1/5

 

พุทธสถานสันติอโศก

ตั้งอยู่ ที่ เลข ที่ ๖๕/๑ ซ.เทียมพร ถนนนวมินทร์ แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐ โทร. ๐๒-๓๗๔–๕๒๓๐ บนเนื้อที่ประมาณ ๗ ไร่ ถือเป็นศูนย์กลาง ของชาวอโศก ในการเผยแพร่ธรรม เป็นแหล่งผลิตสิ่งพิมพ์ และ สื่อสารสัจจะ โดยมี ‘มูลนิธิธรรมสันติ’ เป็นผู้อนุเคราะห์


กำเนิด "สันติอโศก" เริ่มต้นจาก นายรัก รักพงษ์ ซึ่งปัจจุบันคือ สมณะโพธิรักษ์ ได้ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด มาตั้งแต่ สมัยเป็นฆราวาส ทั้งๆ ที่ยังเป็นนักจัดรายการ และ โฆษกทีวี อยู่ที่ช่อง ๔ บางขุนพรหม จากการถือศีล ปฏิบัติธรรม อย่างเอาจริงเอาจัง เช่น เลิกอบายมุขทุกชนิด เลิกกินเนื้อสัตว์ บริโภคอาหารมังสวิรัติ วันละ ๑ มื้อ เลิกจากคู่หมั้นคู่หมาย ที่คิดจะแต่งงานด้วย และ สุดท้าย ก็ยื่นใบลาออกจากงาน แจกทรัพย์สินทั้งหมด ให้น้องๆ ไป ทั้งที่ชีวิตในขณะนั้น กำลังเจริญก้าวหน้าด้วย ลาภ ยศ สรรเสริญ และ โลกียสุขต่างๆ (มีรายได้เดือนละ ประมาณ ๒๐,๐๐๐ บาท ขณะ ที่นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น มีเงินเดือนประมาณ ๑๒,๐๐๐ บาท และ ในช่วงนั้น ธุรกิจทำภาพยนตร์เรื่อง “โทน” ทั้งเพลงประกอบภาพยนตร์ ที่แต่ง เช่น เพลงฟ้าต่ำแผ่นดินสูง เพลงชื่นรัก เพลงกระต่ายเพ้อ เป็นต้น กำลังโด่งดัง ได้รับความนิยมอย่างสูง) หลังจากได้ปฏิบัติธรรม อย่างเอาจริงเอาจัง ตลอดมา เป็นระยะเวลา ๒ ปี จนสละละทิ้งอบายมุข โลกธรรม กามคุณ ได้หมดสิ้น จนเกิดความเชื่อมั่นว่า ตนได้บรรลุความจริง และ เห็นความจริงในตนแล้ว (ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ) และ มีความแน่ใจว่า การปฏิบัติธรรม ที่เอาจริง เป็นสัมมา ย่อมบรรลุความจริง (อริยสัจธรรม) ต่อมา เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๓ จึงได้เข้าอุปสมบท ที่วัดอโศการาม ในคณะธรรมยุติกนิกาย ได้รับฉายาว่า “พระโพธิรักขิโต” โดยมี พระราชวรคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อท่านโพธิรักษ์ ได้เข้ามาบวชในธรรมยุตแล้ว ด้วยปฏิปทา ที่เคร่งครัด และ จริยวัตร ที่สงบสำรวม จึงก่อให้เกิดความศรัทธาเลื่อมใส มีผู้มาขอศึกษาฝึกฝน ปฏิบัติตามด้วย ทั้งฆราวาส และ นักบวช ซึ่งมีทั้งพระธรรมยุต และ มหานิกาย ต่อมาเมื่อวัน ที่ ๒ เมษายน ๒๕๑๖ ท่านโพธิรักษ์ ได้รับการสวด ญัตติจตุตถกรรม อีกครั้ง เข้าเป็นพระของคณะมหานิกาย เพิ่มเข้าไปอีกคณะหนึ่ง โดยมิได้ทำการสึก แต่อย่างใด ที่วัดหนองกระทุ่ม อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม โดยมีพระครูสถิตวุฒิคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์ เหตุที่ต้องทำเช่นนี้ เพราะพระอุปัชฌาย์ฝ่ายธรรมยุต ท่านไม่ต้องการให้พระทางฝ่ายมหานิกาย มาอยู่ร่วมศึกษาอบรมด้วย แต่ท่านโพธิรักษ์ เจตนามุ่งสารสัจธรรมเป็นใหญ่ ไม่ติดใจในเรื่องนิกาย จึงมีพระทั้งมหานิกาย และ ธรรมยุต มาร่วมศึกษาฝึกฝน อยู่กับท่าน โดยยึดพระธรรมวินัย เป็นหลักสำคัญ
}
 

ท่านโพธิรักษ์เจตนามุ่งสารสัจธรรมเป็นใหญ่
ไม่ติดใจในเรื่องนิกาย
จึงมีพระทั้งมหานิกาย และ ธรรมยุต มาร่วมศึกษาฝึกฝนอยู่กับท่าน
โดยยึดพระธรรมวินัย เป็นหลักสำคัญ


~
ดังนั้น เพื่อความสบายใจของอุปัชฌาย์ ที่ท่านถือในนิกาย ท่านโพธิรักษ์ จึงได้คืนใบสุทธิ ให้ธรรมยุตไป แล้วถือใบสุทธิมหานิกาย เพียงใบเดียว เมื่อ ๒๕ เมษายน ๒๕๑๖ แต่ท่านโพธิรักษ์ก็ถือว่า ท่านเป็นพระทั้งสองนิกาย ท่านจึงมีพระทั้งจากมหานิกาย และ ธรรมยุต มาศึกษาฝึกฝนอยู่ด้วย เพราะท่านโพธิรักษ์ ไม่ได้รังเกียจนิกายใดๆ แต่มุ่งหมายทำงาน ให้พระศาสนาโดยส่วนรวม เพียงแต่ไม่ให้ผิด พระวินัยเป็นสำคัญ ต่อมาเมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๑๘ ท่านโพธิรักษ์ และ หมู่สงฆ์ชาวอโศก ๒๑ รูป ได้ประกาศลาออก จากมหาเถรสมาคม ในคราวที่มีการประชุม พระสังฆาธิการ และ พระใหม่ ๑๘๐ รูป ที่วัดหนองกระทุ่ม การประกาศลาออก จากมหาเถรสมาคม ในครั้งนั้น ในทางธรรมวินัย ถือว่าเป็นการทำ “นานาสังวาส” ซึ่งเป็นนิติประเพณี ในทางพุทธศาสนา ที่ให้อิสระเสรีภาพ กับชาวพุทธ
}
 การประกาศลาออกจากมหาเถรสมาคมในครั้งนั้น
ในทางธรรมวินัยถือว่า
เป็นการทำ “นานาสังวาส”
ซึ่งเป็นนิติประเพณีในทางพุทธศาสนา
ที่ให้อิสระเสรีภาพกับชาวพุทธ
~
เมื่อเกิดความแตกต่างทางความคิดเห็น และ การมีพุทธพจน์ตรัสไว้ว่า “ทิศทาง ของผู้แสวงหาลาภ และ นิพพาน ย่อมสวนทางกัน” เนื่องจากคณะสงฆ์ชาวอโศก มีความแตกต่างกัน ทั้งด้านวัตรปฏิบัติ (พิธีกรรม - พฤติกรรม - และ กิจกรรม) อีกทั้งหัวข้อคำสอน (อุเทศ) ที่อธิบายชี้แจงแสดงบอก ก็แตกต่างกัน และ แนวทางการศึกษา อบรมฝึกฝนตน อันนำไปสู่ความพ้นทุกข์ (อธิศีล-อธิจิต-อธิปัญญา ที่เป็นไตรสิกขา) ก็แทบจะตรงกันข้าม ด้วยความแตกต่างทั้งหมดนี้ คือสภาพความเป็น “นานาสังวาส” โดยธรรม จึงทำให้สมณะชาวอโศก มีความจำเป็น ต้องประกาศแยกตัวออกมา ให้ถูกธรรมวินัย ตามหลักของ “นานาสังวาสภูมิ”
}
 มีพุทธพจน์ตรัสไว้ว่า
ทิศทาง ของผู้แสวงหาลาภ และ นิพพานย่อมสวนทางกัน
~
ชาวอโศกมักจะได้รับการกล่าวตู่โจษท้วงว่า การประกาศลาออก จากการปกครอง ของมหาเถรสมาคม เช่นนี้ ถือว่าเป็นการล่วงละเมิด กฎหมายบ้านเมือง โดยถูกกล่าวหาว่า พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ๒๕๐๕ ใช้บังคับแก่ พระสงฆ์ทุกรูป คณะสมณะชาวอโศก ไม่มีสิทธิลาออก หรือประกาศตน ไม่อยู่ใต้บังคับ ของพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ ๒๕๐๕ โดยอ้างกฎหมายรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย ว่า คนไทยต้องมีหน้าที่ ปฏิบัติตามกฎหมาย เมื่อกฎหมายไม่ได้ให้การยกเว้นไว้ จึงไม่มีผล ให้คณะสงฆ์ชาวอโศก ลาออกจากมหาเถรสมาคมไปได้ การตีความดังกล่าวนี้ นับว่าเป็นการตีความ โดยปราศจากหลักการ และ วิธีการในการตีความตามกฎหมาย กล่าวคือ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ไทย พ.ศ.๒๕๐๕ เป็นกฎหมาย ที่มีบทกำหนดโทษ จึงเป็นกฎหมาย ที่มีโทษอาญา ดังนั้น การตีความ ต้องตีความ โดยเคร่งครัด ตามความในมาตรา ๒ ตามประมวลกฎหมายอาญา และ ต้องไม่ขัดกับ รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมาย ใช้อยู่ในขณะนั้น พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ๒๕๐๕ เป็นกฎหมายสาระบัญญัติ การตีความกฎหมายนั้น ต้องอยู่ภายใต้หลักการ ที่ว่า ถ้าไม่มีกฎหมายห้าม ก็ไม่มีความผิด และ ไม่มีโทษ ซึ่งสอดคล้องกับ มาตรา ๒ แห่งประมวลกฎหมายอาญา ที่บัญญัติว่า “บุคคลจะต้องรับโทษ ในทางอาญา ต่อเมื่อได้กระทำการ อันกฎหมาย ที่ใช้ในขณะกระทำเท่านั้น บัญญัติเป็นความผิด และ กำหนดโทษไว้ และ โทษ ที่จะลงต่อผู้กระทำผิดนั้น ต้องเป็นโทษ ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย” เมื่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ๒๕๐๕ ไม่ได้ห้าม ไม่ให้มีการประกาศลาออกไว้ จึงถือว่า ไม่มีกฎหมายกำหนดห้ามไว้ ดังนั้น การประกาศ ลาออกจากการปกครอง ของมหาเถรสมาคมนั้น คณะสมณะชาวอโศก จึงสามารถกระทำได้ ไม่เป็นการขัดแย้ง กับพระธรรมวินัย ตามหลัก “นานาสังวาส” ด้วย และ เป็นการสอดคล้องกับ รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๒๕ ที่ระบุไว้ว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ ในการถือศาสนา นิกายศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา และ ย่อมมีเสรีภาพ ในการปฏิบัติพิธีกรรม ตามความเชื่อถือ ของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ ต่อหน้าที่พลเมือง และ ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดี ของประชาชน” ในเรื่องใช้เสรีภาพดังกล่าว ในวรรคหนึ่ง “บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง มิให้รัฐ กระทำการใดๆ อันเป็นการรอนสิทธิ หรือประโยชน์ อันควรมีควรได้ เพราะเหตุ ที่ถือศาสนา นิกาย ของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา หรือปฏิบัติพิธีกรรม ตามความเชื่อถือ แตกต่างจากบุคคลอื่น...” เพราะฉะนั้น คณะสมณะชาวอโศก ย่อมมีสิทธิ ที่จะได้รับความคุ้มครอง ตามมาตรา ๒๕ ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย อีกทั้งไม่มีกฎหมายใด บัญญัติห้ามการกระทำดังกล่าว ว่าเป็นความผิด และ ได้กำหนดโทษไว้ การลาออกจากการปกครอง ของมหาเถรสมาคม ย่อมกระทำได้ และ ยิ่งเป็นการสอดคล้อง กับพระธรรมวินัย ในหลัก ของนานาสังวาส ที่ให้อิสระเสรีภาพ และ สิทธิมนุษยชน อันสมบูรณ์ เมื่อเกิดมีความแตกต่างกันขึ้นมา จนถึงขีด “นานาสังวาส” ก็สามารถให้อยู่กันไปได้ อย่างสันติภาพ
}
  การกำเนิด ของสันติอโศก เป็นการเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย โดยธรรมชาติ
ไม่ได้เกิดขึ้นมา เพื่อจะตั้งนิกายใหม่
~
กล่าวโดยสรุป การกำเนิด ของสันติอโศก เป็นการเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย โดยธรรมชาติ ไม่ได้เกิดขึ้นมา เพื่อจะตั้งนิกายใหม่ เริ่มตั้งแต่นายรัก รักพงษ์ ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด จนได้พบ “อริยสัจธรรม” จากนั้น จึงได้เข้าไปอุปสมบท ในคณะธรรมยุติกนิกาย แต่ก็มีปัญหา เรื่องการยึดติดในนิกาย จึงได้เพิ่มสภาพ บวชกับฝ่ายมหานิกาย เข้าไปอีกคณะหนึ่ง ดังกล่าวมาแล้ว กระนั้นก็ดี เนื่องจากมีข้อแตกต่างกัน ในหลายๆด้าน จึงทำให้เกิดข้อขัดแย้งกัน อยู่ตลอดเวลา คณะสมณะชาวอโศก จึงจำเป็นต้อง แยกตัวออกเป็น “นานาสังวาส” ที่มีพระบรมพุทธานุญาตให้ไว้ ตามธรรมวินัย และ สอดคล้องกับ รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย ที่ให้สิทธินิยม ในการนับถือศาสนา หรือนิกายศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา แม้จะปฏิบัติพิธีกรรม ตามความเชื่อถือ แตกต่างกัน
}
 การกำเนิด ของ คณะ ส ม ณ ะ ช า ว อ โ ศ ก
เกิดจากการรวมตัวกัน ทั้งพระธรรมยุต และ มหานิกาย มาปฏิบัติด้วยกัน
ดังนั้น เรา จึงไม่ได้รังเกียจนิกายใดๆ
ถ้าปฏิบัติวินัย ๒๒๗ และ สมาทานจุลศีล มัชฌิมศีล และ มหาศีล
อันเป็นเสมือนธรรมนูญ ของพระศาสนา. . .
~
โดยจริงแล้ว การกำเนิด ของคณะ ส ม ณ ะ ช า ว อ โ ศ ก เกิดจากการรวมตัวกัน ทั้งพระธรรมยุต และ มหานิกาย มาปฏิบัติด้วยกัน ดังนั้น เราจึงไม่ได้รังเกียจนิกายใดๆ ถ้าปฏิบัติวินัย ๒๒๗ และ สมาทานจุลศีล มัชฌิมศีล และ มหาศีล อันเป็นเสมือนธรรมนูญ ของพระศาสนาแล้ว คณะสมณะชาวอโศก ก็พร้อม ที่จะให้ความเคารพนับถือ และ ยินดี ที่จะอยู่ร่วมกัน ศึกษาปฏิบัติธรรมด้วยกัน ปฏิบัติต่อกัน ตามธรรมวินัย