โศลกธรรม  
page: 3/10

เลือกโศลกธรรม ตอนที่ [01-20] [21-40] [41-60] [61-80] [81-100] [101-120] [121-140] [141-160] [161-180] [181-191]

โศลก 41 - 60 :
ปราการ | กองทัพธรรม | กำไร | เลิกโง่ | พุทธบุตร | คนผู้มีสันโดษ-มักน้อย | เฉยสนิท | ผู้สิ้นภาระแล้ว | ผู้ทำงานแสดงธรรม | ธรรมะจะต้องถูกเปิดเผย | ผู้ "เอาจริง" | ประโยชน์สูง-ประหยัดสุด | พุทธเอ๋ย! | ที่ทำงานของพระ | ที่อยู่ | ภัตตาคาร | ผู้บรรลุธรรม | ความดีงาม | ว่างที่สุด | วิหารธรรม

 


41. "ปราการ" ใหญ่จะเกิดได้ก็เพราะ การผนึกตัว รวมตัวอย่างเนียนสนิท ได้สัดส่วน เป็นจำนวนมาก ของกรวดทราย และดินหินทั้งหลาย นั่นแล

(3 ม.ค. 2520)

- กลับไปที่หัวเรื่อง


42. โลกนับวันต้องการ "กองทัพธรรม" มากขึ้น -สูงขึ้นเป็นทวี นั่นคือสัจธรรม หรือสันติภาพ และความสุขเย็น
ถ้าโลกไหนนับวันต้องการ "กองทัพโลกย์ๆ" มากขึ้น-สูงขึ้น นั่นคือ อสัจธรรม หรือความเดือดร้อน และความสุขร้อน
(3 ม.ค. 2520)

- กลับไปที่หัวเรื่อง


43. คนเรามักจะหลงเข้าใจว่า "การได้มา" นั้นเป็นกำไร เป็นความเจริญ เป็นความประเสริฐ แห่งความเป็นคน แต่แท้จริงแล้ว "การเสีย" หรือ "การสละ" ให้ได้นั้นต่างหาก ที่เป็นกำไรยิ่งกว่า เป็นความจริงยิ่งกว่า เป็นความประเสริฐสูงสุดกว่า แห่งความเป็นคน
(3 ม.ค. 2520)

- กลับไปที่หัวเรื่อง


44. อาตมาเหน็ดเหนื่อยและเลิกโง่แล้ว จากการหลงมัวขี้โลภ -ขี้อยากดัง -อยากหลง -แม้การหลงในเรื่องสมสู่… เพราะมัน"ทุกข์" จึงหยุดสะสม หยุดแสวงสุข หยุดเสวย สิ่งดังกล่าวนั้น มาทำงานครู สอนคนให้รู้ ในสิ่งที่อาตมาได้ "เลิกโง่" นี้ๆ กันแต่อาชีพเดียว ซึ่งเป็นงานไม่เบาเลย ทว่าอาตมา ทำได้อย่างไม่ทุกข์ และสุขสบายดีที่สุด ก็เพราะมันมี "เบา" ที่ใจได้จริงๆ

(6 ม.ค. 2520)

- กลับไปที่หัวเรื่อง


45. ผู้มีฐานะถึงกษัตริย์ มีพร้อมทั้งแท่นทอง -ร่มฉัตร -เวียงวัง อันแสนอัครฐาน ฯลฯ แต่แล้วลดความเป็นอยู่ลงมา นั่ง นอน อย่าง เบา-ง่าย มีชีวิตแสนอิสระ กระนี้ๆแหละคือ ผู้ที่เราเทิดทูนกันว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และแล้วพระองค์ ก็ทรงสอน ให้มนุษย์ผู้อื่น ลด-ละ ให้ได้ อย่างพระองค์บ้าง ผู้"ทำ"ได้ตาม ก็เรียกว่า "พุทธบุตร" จริงๆ คุณล่ะ! ลด-ละ อะไรลงมาบ้าง แล้วหรือยัง?
(16 ม.ค. 2520)

- กลับไปที่หัวเรื่อง


46. โอ! พุทธบุตรทั้งหลาย น่าเคารพบูชาจริงหนอ… คนผู้มีสันโดษ-มักน้อย -ไม่หยิ่งผยองถือตัว อดทนอย่างนี้ๆ ย่อมน่าเคารพ น่าบูชาแท้

(16 ม.ค. 2520)
- กลับไปที่หัวเรื่อง


47. ผู้เห็นความจริง จริงๆ ว่า "ชีวิต" มันก็คือ ความเกิด แล้วมันก็จะแก่ และมันก็มีความเจ็บ ที่สุดมันก็จะมีความตาย ดังนั้น จึงเฉยได้-วางได้ เย็นสบายได้ ต่อความเกิด-แก่-เจ็บ แม้ที่สุดจะ "เฉยสนิท" ได้อย่างเห็นเป็นธรรมดาๆ จนขณะเวลา กำลังจะตาย จึงคอยสังเกตตนเถิดว่า เราเฉยได้ ไม่ทุกข์ไม่สุขกับความแก่ ไม่กังวลไม่อึดอัด ไม่สุขไม่ทุกข์กับความเจ็บ และไม่ตกใจ ไม่แปลกใจ ไม่กริ่งเกรงหวั่นไหว กับอุปสรรค แม้ใหญ่โต ที่"เกิด"มาประสบกับเรา อย่างมั่นคงเที่ยงแท้ จงจับจิตเรา อ่านให้รู้แจ้งในจิตเรา ถ้าเราแน่ใจว่า เราเป็นดั่งนี้ได้ นั่นคือ ผู้นั้น"ตายแล้ว" หรือ แม้จะตาย ผู้นั้นก็จะ "เฉยสนิท" ได้อย่าง ไม่ต้องสงสัยเลย นี้คือ การพ้นทุกข์ เพราะรู้จริงรู้แจ้ง ในอริยสัจแท้ ผู้ทำได้จริงแท้ คือผู้ "นิพพาน"
(29 ม.ค. 2520)

-
กลับไปที่หัวเรื่อง


48. การช่วย "ตนเอง" ของอริยะ หรือปราชญ์แท้นั้น คือ ผู้สิ้นภาระแล้ว จะเป็นอยู่กับสิ่งที่ตนเห็น ด้วยอธิปัญญา ว่าเหมาะควร อย่างไม่มีภาระสนิทใจแท้ เป็นสัมมากัมมันตะ เป็นสัมมาอาชีวะ ได้อย่างมีประโยชน์สูง - ประโยชน์สุดจริงๆ
(19 ธ.ค. 2519)

 

หัดขัดเกลาการกระทำทางกาย ทางวาจา ทางใจ ของตนให้ดีขึ้นๆ เห็นในประโยชน์ของผู้อื่น ให้มากกว่าตัว ก่อนเสมอ ยอมเสีย ทั้งๆที่รู้ว่าเสีย และแสดงความจริงอย่างฉลาด ให้ "ผู้ได้" นั้นรู้ด้วยชัดๆ ว่าเราเสียให้ท่าน อย่างกล้าเสีย จริงๆ จึงมิใช่การ "เสียรู้"

"เสีย" ให้ได้มากครั้ง และควรจะมีขอบเขต หรือมีความพอ สำหรับการได้และการเสียนั้นๆ เป็นที่สุดของมันเอง ด้วยเหมือนกัน โดยเฉพาะ จะต้อง"รู้ทัน" การยึด"ความดี" เกินไปของตัว จนลืมหลงเห็น "ความเสีย" แม้เล็กน้อยของตัวเอง ที่จะซ้อนแฝงแกมปนอยู่ในทุกๆ การกระทำ จนไม่ได้แก้ไขปรับปรุง "ตน"
(29 ม.ค. 2520)
-
กลับไปที่หัวเรื่อง


49. ธรรมะจะต้องถูกแสดง ผู้มีงานที่ประเสริฐสุดคือ ผู้ทำงานแสดงธรรม หากโลกไร้ผู้มุ่งมั่น ไร้ผู้ขยันเผยแพร่ธรรม นั่นคือ ความล้มเหลวของมนุษยชาติ ความบรรลัยของโลก อย่างสิ้นท่า

(29 ม.ค. 2520)

- กลับไปที่หัวเรื่อง


50. เราจะต้องเปิดเผยธรรมะ ไม่มีเวลาใดเลย ที่ไม่สมควรเปิดเผยธรรมะ ธรรมะจะต้องถูกเปิดเผย ให้มากที่สุด ในทุกๆ เวลา ผู้อำพรางธรรมะ หรือ ผู้เจตนาล้มล้างธรรม หรือ ช่วยปกป้อง ช่วยขัดขวาง ไม่ให้คนแสดงธรรม ไม่ให้คนเปิดเผยธรรมะนั้น เป็นผู้ทำร้ายมนุษยชาติ ที่โหดเหี้ยมที่สุด บาปที่สุด
(29 ม.ค. 2520)

- กลับไปที่หัวเรื่อง


51. ผู้จะบรรลุธรรมได้นั้น คือ ผู้ "เอาจริง" เพียงแต่ "รู้" เท่านั้น ยังไม่ถือว่า เป็นผู้บรรลุธรรม เมื่อรู้ชัดว่า อย่างนี้ดี อย่างนี้เป็นกุศลธรรมแท้แล้ว เราต้อง "ทำ" ให้ได้ด้วย จนสำเร็จ นั่นแลคือ การบรรลุธรรมที่แท้จริง จงบรรลุธรรมให้ได้เสมอๆ จนแน่นอน มั่นคงถาวร นั่นคือ ผู้พุทธแท้ๆ ที่เป็นผู้ "ทรงธรรม"
(3 ก.พ. 2520)

- กลับไปที่หัวเรื่อง


52. ประโยชน์สูง-ประหยุดสุด ประโยชน์ตน-ประโยชน์ท่าน โดยเฉพาะคำว่า "ประโยชน์ตน" ที่มีค่าสูงสุดนั้น คือ การได้ตัดกิเลส ลงไปได้เรื่อยๆ หรือ การละความเห็นแก่ตัวได้จริงๆแท้ เมื่อใดขณะใดเสมอ นั่นคือ "คุณค่า" แห่งความเป็นมนุษย์ เพิ่มขึ้นทุกขณะทุกเมื่อ ที่ได้มีที่เป็น
(3 ก.พ. 2520)

- กลับไปที่หัวเรื่อง


53. ตื่นเถิด…พุทธเอย! สว่างเถิด…พุทธเอ๋ย! ยอดนักรบแห่งกองทัพธรรม จะไปและไป เพื่อทำผู้มืดอยู่ ให้สว่าง… นั่นแลพุทธ! เพื่อทำผู้หลับใหล หลงใหลเมามาย อยู่ในฤทธิ์โลกียะ ให้ตื่น นั้นแลพุทธ!
(3 ก.พ. 2520)

- กลับไปที่หัวเรื่อง


54. เรา "ทำงาน" เสมอ . . . และนี่คือ ที่ทำงานของพระ
(28ก.พ. 2520)


- กลับไปที่หัวเรื่อง

55. เราอยู่ที่ไหน กินที่ไหน นอนที่ไหน ตายที่ไหนก็ได้
(28 ก.พ. 2520)

-
กลับไปที่หัวเรื่อง

56. เราสบายเสมอ … และนี่คือ ภัตตาคารของพระ
(28 ก.พ. 2520)

-
กลับไปที่หัวเรื่อง


57. คน "ผู้บรรลุธรรม" หรือ "พระ" นั้นคือผู้องอาจ แกล้วกล้าจริงใจ เพราะรู้จัก "ความดี"แท้ และได้รับผลซาบซึ้งถึงดีจริงๆ ในการไม่มีชั่ว ไม่มีบาปนั้นๆ แล้วจะเป็นผู้ยืนหยัดมั่นคง นำผู้อื่น ให้เป็นผู้มามี "ความดี" เช่นนั้นๆ อย่างเด็ดเดี่ยว แข็งขัน เหมาะสมที่สุด
(4 เม .ย 2520)

-
กลับไปที่หัวเรื่อง


58. "ความดีงาม" จะพยายามไปสู่ทุกๆ ที่ แต่คนที่อยู่ในทุกๆ ที่สิ ไม่พยายามเห็น "ความดีงาม" และรับเอา "ความดีงาม" นั้นไว้เร็วเสียบ้างเลย


"Good" may try spreading everywhere,
But so pity for all men there,
Who hardly trying realizing "Good"
And accepting it at once… never! Why!
Or
"Goodness" will try to go to every place
but it's a pity that ones who live in these places
neither try to see the "Goodness" nor quickly
of tain it at all

(4 เม.ย. 2520)
-
กลับไปที่หัวเรื่อง


59. มนุษย์ผู้จะทำ "ประโยชน์" ได้สูงสุดทั้งแก่ตน และแก่มวลมนุษยชาตินั้น ต้องเป็นผู้ที่ "ว่าง" ที่สุด และ "อิสระ" ที่สุด "ว่าง" คืออย่างไร? "อิสระ" คืออย่างไร? ต้องรู้ให้แจ้ง เป็นให้จริง อย่างสำคัญให้ได้
(7 เม.ย. 2520)

-
กลับไปที่หัวเรื่อง


60. จงรู้จัก "วิหารธรรม" ให้แจ่มแจ้ง แล้วเราจะคือ ผู้มีชีวิต ที่เรียกว่า "พระ"นิรันดร "วิหารธรรม" ที่ควรรู้ยิ่งก็คือ สุญญตวิหาร 1 ทิฏฐธรรมสุขวิหาร 1 สันติวิหาร 1
(10 เม.ย. 2520)


-
กลับไปที่หัวเรื่อง


 

ยังมีต่อ...61-80
page: 3/10
   Asoke Network Thailand