เศรษฐศาสตร์บุญนิยม:
  ระบบบุญนิยมก้าวแรก | เศรษฐกิจพอเพียง | ทุนนิยม กับ บุญนิยม | หลักการพัฒนาตน | สาธารณโภคี
หลักการพัฒนาตน
page: 5/5
close

 

 

สาธารณโภคี

สาธารณโภคีที่จะเกิดเป็นบุญนิยม พ่อท่านนำเอาหลัก 'สาราณียธรรม' มาอธิบายเป็นปีแล้ว และ นำเอาคำว่า "สาธารณโภคี" มาเน้นอธิบายประกอบ
บ่อยครั้งมาก และประกาศยืนยันว่า ไม่เคยมีผู้ใดนำเอา สาธารณโภคีมาใช้
ได้สำเร็จในหมู่ฆราวาส

เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๒ พ.ย. ๒๕๔๑ ช่วงการแสดงธรรมก่อนฉัน
พ่อท่านตั้งหัวข้อพูด เรื่อง สาธารณโภค โดยตรงเลย โดยมีเนื้อหาที่น่าสนใจ สรุปได้ดังนี้

"ในธรรมของพระพุทธเจ้า เมื่อเราได้สภาวะธรรมบางสภาวะธรรมแล้ว ก็ต้องมีการยืดหยุ่นอนุโลมลงมาเพื่อขยายฐาน ขยายมวล เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น แต่สภาพปฏินิสสัคคะนี่ต้องระวัง บางคน ขี้โกงแอบเสพตีกิน ตัวเองยังไม่อยู่เหนือ แต่ก็แฝงเสพสังคมเลวร้าย เพราะคนประเภทนี้ก็เยอะ…..

…….สภาพของความแข็งแรงในธรรมนั้น จะมีสภาพถอยมาหน่อย แล้วก้าวหน้าไปเรื่อยๆ มีความเคลื่อนไหวตลอด ไม่หยุดนิ่ง เป็น dynamic ไม่ใช่ static อย่างเดียว แต่มีการเคี่ยวแก่น และแข็งแรงตั้งมั่น ผู้เป็นโสดาบันขึ้นไปก็จะมีสภาพเช่นนี้ มันมีสภาพดูเหมือนถอยหลังลงมาหน่อยหนึ่ง แต่ที่จริงไม่ใช่ความเสื่อมต่ำ เป็นการเคลื่อนไหว เป็นสภาพเคี่ยวแกนให้แน่นยิ่งขึ้น ที่ถอยลงมาบ้าง เพื่อส่งแรงก้าวหน้าเคลื่อนที่ไปยิ่งกว่า…….."

ช่วงท้ายของการแสดงธรรม พ่อท่านได้สรุปสภาพของสาธารณโภคี ที่จะเกิดเป็นบุญนิยมนั้น จะต้องเป็นคนที่มีคุณลักษณะ หรือมีพฤติกรรม ๕ ข้อ ดังนี้

    1. พึ่งตนเองได้
    2. สร้างสรรค์
    3. ขยัน อดทน
    4. ไม่เอาเปรียบใคร
    5. ตั้งใจเสียสละ

 

 

คุณลักษณะนี้ย่อมแตกต่างจากกลุ่มสังคมที่มีการเฉลี่ยแบ่งปัน (สาธารณโภคี)
เช่นกัน แต่เกิดขึ้นจากการถูกบังคับ หรือสมาชิกขึ้เกียจ เอาเปรียบ งอมืองอเท้า
เสพสุขไปวันๆ เพราะขอเอาจากส่วนกลาง (รัฐ) ได้ หรือคนดูแลส่วนกลาง
แจกจ่ายอย่างฉ้อฉล โดยเฉพาะคอรัปชั่น คอมมิชชั่น ที่สำคัญคือ
คนในสังคมนั้นไม่มีคุณธรรม เป็นคนที่ยังไม่ได้รับ "การสร้าง"
ให้มักน้อย สันโดษ สงบ เพราะกิเลส อุปาทาน อวิชชา ลดละ
จางคลายไปจริง จึงเห็นแก่ตัว ขี้เกียจ ไม่ยอมเสียเปรียบ
ไม่ต้องพูดถึง "เสียสละ" จริงอย่างมี "ใจพระ" แท้

(จากหนังสือ สารอโศก ฉบับที่ ๒๑๒ ปีใหม่อโศก’๔๒ หน้า ๗๐)

หลักการพัฒนาตน
page: 5/5
close