โศลกธรรม  

โ ศ ล ก ธ ร ร ม เ ซ็ น ใ ต้ ภ า พ

จู่ๆ หนังสือ "โศลก" ก็ถือโอกาสกำเนิดขึ้นมา ซึ่งญาติธรรมหลายต่อหลายท่าน คงจะสงสัยเหมือนกัน ในประวัติ ความเป็นมาของ "โศลก"

สืบเนื่องมาแต่ มีญาติธรรมที่ศรัทธาพ่อท่านฯ อยากจะได้รูปของท่านเอาไว้เตือนสติ ให้พากเพียรต่อสู้ ทำแต่ความดี

ทางฝ่ายธรรมภาพ ก็ช่วยเป็นธุระจัดการอัดรูป ขยายให้ และไหนๆ ก็อัดมาแล้ว ก็เลยถือโอกาสให้พ่อท่านฯ เขียนคาถา หรือคำสั่งสอนเตือนสติลงไปด้วย

จากวันนั้นถึงวันนี้ บรรดาคำเตือนสติต่างๆ ซึ่งส่วนหนึ่งก็เป็นกรรมฐาน เฉพาะเจ้าของภาพโดยตรง ส่วนหนึ่งก็เป็น กรรมฐานของ พระคุณเจ้าและสิกขมาตุ และอีกส่วนหนึ่ง ก็เป็นคำเตือนสติทั่วไป ก็ได้รวบรวมเก็บไว้ จนญาติธรรม กลุ่มหนึ่ง เกิดความคิดที่จะให้ "โศลก" ต่างๆเหล่านี้ กระจายไปสู่ ญาติธรรมอื่นๆ ที่ไม่มีโอกาสได้เสพย์.

หนังสือ "โศลก" จึงได้เกิดขึ้นมา ด้วยประการฉะนี้

หากจะเป็นผลไม้ ก็คงจะเป็นผลไม้ที่มีรส เข้มข้น เด็ดขาดเหลือหลาย พึงโยนิโสมนสิการ ในแต่ละโศลก ที่มีแต่อัตถะสาระ แน่นเปรี๊ยะได้ ณ บัดนี้

จากพวกเรา ญาติธรรมชาวอโศก

   

เลือกโศลกธรรม ตอนที่ [1-20] [21-40] [41-60] [61-80] [81-100] [101-120] [121-140] [141-160] [161-180] [181-191]

โศลก 1 - 20 :

 

1. "โลก" นั้น มันเก่งกว่า "ธรรม" มาก มันจึงสามารถสะสมพลโลก ที่เต็มไปด้วยโลกธรรม ได้มากมาย ทับทวีขึ้นทุกวันๆ... คนผู้เอาชนะโลกได้ แต่ละคนนั้น จึงเป็นมนุษย์ผู้ยิ่งใหญ่จริง ๆ ที่อาจสามารถ แหวกพลโลกออกมา "อยู่เหนือโลก" ได้ แม้จะมีจำนวนน้อย ก็ต้องนับว่า เป็นผู้เก่งยอดยิ่งแท้จริง คุณจงเป็นผู้สะสม ว่านวงศ์พงศ์พันธุ์ "คน" ชนิดที่ชนะโลก ให้ได้มาก ๆ สมกับชื่อของคุณนั่นเถิด อย่าเป็น คนที่โลกสะสมไว้ อย่างไม่ราข้อนั้นเลย
(๔ธ.ค.๒๕๑๘) - กลับไปที่หัวเรื่อง

 

2. ผู้จะก้าวออกจากกรอบแห่ง "โลก" ได้นั้น ต้องเอาจริง!
(๕ ธ.ค.๒๕๑๘) - กลับไปที่หัวเรื่อง

 

3. "เรียบ ง่าย สบาย ว่างดี จริงหนอ! ท่านเลิก! ท่านหยุดอะไรได้บ้างเล่า? จึงเบาเบยพ้นบ่วงที่ต้อง ดิ้น พ้นทุกข์ที่ต้องร้อนรน หาอยู่ มิรู้แล้วได ?"
(22 ธ.ค. 2518) - กลับไปที่หัวเรื่อง

 

4. เพื่อนคุณเขาตายไปแล้วก็มี! และที่ยังอยู่ก็มี ... ทว่าที่ยังอยู่ยังไม่ตายนั้น ล้วนแล้วแต่ยังคือ นักต่อสู้ผู้ "เมาหมัด" เหมือนคุณนั่นแหละทั้งนั้น ภาพที่เห็นนี้ ก็เพื่อนของคุณจริง ๆ แต่เป็นผู้ที่ตายแล้ว หรือ "ยังอยู่" ทว่า ..."ไม่เมาหมัด"
(22 ธ.ค. 2518) - กลับไปที่หัวเรื่อง

 

5. จิตที่วางได้ดีแล้วนั้น จะเป็นเครื่องใช้ของเรา "สำหรับเราเท่านั้น และ จิตที่รู้สมมุติในโลกกับเขา แล้วหาทาง ช่วยเขาด้วยนั้น จะเป็นความประเสริฐ ที่โลกต้องมี ต้องได้ เป็นคุณค่าสำหรับเราด้วย" สำหรับโลกด้วย
(30 ม..ค. 2519) - กลับไปที่หัวเรื่อง

 

6. บิณฑบาต นั้น คือ งานแสดงธรรมโปรดสัตว์ ของนักบวช ผู้มีคุณธรรมที่แท้จริง คนผู้ได้พบได้รับ "ธรรม" จะเกิดผลในจิตจริงๆ สอบดูรู้ได้ เป็นความเจริญ ความประเสริฐ ธรรมนั้นมีคือ ศรัทธา- ปัญญา-ปีติ ที่สำคัญคือ ลดความโลภ และลดความโกรธ ลงไปอย่างแท้ มิใช่คนผู้พบนักบวช ตักบาตรกับนักบวช แล้วจะได้ความโลภใส่ใจเพิ่ม ได้ความพยาบาทผูกพันขึ้นอีก เพิ่มมาเป็นอันขาด
(22 พ.ค. 2519) - กลับไปที่หัวเรื่อง

7. คนผู้ตักบาตรเป็นนิจ นั่นคือ ผู้ประพฤติธรรมแล้ว แต่จะได้ผลเป็น "บุญ" หรือไม่? ก็ขึ้นอยู่กับ การทำจิตอย่างไร? ในตอนตักบาตรนั้น เท่านั้น! ถ้าตั้งจิตขอนั่นขอนี่ ในการตักบาตร นั่นคือ ผู้ตักบาตรนั้น ยิ่งขอยิ่งไม่ได้"บุญ" ยิ่งอธิษฐาน ขอเอาโน่นเอานี่ มากเท่าใดๆ ก็ยิ่งไร้ผล"บุญ" ยิ่งเท่านั้นๆ ผู้ตักบาตรด้วยศรัทธา ที่พร้อมด้วยปัญญาแท้ โดยไม่ต้อง"ขอ" อะไรเลย และพยายามตั้งจิต ให้อยู่ในสภาพ จิตสะอาด อย่าให้มีโลภะ-โทสะ-โมหะ ใดๆ ให้ได้อย่างละเอียด ผุดผ่องทุกทีๆ นั่นแลคือ ผู้ได้ผล"บุญ" มากทุกครั้ง เพราะทำ "อธิษฐาน" ถูกภาษา ถูกสัจธรรมเป็น "สัมมาอริยมรรค"
(22 พ.ค. 2519) - กลับไปที่หัวเรื่อง



8. ผู้กินอย่างฉลาด คือ ผู้รู้จักกินธาตุแท้ๆ ที่พอแค่เลี้ยงกายเท่านั้น มิใช่หลงรูปของกิน หลงติดรสของกิน หลงกลิ่นของกิน และหลงความอัครฐาน ของของกิน ผู้ฉลาดและ "ทำได้" แท้จริงแล้ว จะเป็นสวรรค์พิสุทธิ์ ที่ไม่ใช่สวรรค์ลวง ได้เองกับตน แท้จริง
(22 พ.ค. 2519) - กลับไปที่หัวเรื่อง



9. "นิพพาน" นั้น ไม่ใช่คนเก่ง แต่ "นิพพาน" นั้นคือ ผล ของคนผู้มีปัญญา รู้จัก "เจโตวิมุติ" และทำ "เจโตวิมุติ" นั้นๆ ให้กับตนเอง ได้สำเร็จ จนไม่กลับกำเริบ อย่างสัมมาทิฏฐิแท้จริง
(22 พ.ค. 2519) - กลับไปที่หัวเรื่อง



10. ศรัทธา แม้จะมีมาก มีแรง แถมวิริยะดีจัดปานใดก็ตาม แต่ถ้าขาดสัมมาทิฏฐิเสีย ก็ไม่มีหวังพบกับ นิพพาน
(22 พ.ค. 2519) - กลับไปที่หัวเรื่อง



11. ผู้ปรารถนาจะได้ "ภาพ" อาตมาไว้นั้น จะต้องรู้ให้จริงว่า "ภาพ"ของอาตมา เป็นอย่างไร? ประกอบพร้อมด้วย คุณสมบัติอย่างไร? (สภาพ, สภาวะ) ต้องรู้ ต้องอ่านให้ออก ให้ลึกซื้ง ทั้งนามธรรม ทั้งรูปธรรม และต้องรู้ด้วยว่า (ส) "ภาพ" อย่างใด? ที่เราควรจะถ่ายทอดเอาไว้ ให้ได้เร็วที่สุด แนบเนียนที่สุดด้วย นั้นแลคือ ผู้ได้ "ภาพ" ของอาตมา หาไม่คุณจะได้แต่ แผ่นกระดาษที่มีสี กันเท่านั้น

(3 มิ.ย. 2519) - กลับไปที่หัวเรื่อง

 

12. "ภาพ" นี้มันเป็นเพียงเส้น แสง เงา สี แต่ "ความจริง" ที่คุณต้องการแท้ๆ นั้นไม่ใช่เพียง "ภาพ" หรือแม้แต่ที่สุด "ความจริง" นั้นจะไม่ใช่ "มโนภาพ" เป็นอันขาด ขอให้คุณพยายามเพื่อได้ "สภาพ" อันสมภาพให้ได้
(11 มิ.ย. 2519) - กลับไปที่หัวเรื่อง



13. "ผี" ในป่าช้านั้น มันคือผีหลอกๆ "ผี" ในตัวคนนี่แหละคือ ผีแท้ๆ จริงๆ ใครฆ่า "ผี" ในตนได้ ผู้นั้นคือ "พระ" แท้จริง แม้ไม่ต้องห่มจีวร โกนหัว
(7 ต.ค. 2519)
- กลับไปที่หัวเรื่อง


14. "ยอดความสุข" ประการแรก ที่คนผู้ฉลาดแท้ จะพึงได้เป็นอริยสมบัตินั้น คือ "เราไม่โกรธ"
(7 ต.ค. 2519) - กลับไปที่หัวเรื่อง



15. "ความรู้" ของตน จะพาตนยิ่งใหญ่ได้ ก็จริงที่สุด แต่"ความไม่รู้"ในตน หลงตนว่าใหญ่ว่ายิ่ง จะเลวที่สุด และจริงที่สุดเสียอีก
(16 พ.ย. 2519) - กลับไปที่หัวเรื่อง



16. ผู้ที่มี "การรับเอา" แต่ไม่มี"การให้" นั่นคือผู้ขาดทุน เพราะเป็นผู้ทำจิตของตน ให้เอียงไปสู่โลภะ ส่วนผู้ที่มีแต่ "การให้" โดยมี "การรับเอา" น้อยได้เท่าใดๆ กลับยิ่งได้กำไรมาก เท่านั้นๆ เพราะเป็นผู้ทำจิตของตน ให้หมดโลภะ และเอียงเท เข้าสู่ความหมด ความจบ หรือสุญญตา
(17 มี.ค.17) - กลับไปที่หัวเรื่อง


 

17. ผู้ที่เห็นกิเลสของตน อยู่กับตนแท้ๆ ขณะใด นั้นคือผู้เริ่มไม่มีกิเลสขั้นต้น… คือพ้น "โมหะ" แล้ว จงอย่าให้กิเลส มันชนะเรา ทุกครั้งให้ได้นั่นคือ เราเป็นผู้ไม่มีกิเลส แล้วโดยจริง ขั้นกลางคือ พ้น "โทสะ" เมื่อทั้งรู้ ทั้งได้ทำดั่งนี้เสมอๆ ความดับสนิทแห่งกิเลส นั้นก็จะเป็นสมุจเฉทได้ เป็นขั้นสุดบริบูรณ์ นี้แหละ คือ พ้น "ราคะ" สนิทสูงสุด

(3 พ.ย. 2519) - กลับไปที่หัวเรื่อง



18. หัดเสียสละ หรือให้ของที่เรารักแก่ผู้อื่น ให้ได้เสมอๆ แต่อย่า"อยากได้" อะไรตอบแทน นั่นคือ เรากำลังสะสม "นิพพาน" ให้แก่ตนเอง

(3 พ.ย. 2519) - กลับไปที่หัวเรื่อง



19. ผู้รู้ว่าตนโกรธอยู่ที่ใด ก็ไม่สนุกไม่อร่อยอยู่ที่นั้น แต่ก็ไม่ทำตนให้หยุดเสีย จากความโกรธนั้นๆ ผู้นั้นก็ยัง "โง่" แท้ๆ อยู่นั่นเอง

(3 พ.ย. 2519) - กลับไปที่หัวเรื่อง



20. ผู้บรรลุธรรมได้นั้น มีหลักสำคัญอยู่ว่า "ต้องเอาจริง!"

(3 พ.ย. 2519) - กลับไปที่หัวเรื่อง

 


 

อันดับ 21-40 อันดับ 41-60 อันดับ 61-80
page: 1/10
   Asoke Network Thailand
อันดับ 81-100 อันดับ 101-120 อันดับ 121-140