161.
. ความมั่นใจแน่ๆ
ที่ "ทำได้" หรือ "เป็นได้" อย่างสำเร็จ "ในตัวเอง"
โดยไม่ต้องไปเกี่ยวเกาะอะไร ไม่ต้องไปยุ่ง ไปพึ่งใคร เราก็ "ทำได้สำเร็จ"
นั่นแลคือ "ความสำเร็จ หรือ ความบรรลุแท้" และยิ่งถ้า "ทำได้-เป็นได้"
โดยมีสิ่งอื่นคนอื่น ยุ่งเกี่ยวมากขึ้น แล้วต่างก็พึ่งกันและกัน สร้างสรรได้ เจริญขึ้น ทั้งเป็นไปด้วยความลงตัว ในหมู่ในกลุ่ม ที่เกาะเกี่ยวนั้นยิ่งขึ้น
ก็ยิ่งคือ "ความสำเร็จธรรม หรือ ความบรรลุธรรมแท้ยิ่ง" ที่ยิ่งใหญ่ และใหญ่ยิ่งๆ
ขึ้น เท่าใดก็เท่านั้นๆ
(29 ส.ค. 2522)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
162.
. จง
จริงใจ สมสภาพ เด็ดเดี่ยว ใช้ปัญญา
ดู ตัดสินความเหมาะสมให้ดีที่สุด ด้วยปัญญาอันยิ่งทุกขณะ
จะต้องพยายามเห็นแง่ ที่จะก้าวขึ้นไป ทำให้เจริญยิ่งกว่า เป็นลำดับอีกให้ได้เสมอๆ
ท แต่จะไม่รีบตะกละ ทำเกินฐานะอันเหมาะสม ในกาละนั้นๆ ก่อนเป็นอันขาด
(8 ก.ย. 2522)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
163.
. ผู้ยังเห็นว่า
ต้องขวนขวายหาเงินมาเพื่อทำบุญ - สะสมบุญ นั่นคือ "ผู้ยังโลภมาให้แก่ตัว"
อยู่ ส่วนผู้เห็นว่า ต้องขวนขวาย หางานที่จะลด ละ ตัดกิเลสแท้ๆ มาเพื่อให้เป็น-ให้ได้ จริงๆ
ยิ่งๆ นั่นคือ "ผู้ยังศาสนามาให้แก่โลก"
(10 ก.ย. 2522)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
164.
. "เก่ง
นั้น ก็ควรเป็น" แต่ "ดี" นั้น ต้องเป็นให้ได้ก่อน แล้วจึงค่อย
"เก่งด้วยดี" อย่า "เก่งด้วยไม่ดี" เลย แม้ผู้ใด "ดี"
แต่ "ไม่เก่ง" ก็ยังจะได้ "ความเคารพบูชาเทิดทูน" แน่แท้ ส่วนผู้ใด
"เก่ง" แต่ "ไม่ดี" ก็จะได้แต่ "การปรบมือ" นั้นแหละ ที่ดังยิ่งขึ้นๆ
หรือไม่ก็จะได้รับ "การติเตียน - เหยียดหยาม" และถูกสาปแช่ง - ถูกปราบราบคาบ เป็นที่สุด
(22 ก.ย. 2522)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
165.
. "จน"
อย่างไท! อย่าจนอย่างทาส "จน" ให้เป็น เช่นพระพุทธบิดาพา"จน"
แล้วเราจะไม่มีวัน"จน" อีกเลย ได้แท้ๆ
(31 ต.ค. 2522)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
166.
. ผู้ฉลาดแท้ต้องรู้ในความเป็น
"ภาระ" อันควรปลงของตน ที่มันมีอยู่แล้ว ในขณะปัจจุบันนั้นๆ 1 แล้วพึงปฏิบัติตัดลด
"ภาระ" นั้นๆ ไปเรื่อยๆ เพื่อให้หมดสิ้น และอีก 1 จะไม่ก่อ "ภาระ"
ใหม่ขึ้นให้แก่ตนอีก เป็นอันขาด ผู้นั้นก็จะได้ชื่อว่า พ้นทุกข์บริสุทธิ์บริบูรณ์ เป็นผู้สิ้น
"ภาระ" ผู้หมดกิจ ไม่ต้องปลง "ภาระ"ใดๆ อีกแล้วแท้เทียว
(19
พ.ย. 2522)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
167.
. ผู้ที่หยุดไม่ได้
คือ ผู้ยังมีความ "วน" ยังไม่แน่ใจ นั่นคือ ยังไม่ "วิมุติ"
ผู้ที่รู้ให้แน่ใจ แล้วตัดสินกันเสียที นั่นคือ ผู้มี "หยุด" และเป็น
"วิมุติ" หนึ่งทันที จิตขณะใด เราทำให้บริสุทธิ์ จากนิวรณ์ได้สุขุมแน่จริง
รู้ด้วยตน อย่างจะแจ้งชัดแท้ และเราก็หยุดคิด หยุดสงสัย ลงได้เมื่อใด เมื่อนั้นเราก็คือ
ผู้สั่งสม "วิมุติ" ให้แก่ตนอยู่ๆ เชิญลิ้ม "วิมุติรส" นั้นๆ
ให้ชัดแท้แน่ใจเถิด แล้วพยายามทำให้ได้ กับทุกเหตุปัจจัยที่เราสัมผัส เราจะมี "วิมุติ"
มากขึ้นๆ และจะครบถ้วนได้เป็นที่สุด ด้วยประการฉะนี้
(19 พ.ย. 2522)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
168.
. "เจริญชีพด้วยการก้าวฯ"
. . . ดังนั้น จงตรวจตนให้เห็นจริงให้ได้เถิดว่า เรามี "การก้าว" อยู่จริงหรือไม่
ในวันเวลาที่ล่วงไปๆ ไม่เช่นนั้น เราก็คือ ผู้ไม่ "เจริญชีพ" กันเท่านั้น!
(27 ม.ค. 2523)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
169.
. คำว่า "ครู"
ก็คือ ผู้ควรเคารพบูชา คือ ผู้มีคุณงามความดีแล้วในตน (จะไม่ใช่ผู้มีเพียง "ความรู้"
เท่านั้นเป็นอันขาด) แม้จะยังไม่ได้สอนเราเลย เราก็กราบไหว้ได้ เพราะในตัวท่านมี
"คุณงามความดี" แล้ว ท่านเป็นมนุษย์ที่เป็นตัวอย่างได้แล้ว เราจะดูตัวอย่าง
จะเอาตามอย่างท่านได้แล้ว ยิ่งถ้าท่านกรุณาบอกสอนเราเข้าอีก เราก็ยิ่งจะต้องกราบบูชาเชิดชู มากขึ้นเป็นทวีคูณ
ก็ยิ่งแน่นอน
(18 ก.พ. 2523)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
170.
. คนที่เกิดมาทั้งที
ไม่ได้ดิบได้ดีทางธรรมบ้างเลย (คือ ไม่ได้ฝึกฝนทางธรรม จนได้ตัดกิเลสกับเขาบ้าง)
นั้น พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า "โมฆะบุรุษ" (แปลว่า คนเกิดมาเสียชาติเปล่า)
ถ้ายิ่งเกิดมาแล้ว ยิ่งสร้างแต่กิเลสตัณหาให้ตน หนายิ่งๆ ขึ้น จะเรียก ".
. . . . . " อะไรเอ่ย?
(19 มี.ค. 2523)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
171.
. สังคมใด มีคนที่ดีใจเพราะ
"ได้ให้" มากว่า มีคนที่ดีใจเพราะ "ได้รับ" สังคมนั้นย่อมสุขเย็น
และแน่นแฟ้นถาวร ยิ่งกว่า สังคมที่มีคนตรงกันข้าม ดังกล่าวนั้น
(24 มี.ค. 2523)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
172.
. ผู้ถึงศีลถึงธรรมนั้น
เขามักจะเห็นว่าเป็นคนแปลก ไม่เหมือนตน ก็ใช่แล้ว! เพราะผู้ถึงศีลถึงธรรม ย่อมสะอาด
ส่วนเขาทั้งหลาย ผู้ยังไม่มีศีล ยังไม่มีธรรม ที่ถูกต้องเป็นจริง นั้นย่อมสกปรกอยู่
ผู้สะอาดที่รู้ความจริงอย่างนี้ มีปัญญาแล้ว จึงพึงเบิกบานสบายอยู่ ไม่แปลกใจ และไม่หวั่นไหว
แปรปรวน เปลี่ยนแปลงไปเปรอะเปื้อน ตามคำยุ คำแยง ของคนสกปรกอีกเลย
(23 เม.ย. 2523)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
173.
. รู้ตัวรู้ตนด้วยสติสัมปชัญญะ
สมบูรณ์เต็มที่อยู่เสมอๆ แล้วก็ทำงานทำการอันดีงาม ไปกับหมู่กับฝูง พลางอ่านกิเลส
แก้ไขปรับปรุงตน ไปพลาง ทั้งทางกาย ทางวจี โดยเฉพาะทางใจ ให้ได้จริงๆ ก่อนนอนเราควร ตรวจสอบทวนดูว่า
แต่ละวัน เราได้ปฏิบัติตน โดยได้ลดละกิเลสอยู่ทุกวันๆ จริงๆ มากขึ้นเสมอ เราพบกับความปลอดโปร่ง
ลดความยาก และความอยาก ลงได้เรื่อย สะอาดจิต สงบใจดียิ่ง จริงชัดขึ้นแท้ๆ มิใช่เดา
แต่ตรวจดูความจริง มีความจริงที่ได้จริงๆ นั่นแลคือ เราได้พัฒนาแก่นสาร ให้กับชีวิต อย่างถูกทาง ถูกธรรมแล้ว
(8 พ.ค. 2523)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
174.
. ผู้ปฎิบัติ
"ศีล" จนขัดเกลาตนถึงจิตได้แท้เป็น "อธิจิต" (สมาธิ) และเราก็รู้เห็นความพัฒนานั้นๆ
ของเราเองจริง (มี "ปํญญา") จนได้รู้-ได้เห็น ลักษณะแห่งความดับสนิท จากกิเลสนั้นๆ
ได้แท้ เห็นแจ้งในสภาพหลุดพ้นจากทุกข์ เพราะกิเลสนั้นในตนชัดๆ (วิมุติญาณทัสสนะ)
นั่นคือ ผู้เป็นพุทธบุตร ที่มีมรรคมีผล ด้วยสูตร "ศีล-สมาธิ-ปัญญา" แท้ๆ
แล้วจงเพิ่มอธิศีล-เพื่ออธิจิต - สู่ความมีอธิปัญญายิ่งๆ ต่อๆ ไปอีกเถิดเทอญ
(8 พ.ค.
2523)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
175.
. ชีวิตนี้
เกิดมาเพื่ออะไร? เกิดมาเพื่อ ตาย
.!
ถ้าอย่างนั้น เกิดมาทำไม? เกิดมา ทำงาน
!
ทำงานเพื่ออะไร? เพื่อให้ตายอย่างมีคุณค่า สมกับที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์
ดังนั้นผู้รู้แล้วอย่างนี้ จึงเป็นคนงานแท้ๆ ที่ทำงานด้วยวิจารณญาญอย่างสำคัญ และไม่ประมาท อยู่ทุกวินาที
(9 พ.ค. 2523)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
176.
. พระพุทธองค์ตรัสยืนยันไว้ชัดว่า
"ศีลอยู่ที่ใด ปัญญาอยู่ที่นั้น ปัญญาอยู่ที่ใด ศีลอยู่ที่นั้น ผู้มีศีลก็มีปัญญา
ผู้มีปัญญาก็มีศีล บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมกล่าวถึงศีลและปัญญาว่า เป็นของเลิศในโลก"
"ปัญญาที่ไม่มีศีล" จึงไม่เป็นที่พึ่งอันประเสริฐ ของใครใดเลย แม้แค่ตนเอง.
. . แล้วคนอื่นจะหวังพึ่ง "คนผู้มีปัญญาที่ไร้ศีล" นี้ได้อะไร แค่ไหนกันเล่า
(6 ก.ค. 2523)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
177.
. คำว่า "สงบ"
(ปัสสัทธิ, สันติ) ของพุทธธรรม นั้นมิใช่หมายความเอา อย่างเถรตรงพาซื่อว่า คนอยู่เฉยๆ
หรือ คนมีกิริยากาย วจี เงียบๆ นิ่งๆ แต่หมายความว่า คนผู้มีจิตอันสงบแล้วจากกิเลส
คนผู้มีจิตไม่ดีดดิ้นอยากใคร่พยายาท หรือแม้แต่กระทบสัมผัส กับปัจจัยที่ยั่วยวน เท่าใดๆ
ก็ไม่หวั่นไหว ไม่ฟูไม่แง้ม ออกมาอีกแล้ว นั่นคือ "สงบ" (ปัสสัทธิ,สันติ)
และผู้มีความสงบ (ปัสสัทธิ,สันติ) นั้น อาจจะเสียงดังโหวกเหวก แสดงท่าทางกระโดกกระเดก
หลุกหลิก ดุ๊กดิกไม่อยู่สุข (เช่น พระสารีบุตร เป็นต้น) ก็เป็นจริง แต่ท่านก็คือ
ผู้มีความสงบแล้วจริง ส่วนผู้มีกายกรรมนิ่งๆ มีวจีกรรมเงียบๆ ทว่า จิตนั้นสิ! ยังดีดดิ้นหวั่นไหว
ยังไม่เบาไม่บาง ไม่ว่างไม่สงบ จากกิเลสลงได้ นั่นคือ ผู้ยังไม่สงบเลยโดยจริง แห่งพุทธธรรม
แต่ถ้าสามารถเป็นอยู่ หรือแม้แสดงธรรมได้โดย ไม่ต้องมีเสียงโหวกเหวก ไม่ต้องหลุกหลิก
ดุ๊กดิ๊กเลย แล้วมีประสิทธิภาพ มีผลมาก มีฤทธิ์ช่วยคนได้มาก ก็ต้องนับว่า เก่งยิ่งมากๆ
ด้วย
(7 ก.ค. 2523)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
178.
. ผู้ทำตนให้มั่นคง เพราะมั่นใจในธรรม เพราะประสบผลบรรลุ ถึงความจริงแท้แล้ว
ย่อมจะไม่เปลี่ยนแปลง ไม่แปรปรวนเป็นอื่น และจะองอาจแกล้วกล้า ยืนหยัด ไม่เหลวๆ ไหลๆ
ไหวๆ หวั่นๆ เดี๋ยวเป็นอย่างนั้น เดี๋ยวเปลี่ยนกลับไปเป็นอย่างนี้ ผู้นั้นจึงจะเป็นที่พึ่ง
(สรณะ,นาถ) เป็นหลักยึดให้แก่คนอื่นๆ ได้ เพราะท่านมีความมั่นคงจริง จึงจะสร้างความเป็นแก่นแกนขึ้นได้จริง
โลกจึงจะมีความสถิตเสถียร ถาวรยืนนานที่ควรมี ไว้ช่วยมนุษย์โลกได้แท้
(7 ก.ค. 2523)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
179.
. การตัดสินสัจธรรมขั้นที่สุดนั้น
จะไม่ใช่การใช้เหตุผลทางความคิดเป็นอันขาด แต่ความจริงของผล ที่ปรากฏแก่เรา อย่างถูกต้อง ตามหลักธรรมวินัย
ซึ่ง "มีให้เราเห็นอยู่ รู้อยู่เป็นปัจจุบันนั่นเทียว" นี่ต่างหาก เป็นตัวทำให้เราสว่างแจ้ง สงบแจ่มใส
สิ้นวิจิกิจฉา อยู่โทนโท่
(8 ก.ค. 2523)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
180.
. ถึงตายเพราะเพ่งเพียรปฏิบัติธรรม ที่สัมมาทิฏฐินั้น
ยังประเสริฐกว่า อยู่ด้วยกิเลสตัณหาจะประเสริฐอะไร
?!
(8 ก.ค. 2523)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
|