด็ดขาด
3.1.2 จำนวนผู้กำลังลด ละ เลิก อบายมุข
3.1.3 จำนวนผู้ทำปุ๋ยชีวภาพใช้เอง และปริมาณปุ๋ยชีวภาพที่ผลิตได้
3.1.4 จำนวนผู้ทำแชมพูสมุนไพรใช้เอง และปริมาณแชมพูสมุนไพรที่ผลิตได้
3.1.5 จำนวนผู้ทำน้ำยาล้างจานใช้เอง และปริมาณน้ำยาล้างจานที่ผลิตได้
3.1.6 จำนวนผู้ทำน้ำยาซักผ้าใช้เอง และปริมาณน้ำยาซักผ้าที่ผลิตได้
3.1.7 จำนวนผู้ทำสบู่เหลวใช้เอง และปริมาณสบู่เหลวที่ผลิตได้
3.1.8 จำนวนผู้ทำกสิกรรมไร้สารพิษ
3.1.9 จำนวนผู้ทำกิจกรรม 5 ส. (สะสาง สะอาด สะดวก สุขลักษณะ สร้างนิสัย)
3.1.10 จำนวนผู้พ้นภาระหนี้สินของ ธกส.

3.2 เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน ประมาณ 568 กลุ่มทั่วประเทศ

3.3 เพื่อสร้างวิทยากรกระบวนการประจำกลุ่ม ในแต่ละพื้นที่ให้ได้ประมาณ 3,400 คน ทั่วประเทศ

3.4 ให้เกิดการเชื่อมร้อยเครือข่ายเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง เป็นสังคมแห่งการเกื้อกูล

3.5 เพื่อกระจายองค์ความรู้แห่งการพึ่งตนเองลงสู่ประชาชน 50,000 คน ภาย ใน 1 ปีโดย วิทยากรในพื้นที่

3.6 เพื่อรณรงค์ให้คนลด ละ เลิกการติด ในอบายมุข

3.6.1 เหล้า 5,000 คน
3.6.2 บุหรี่ 5,000 คน
3.6.3 การพนัน 5,000 คน

3.7 เพื่อพัฒนากิจกรรม หลักสูตร ในการสร้างเสริมสุขภาพด้วย 8 อ. ให้เกิดกระบวนการสร้างเสริมสุขภาพด้วย 8 อ. ในระดับชุมชน อย่างน้อย 20 ชุมชน

3.8 เพื่อสร้างผู้นำกสิกรให้สามารถเป็นได้ทั้งปฏิบัติกร และวิทยากร ที่มีวิสัยทัศน์ มีปัญญา มีความรู้ความเข้าใจ และเชื่อมั่น ในหลักการเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และอุดมการ ในการทำกสิกรรมไร้สารพิษ มีคุณธรรมขั้นพื้นฐาน อย่างเป็นรูปธรรม คือมีศีลห้า และละอบายมุขหกได้ มีความซื่อสัตย์ และเสียสละ พร้อมที่จะอุทิศตนทำงาน เพื่อส่วนรวมได้ทุกเมื่อ 1,000 คน

3.9 เพื่อสร้างชุมชนต้นแบบที่จะเป็นตัว อย่างของชุมชนไร้สารพิษให้ได้ อย่างน้อย 20 ชุมชน โดยเน้นการกระจายพื้นที่ครอบคลุมทั้งประเทศ ให้เป็นศูนย์สาธิตการเรียนรู้ประจำท้องถิ่น ฝึกอบรมขยายผล เพิ่มพูนสมาชิกไร้สารพิษให้มากขึ้น (รายละเอียด ในภาคผนวก)

3.10 เพื่อจัดทำแผนแม่บทชุมชน ใน 20 ชุมชนต้นแบบ ด้วยกระบวนการประชาสังคมแบบมีส่วนร่วม อย่างมีปัญญา และองค์ความรู้ที่จะนำไปสู่การพึ่งตนเอง ในระยะยาวได้ อย่างแท้จริงนอกจาก “คิดเอง ทำเอง” แล้ว ยังต้อง “คิดเป็น และทำเป็น” ด้วย

3.11 เพื่อรณรงค์เผยแพร่องค์ความรู้เรื่องคุณธรรม และกสิกรรมไร้สารพิษสู่สังคมวงกว้าง ด้วยสื่อสาธารณะต่าง ๆ ทุกรูปแบบ เพื่อสร้างความเข้าใจให้ตระหนักถึงปัญหา และแนวทางแก้ไขร่วมกัน อย่างเป็นองค์รวมทั้งระบบ ในสังคมทุกภาคส่วน