โครงการพลังกู้ดิน ประชาเป็นสุข 2/5 โครงการพลังกู้ดิน ประชาเป็นสุข Close

หน้าแรก >[04] กสิกรรม > คกร. > โครงการพลังกู้ดินฟ้า ประชาเป็นสุข >โครงการ และที่ตั้งสำนักงานโครงการ

หลักการ เหตุผล ประวัติ ความสำคัญ และที่มา ของโครงการ
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
วัตถุประสงค์
กลวิธีและกิจกรรม
   ผังแสดงความสัมพันธ์ของกระบวนการเรียนรู้
   3 แผนงานหลัก 12 กิจกรรม
   แผนภูมิยุทธศาสตร์การดำเนินงาน
แผนปฏิบัติงานโครงการ ปฏิทินกิจกรรม
กลุ่มเป้าหมาย และพื้นที่ดำเนินงาน

ผลลัพท์ (Output)
ผลกระทบ (Impact)
ตัวชี้วัด
การประเมินผล
งบประมาณ
องค์กรภาคีร่วมงาน
กลไกการจัดการ
การขยายผล
ความต่อเนื่องและยั่งยืน

 

4. กลวิธี และกิจกรรม

เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย กลวิธีหรือกระบวนการสำคัญจะเน้นการเรียนรู้แบบบูรณาการ (องค์รวม) ที่ต่อเนื่องเป็นวิถีสังคมสู่ความเป็นวัฒนธรรม ซึ่งมี 9 กระบวนการ คือ

4.1 การสร้างสัมมาทิฐิ (ปริยัติ) หรือความเห็นที่ถูกตรง ตามพุทธปรัชญา (ถูกต้อง ถูกตรง ดีงาม พ้นทุกข์ เป็นไปได้ มีประโยชน์) โดยจัดกิจกรรมการอบรมปรับแนวคิด “ด้านจิตภาพ” ซึ่งเป็นการพัฒนาเชิงลึกสู่รากเหง้าของที่มาแห่งทุกข์ภาวะทั้งหลายทั้งมวลของมนุษย์ และถอนความติดยึด ซึ่งทำให้เกิดทุกข์นั้นด้วยการนำพุทธปรัชญา มาปฏิบัติให้มีผล 3 ประการคือ

(1) มีโลกุตระจิต คือพัฒนาจนจิตหลุดพ้นจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน ตั้งแต่ขั้น
หยาบ คืออบายมุขทั้งหลายทั้งปวง ขั้นกลางคือกามที่จัดจ้าน ขั้นปลายคือ
โลกธรรม 8 และการยึดติด ในอัตภาพทั้งหลายทั้งปวง เกิดจิตวิญญาณใหม่
(โลกุตระตระจิต) เป็นสุขภาวะใหม่ที่มีพลังแห่งการเสียสละ และสร้างสรร เพื่อมวล
มนุษยชาติ อย่างแท้จริงไม่ซ่อนแฝง มากน้อย ตามการพากเพียรของแต่ละปัจเจก
บุคคล

(2) มีโลกวิทู คือจิตเกิดใฝ่การเรียนรู้ หรือใฝ่ศึกษา เป็นคนทันโลก ทันสังคม ทันต่อ
ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทันต่อองค์ความรู้ และศาสตร์ต่างๆที่เป็นประโยชย์ต่อมนุษย์ชาติ
และนำความรู้นั้นเป็นข้อมูล ในการวางแผนงาน หรือกำหนดยุทธศาสตร์ต่างๆ เพื่อจัด
กระบวนการทางสังคมให้เป็นสุขสอดคล้อง ตามภาวะของโลก ในแต่ละยุค
แต่ละสมัย

(3) มีโลกานุกัมปายะ คือจิตเมตตาที่จะช่วยเหลือมนุษยชาติ ดังนั้นงานที่ทำจึงเป็นไป
เพื่อประโยชน์ และความสุขของมวลมหาชน (พหุชนะหิตายะ พหุชนะสุขายะ)
โดยตัวเองเพียงแค่อาศัยกินอาศัยใช้แต่พอยังชีพ อย่างประโยชน์สูง ประหยัดสุด

4.2 การปฏิบัติฝึกทักษะ (ปฏิบัติ)ให้เกิดผล ตามข้อ 4.1 มีทักษะด้านกายธรรม ตั้งแต่การถือศีล
การลดละเลิกอบายมุข การเสียสละ และทักษะด้านอาชีพเช่นการทำกสิกรรมไร้สารพิษ
การทำปุ๋ยชีวภาพ การทำน้ำยาซักผ้า น้ำยาล้างจาน แชมพูสมุนไพร ฯลฯ

4.3 การสัมผัสคบคุ้นกับตัวอย่าง โดยการจัดให้มีการใช้ชีวิต ในชุมชนที่เป็นศูนย์เรียนรู้
สัมผัสกับของจริง ชีวิตจริงที่หยั่งลงเป็นวัฒนธรรม ทั้งตัวบุคคล และชุมชน ซึ่งสามารถทำ
ให้เกิดการซึมซับเปลี่ยนแปลงได้ดังคำที่ว่า “ตัวอย่างที่ดี มีค่ายิ่งกว่าคำสอน”

4.4 เกิดการเปลี่ยนแปลง (ปฏิเวธ) ถือเป็นผลของข้อ 4.1, 4.2,4.3 เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งเชิง
นามธรรม และเชิงพฤติกรรม

4.5 การติดตามประเมินผล จะมีพี่เลี้ยง ตามศูนย์ฝึกอบรมทั่วประเทศประมาณ 200 คน ออกไป
เยี่ยมเยียน สอบถามให้กำลังใจ และให้การช่วยเหลือสนับสนุนร่วมการจัดตั้งกลุ่มแก้ไขปัญหา
ในระดับพื้นที่ดังคำว่า “วิสาสาปรมาญาติ ความคุ้นเคยเป็นญาติ อย่างยิ่ง” พร้อมกับทำการ
ประเมินผลเก็บข้อมูล เพื่อวางแผนร่วมระดับเครือข่าย และองค์กรพันธมิตรต่อไป

4.6 การสร้าง และพัฒนาศักยภาพวิทยากรระดับพื้นที่ เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากข้อ 4.4
โดยคัดผู้นำกลุ่มมาพัฒนาศักยภาพให้สามารถเป็นผู้ถ่ายทอดความองค์รู้ เพื่อหยั่งลึกเป็นรากของ
ชุมชนต่อไป

4.7 การรวบรวม และเผยแพร่องค์ความรู้ จากข้อ 4.4 และ 4.5 เครือข่ายจะได้องค์ความรู้จาก
ผู้ประสบความสำเร็จ และทำการรวบรวมขึ้นทะเบียนผู้รู้ ทำเอกสาร ตำรา หรือสื่อต่างๆ เพื่อ
เผยแพร่สู่สังคมวงกว้างได้มากขึ้น และเร็วขึ้น

4.8 การประชาสัมพันธ์ ถือเป็นความสำคัญ ในโลกยุคของข้อมูลข่าวสาร เพื่อกระจายองค์ความรู้
กิจกรรม และสารประโยชน์เป็นทางเลือกให้คน ในสังคม

4.9 การเชื่อมร้อยทักทอเครือข่ายให้เข้มแข็ง เป็นการสร้างเครือข่ายชุมชนให้เหนียวแน่น และ
เข้มแข็งเป็นทุนทางสังคม เพื่อร่วมกันสร้าง “สุขภาวะสังคม” ต่อไป

 

ผังแสดงความสัมพันธ์ของกระบวนการเรียนรู้

แผนงานหลัก 3 แผนงาน

จากกลวิธีทั้ง 9 ดังกล่าว ได้จัดเป็นเป็นแผนงานได้ 3 แผนงานหลัก คือ

1. แผนงานด้านการศึกษาอบรม เพื่อสร้างสัมมาทิฐิ มี 4 กิจกรรม คือ

กิจกรรม “สร้างผู้นำกสิกร”
กิจกรรม “เยาวชนคนสร้างชาติ”
กิจกรรม “มหกรรมกู้ดินฟ้า”
กิจกรรม “การสร้างสุขภาพ 8 อ.”

2. แผนงานด้านเศรษฐกิจ และสังคม เพื่อสร้างเครือข่ายชุมชนทางเลือกโดยใช้บุคลากร
ที่ผ่านกระบวนการข้อ 4.1, 4.2 ,4.4 เป็นแกนหลัก เพื่อร่วมกันสร้างกลุ่ม และพัฒนาสู่ความ
เป็นชุมชน “บุญนิยม” ซึ่งถือเป็น “นวัตกรรมทางเลือกของสังคม” ที่อยู่รวมกันด้วย
ถือเอา “บุญ” (การให้ การเสียสละ เป็นต้น) เป็นเป้าหมาย เป็นคุณค่าของชีวิตมิใช่ทรัพย์
สมบัติภายนอก ทรัพยากรของชุมชน และองค์ความรู้ต่างๆที่มีอยู่จะถูกพัฒนาขึ้น อย่างเป็น
องค์ รวมทั้งระบบ และมีประสิทธิภาพ เพื่อแจกจ่ายถ่ายทอด กระจายออกไปสู่บุคคลอื่น
ชุมชนอื่น อย่างถูกต้อง ตามหลักเศรษฐศาสตร์ “บุญนิยม” ลดภาวะการแก่งแย่ง หรือภาวะ
บีบคั้นอันเป็นสาเหตุของทุกขภาวะ และสร้างระบบเครือข่ายแลกเปลี่ยนทรัพยากร หรือ
ระดมสรรพกำลัง ในการช่วยเหลือสังคมโดยเน้นหลักการดังนี้

2.1 ลดรายจ่ายด้วยการพึ่งพาตนเองแบบเบ็ดเสร็จ เน้นการผลิต เพื่อบริโภคให้อุดม
สมบูรณ์ และพอเพียง ไม่เน้นเรื่องเงินเช่น การปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ การรณรงค์ลด
ค่าใช้จ่าย ด้านปัจจัยการผลิตด้วยการถ่ายทอดเทคโนโลยี่ชีวภาพ เช่นการปุ๋ยชีวภาพ
การทำฮอร์โมนพืช การทำคำสั่งชีวภาพ ฯลฯ เพิ่มศักยภาพเครือข่ายชุมชน ในการร่วมกัน
แปรรูปผลิตภัณฑ์ใช้เองด้วย การเผยแพร่การทำน้ำยาอเนกประสงค์ การทำซีอิ้วเต้าเจี้ยว

2.2 เพิ่มรายได้ด้วยอาชีพเสริม เน้นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ทำอาชีพเสริม
โดยการถ่ายทอดให้ความรู้เช่น การเพาะเห็ด การผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด การทำเต้าหู้
น้ำเต้าหู้ การทำโซเกิร์ต (โยเกิร์ตทำด้วยนมจากถั่ว) การทำน้ำผลไม้ การทำน้ำสกัด
ชีวภาพ ฯลฯ

2.3 ตลาดไร้สารพิษ เป็นฐานสำคัญของการนำไปสู่สุขภาพที่ดีเพราะ “อาหารเป็นหนึ่ง
ในโลก” กลยุทธนี้จะเชื่อมร้อยหลายภาคส่วนเข้าด้วยกันตั้งแต่เครือข่ายผู้ผลิตไร้สารพิษ
เครือข่ายการตลาดบุญนิยม เครือข่ายผู้บริโภค โดยร่วมมือกับองค์กรภาคีที่เกี่ยวข้อง
เช่นภาคีผู้ผลิตที่ไร้สารพิษ (เครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษแห่งประเทศไทย) ภาคีการตลาด
(8 พาณิชย์บุญนิยม) และองค์กรผู้บริโภค (หน่วยตรวจสอบผลิตภัณฑ์และสินค้าชาวอโศก)
เน้นการผลิตที่ไร้สารพิษ การนำผลผลิตที่มีคุณภาพสู่ผู้บริโภคในราคาประหยัด

แผนงานนี้มี 5 กิจกรรม คือ

กิจกรรม “เสริมพลังกู้ดินฟ้า”
กิจกรรม “ประชุมแกนนำเชื่อมร้อยเครือข่าย”
กิจกรรม “ศึกษาดูงาน”
กิจกรรม “สัมมนากสิกร ในหมู่บ้าน”
กิจกรรม “ติด ตามประเมินผล และสรุปบทเรียน”

3. แผนงานด้านข้อมูลข่าวสาร (Information and Communication)
จัดภารกิจให้มีการกระจายข้อมูลข่าวสาร และองค์ความรู้ให้มากที่สุด และกระจาย อย่าง
ทั่วถึง ครอบคลุมทุกพื้นที่ผ่านสื่อวิทยุ ในเครือข่าย 10 สถานี สื่อหนังสือข่าว หนังสือพลังกู้ดินฟ้า
วีซีดี อินเตอร์เน็ต โดยใช้ศูนย์อบรม 19 แห่งของเครือข่าย และกลุ่มชุมชนอีก 568 ชุมชน
ทั่วทุกภาค เป็นผู้กระจายข่าว มี 2 กิจกรรม คือ

กิจกรรม “ผลิตสื่อสาระ”
กิจกรรม “เผยแพร่ความรู้ และประชาสัมพันธ์ทางด้านวิทยุ สิ่งพิมพ์ และอินเตอร์เน็ต”

รายละเอียดของกิจกรรม ทั้ง 3 แผนงาน

กิจกรรมที่ 1 เสริมสร้างพลังกู้ดินฟ้า

การดำเนินงาน

กิจกรรมนี้ผู้ที่เป็นพี่เลี้ยงการอบรม ในหลักสูตร “สัจธรรมชีวิต” ทั้ง 21 ศูนย์ทั่วทุกภาค โดยประสานงานกับเจ้าหน้าที่ ธกส. จะออกไปเยี่ยมเยียนกลุ่มเกษตรกรที่เข้ารับการ อบรม ในหลักสูตรดังกล่าวจาก 568 แห่งทั่วประเทศ จำนวน 389 ครั้ง ในลักษณะจัดงานบุญ ในหมู่บ้าน 1 วัน เสริมกับการออกติด ตามรูปแบบอื่นๆ เพื่อประเมินผลความเปลี่ยนแปลง หลังการอบรม ตาม ประมาณว่าจะมีเกษตรกรที่ผ่านการอบรม และผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 19,450 คน กำหนดการมีดังนี้

06.00 น. คณะผู้ประเมินถึงพื้นที่เป้าหมาย
06.00 - 07.30 น. ร่วมกันทำบุญใส่บาตร เยี่ยมชม และแลกเปลี่ยน ในหมู่บ้าน
08.30 – 09.00 น. พร้อมกันยังสถานที่ประชุม
09.00 – 10.30 น. ฟังธรรมร่วมกัน
10.30 – 12.00 น. ถวายภัตตาหาร ร่วมรับประทานอาหาร
12.00 – 14.00 น. ประชุมสัมมนา สอบถาม ประเมินผล ตอบ- ถาม ปัญหา
14.00 – 16.00 น. กิจกรรมสาธิตวิธีการพี่งพาตนเอง (แบ่งกลุ่มสนใจ)
16.00 – 17.00 น. เลิกโดดเดี่ยวตัวเองเสียที (ร่วมกันจัดตั้งกลุ่ม)
17.00 - 18.00 น. ท่านได้อะไรให้ (สรุปปิดงาน และเปิดใจ)

หมายเหตุ หากมีประเด็นที่เป็นประโยชน์ คณะพี่เลี้ยงอาจปักกลดค้างคืนที่ ในหมู่บ้าน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันต่อ ในภาคค่ำ

กิจกรรมที่ 2 สร้างผู้นำกสิกร

การดำเนินงาน

คัดเลือกแกนนำกสิกรกลุ่มจากกิจกรรม “เสริมสร้างพลังกู้ดินฟ้า” เพื่อกลับเข้ามาอบรม ในหลักสูตร “สร้างผู้นำกสิกร” เป็นเวลา 4 คืน 5 วัน ที่ศูนย์อบรมของเครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษแห่งประเทศไทยทั่วประเทศ 21 ศูนย์ เป็นหลักสูตรเข้ม ในระดับวิทยากรกระบวนการ ครั้งละไม่เกิน100 คน 68 ครั้ง ประมาณ 6,800 คน หลักสูตรมีดังนี้

ลำดับ

หลักสูตร

เนื้อหา

เวลา (ชม.)

1

ธรรมะของผู้นำ

บรรยายธรรมะโดยสมณะชาวอโศก
ผู้นำคือผู้รับใช้ คือผู้มีธรรมเป็นอำนาจ ผู้หยั่งศรัทธาประชาชนด้วยความดีที่ถูกตรง

6.0

2

บริหารกาย บริหารจิต

กายบริหารภาคเช้า โยคะ รำกระบอง ไท้เก็ก

เดินลมปราณ อัดพลังภาย ใน

3.0

3

เพื่อสุขภาพที่ดีกว่า

บรรยาย และสาธิตการดูแลสุขภาพ และช่วยเหลือผู้อื่น

1.5

4

เศรษฐกิจพึ่งตนภาค 1

บรรยาย เศรษฐกิจโลกเศรษฐกิจทุนข้ามชาติ

เศรษฐกิจไทยต้องพึ่งตน เศรษฐกิจชุมชนคือบุญร่วมสร้างสรร

1.5

5

เศรษฐกิจพึ่งตนภาค 2

ฝึกปฏิบัติระดับมืออาชีพ ในงานอาชีพต่างๆเช่นการทำปุ๋ยชีวภาพระดับครอบครัว ระดับวิสาหกิจชุมชน การทำน้ำยาอเนกประสงค์ ฯลฯ

12.0

6

ชุมชนเข้มแข็ง

บรรยาย ปัจจัยที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง มีผู้นำที่มีคุณธรรม ผู้นำที่เสียสละ ผู้นำที่ทำจริง มีความโปร่งใส มีประชาธิปไตย มีวินัย
มีแผนงานร่วม

1.5

7

ประชามีธรรมภาค 1

บรรยาย ค่าของวัตถุ ค่าของสัตว์ ค่าของคนอยู่ที่ไหน กรรมของมนุษย์ กรรมชั่วทำง่ายสังคมเดือดร้อน กรรมดีทำยาก สังคมเป็นสุข เรียนรู้การเอาชนะความชั่ว และพากเพียรสร้างความดี

1.5

8

ประชามีธรรมภาค 2

แบ่งกลุ่มเล่าประสบการณ์ การเอาชนะใจตนเอง และให้คน ในกลุ่มช่วยวิจารณ์ว่าคุณธรรมข้อใดที่ให้เขาเอาชนะได้ แล้วคัดเลือกคน 1 คน เพื่อเล่าสู่กลุ่มใหญ่ มีการบันทึกเท็ป เพื่อคัดเลือกออกรายการวิทยุชุมชนด้วย

3.0

9

ประเทศมีไท ภาค 1

บรรยาย เอกราชของไทย เครื่องหมายของความเป็นไทย เมืองขึ้นทางอำนาจเห็นง่าย เมืองขึ้นทางเศรษฐกิจเห็นยาก พลังชุมชนสร้างไทยเป็นไท

1.5

10

ประเทศมีไท ภาค 2

แบ่งกลุ่ม ทำบัญชีชีวิต (รายรับรายจ่าย) สรุปหาสาเหตุภาวะหนี้สิน และแนวทางหลุดพ้น

3.0

11

ยุทธศาสตร์พิชิต
ความจน

แบ่งกลุ่มทำแผนแม่บทชุมชน เพื่อนำไปสู่สุขภาวะของสังคม

2.0

รวม

36.5

 

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมประชุมแกนนำเชื่อมโยงเครือข่าย

การดำเนินการ

จัดให้มีการประชุมสัญจรพบปะแกนผู้นำกสิกรชุมชน ในแต่ละพื้นที่ โดยให้เจ้าหน้าที่แต่ละศูนย์อบรมทั้ง 21 ศูนย์ ประสานงานกับเครือข่ายแกนนำชุมชน ตามกิจกรรมที่ 1 และที่ 2 เพื่อกระชับความสัมพันธ์ และรับทราบข้อมูลที่ทันเหตุการณ์ เพื่อเป็นประโยชน์ ในการวางแผนงานแก้ปัญหาร่วมกัน ในระดับเครือข่าย เช่น แผนการผลิต แผนการตลาด แผนการออมทรัพย์ และอื่นๆ โดยลักษณะงานจะเป็นคล้ายกิจกรรมที่ 1 ต่างกันที่ภาคบ่ายจะเป็นการประชุม ตามวาระ การประชุมจะจัดขึ้นประมาณ 2 เดือน/ครั้ง 21 ศูนย์ 67 ครั้ง แกนนำที่เข้าร่วมประชุมรวมไม่น้อยกว่า 2,500 คน

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมสัมนากสิกร ในหมู่บ้าน

การดำเนินการ

ประสานงานให้แกนนำกสิกรแต่ละกลุ่ม จัดสัมมนากสิกรรมไร้สารพิษ ระยะเวลา 1 วัน เพื่อเป็นการให้ความรู้ และหาสมาชิกเพิ่ม ในกลุ่ม โดยแกนนำจะเป็นผู้ประสานงานประชากร ในชุมชน เพื่อเข้าร่วมการสัมมนา เนื้อหาการสัมมนาพี่เลี้ยง ในแต่ละศูนย์อบรมหลักของเครือข่ายจะลงไปช่วยเปิดเวที มีการอภิปรายโดยกสิกรผู้ประสบผลสำเร็จ ในการลด ละ เลิก อบายมุข ซึ่งอาจจะเชิญมาจากกลุ่มอื่น ส่วนภาคบ่ายจะมีการสาธิตการทำจุลินทรีย์ เพื่อการเกษตร การทำปุ๋ยชีวภาพ การทำน้ำยาอเนกประสงค์ โดยวิทยากรกระบวนการของแต่ละกลุ่ม สรุปปิดงานด้วยการชี้ให้เห็นถึงความสำคัญ ในการร่วมแก้ไขปัญหาร่วมกัน อย่างเป็นระบบ เพื่อก้าวเข้าสู่การทำแผนชุมชนต่อไป

การสัมมนาจะมีทั้งหมด 215 ครั้ง กระจายไป ในชุมชน ค่าใช้จ่าย ทั้งหมดศูนย์อบรมที่เป็นแม่ข่ายทั่วทุกภาค จะนำไปให้แกนนำกสิกรของกลุ่ม จัดการบริหารกันเอง ประมาณว่าจะมีเกษตรกรเข้าร่วมสัมมนารวม 10,750 คน


กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมอบรมเยาวชนคนสร้างชาติ

การดำเนินการ

จะจัดอบรม ในแต่ละศูนย์ โดยผู้เข้าอบรมจะเป็นเยาวชน ซึ่งเป็นนักเรียนหรือลูกหลานของเกษตรกรที่เคยผ่านการอบรมหรือกิจกรรม ในแผนงาน 1,2,3,4 จากโรงเรียน ใน 568 หมู่บ้าน หลักสูตรจะเป็นเนื้อหาธรรมะเบื้องต้น ฝึกการทำงานเป็นทีม ฝึกการเสียสละ ฝึกการมีวินัย ฝึกมารยาทไทย เน้นโทษภัยอบายมุขให้รู้บุญ เลิกบาป บทบาทร่วมกับกสิกร ในการพัฒนาหมู่บ้านของตนเอง โดยใช้เวลาอบรม 4 คืน 5 วัน อบรม 86 ครั้งๆ ละประมาณ 100 คน รวม 8,600 คน

กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมสร้างสุขภาพ 8 อ.

การดำเนินการ

จัดค่ายสุขภาพ 8 อ. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ของการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพ โดยจะจัดหลักสูตรค่ายสุขภาพ 8 อ. สำหรับอบรม และฝึกแกนนำสุขภาพ อาสาสมัครพี่เลี้ยงของศูนย์อบรมเครือข่าย 22 เครือข่าย จำนวน 5 วัน 4 คืน จำนวน ประมาณ 220 คน หลักสูตรจะมีการบรรยายสาเหตุที่ทำให้สุขภาพเสื่อม ฟื้นฟูสุขภาพด้วย 8 อ. ปฏิบัติการรักษาสุขภาพด้วยแพทย์ทางเลือก ส่วนอีก 40 ครั้งๆ ละ 50 คนจะจัด ในแต่ละศูนย์ โดยผู้เข้าค่ายจะเป็นแกนนำสุขภาพที่คัดเลือกจากกลุ่มกิจกรรม 1,2,3,4ให้แกนนำ ในแต่ละกลุ่มนำไปขยายผล ในระดับพื้นที่ต่อไป

กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมมหกรรมกู้ดินฟ้า

การดำเนินการ

การดำเนินกิจกรรมจะเป็นแบบนานาสาระ โดยจะประสานงานแกนนำแต่ละเครือข่ายนำผลผลิตไร้สารพิษมาจำหน่าย ในราคาถูก เป็นการพบกันระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค นอกจากนี้ยังมีการจัดนิทัศนการ การสาธิต การบรรยายให้ความรู้ และสาระบันเทิงด้วย มีการประชาสัมพันธ์งานทั้งทางวิทยุ แผ่นป้าย รถโฆษณาเคลื่อนที่ และแผ่นพับ
การจัดงานแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ระดับจังหวัด 15 ครั้ง ในจังหวัดที่ศูนย์อบรมเครือข่ายตั้งอยู่ ระดับภาค 4 ครั้งโดยศูนย์ภาคจะตกลงกันเองว่าจะจัดที่ไหน ส่วนระดับประเทศจะจัดที่ชุมชนราชธานีอโศก จังหวัดอุบลราชธานี
เป้าหมายของงาน เพื่อกระตุ้นให้เกษตรกรตระหนักถึงโทษภัยของสารพิษ และเห็นความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องเสี่ยงกับอาหารปนเปื้อนพิษ อย่างไม่มีทางเลือก เกิดการสนับสนุน ซึ่งกัน และกัน อย่างเป็นธรรม

กิจกรรมที่ 8 กิจกรรมศึกษาดูงาน

การดำเนินการ

คัดเลือกจากตัวแทน แกนนำกสิกร 2,500 คน จำนวน 1,000 คน ไปศึกษาดูงานให้เกิดโลกทัศน์ ชีวทัศน์ โบราณนวทัศน์ และวิสัยทัศน์ สถานที่ดูงานจะเป็นศูนย์เรียนรู้ของปราชญ์ชาวบ้าน และชุมชนที่ประสบผลสำเร็จอื่นๆใช้เวลา 4 วัน/ครั้ง

กิจกรรมที่ 9 กิจกรรมผลิตสื่อสาระ

การดำเนินการ

ทำต้นฉบับจัดพิมพ์หนังสือ โปสเตอร์ และถ่ายทำต้นฉบับ วีซีดี เพื่อหนุนเสริมปัญญา ในกิจกรรม 1-8 ทำก็อปปี้กระจายผ่านศูนย์อบรมทั่วประเทศสู่เฉพาะกลุ่มผู้สนใจที่เข้าอบรม และศึกษาดูงาน ตามโครงการก่อนแล้วกระจายสู่กลุ่มอื่น

กิจกรรมที่ 10 กิจกรรมการเผยแพร่ความรู้ และประชาสัมพันธ์ทางด้านวิทยุ สิ่งพิมพ์ และอินเตอร์เน็ต

การดำเนินการ

จะเลือกสรรข้อมูลข่าวสาร และองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมบนหลักเกณท์ที่ให้เกิดสามัคคีธรรม ไม่มอมเมา ไม่ฟุ้งเฟ้อ ไม่หลอกลวง ยกย่องบุคคลที่ควรยกย่อง เพื่อสร้างทางเลือกใหม่ให้ผู้บริโภคสื่อ โดยกระจายผ่านเครือข่ายวิทยุชุมชน 10 สถานี และอินเตอร์เน็ต

กิจกรรมที่ 11 กิจกรรมติด ตามประเมินผล และสรุปบทเรียน

การดำเนินการ

จัดอาสาสมัครออกติด ตามเยี่ยมเยียนประเมินผลทั่วประเทศทุกๆ 4 เดือน รวม 800 ครั้ง และ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม พร้อมให้คำแนะนำปรึกษาแก้ไขปัญหา เพิ่มเติมความรู้ และทักษะ

จัดเวทีสรุปบทเรียน ซึ่งจะครอบคลุมประเด็น ผลที่ได้รับ ความก้าวหน้า ปัญหา และอุปสรรค เหตุของปัญหา การดำเนินงานต่อไป ในอนาคต และกำหนดแผนการดำเนินงานร่วม ในลักษณะพหุภาคี โดยจะจัด ในระดับภาค 4 ครั้ง และระดับประเทศ 1 ครั้ง

กิจกรรมที่ 12 กิจกรรมบริหารโครงการ

การดำเนินการ

จัดหาที่ทำการสำนักงานใหญ่ ซึ่งจะใช้ตึกฟ้าอภัย เลขที่ 65/45 ซอยเทียมพร ถนนนวมินทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร 10240 โทร. 0-2377-6063 Fax. 0-2375-7800

จัดจ้างผู้จัดการโครงการ และผู้ช่วย 2 คน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายสำนักงาน 2 คน ทำหน้าที่ด้านประสานงานอำนวยความสะดวก และจัดการด้านเอกสารการเงินการบัญชี

แผนภูมิยุทธศาสตร์การดำเนินงาน


.