เศรษฐศาสตร์บุญนิยม:
  ระบบบุญนิยมก้าวแรก | เศรษฐกิจพอเพียง | ทุนนิยม กับ บุญนิยม | หลักการพัฒนาตน | สาธารณโภคี
page: 0/5
เศรษฐกิจพอเพียง
close

ก้าวแรกของระบบบุญนิยม สุนัย เศรษฐบุญสร้าง  จาก ดอกหญ้า ฉบับที่ ๑๗ : ก.ย. - ต.ค. ๒๕๓๐

"ตัวแบบของระบบบุญนิยม......... ได้เริ่มคลี่คลาย
ปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมและพิสูจน์ยืนยันถึงความ
เป็นไปได้..... เมื่อบริษัท พลังบุญ จำกัด ได้ถือกำเนิด
ขึ้น ด้วยทุนจดทะเบียน ๕ ล้านบาท จากการดึงเอา
"มูลค่าส่วนเกิน"
ที่หมุนเวียน อยู่ในระบบ ทุนนิยม
เข้ามาสู่ระบบบุญนิยมของกลุ่มชาวพุทธ จำนวนหนึ่ง
ที่เป็นสมาชิกของ สมาคมผู้ปฏิบัติธรรม

บริษัทพลังบุญจำกัด ทำพิธีเปิดดำเนินงานอย่างเป็น
ทางการ เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๓๐ โดยประกอบ
กิจการ จำหน่ายสินค้า เครื่องอุปโภคบริโภค ต่างๆ
สำนักงาน ตั้งอยู่ใกล้ พุทธสถานสันติอโศก แขวง

คลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร และมีร้านเครือข่าย บุญนิยม ที่ดำเนินนโยบาย เช่นเดียวกับ บริษัท พลังบุญ รับสินค้า จากบริษัทแม่ ไปจำหน่าย ในราคาถูก อีกประมาณ 7 - 8 แห่ง

นโยบายสำคัญ ของบริษัทพลังบุญนั้นเน้นการจำหน่ายสินค้า ราคาถูก ไม่ฉวยโอกาส บริการลูกค้า ด้วย ความสุขุม ประณีต และซื่อสัตย์ ตลอดจน ไม่จำหน่ายสินค้า ที่เป็นมิจฉาวณิชชา ซึ่งพุทธศาสนา ไม่ส่งเสริม ได้แก่ การไม่จำหน่าย สัตว์ที่มีชีวิต เนื้อสัตว์ อาวุธ ยาพิษ และสิ่งมอมเมาต่างๆ...."

ธุรกิจบุญนิยม

“ธุรกิจบุญนิยม” มีหลักเกณฑ์ ให้เริ่มพัฒนากันขึ้นไป ๔ ระดับ คือ

ขั้นที่ ๑
ขายให้ต่ำกว่าราคาท้องตลาดมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพียงแต่พอเป็นเครื่องอาศัยตามความจำเป็นของชีวิต ซึ่งมีระดับความสันโดษไม่เท่ากัน ไม่เหมือนกัน ซึ่งยังไม่ถือว่าเป็นบุญนิยมทีเดียว

ขั้นที่ ๒
ขายเท่าทุน ยังไม่มีบุญแต่ก็ไม่มีบาป ให้พออาศัยต่อทุนทำงานต่อไป ถือว่า เป็นการเริ่มต้นบุญนิยมขั้นแรก

ขั้นที่ ๓
ขายต่ำกว่าทุนที่ลงไปโดยอาจไม่รวมค่าแรง ค่าโสหุ้ยต่างๆ ค่าวัตถุดิบ ซึ่งผลิตเองหรือเก็บจากธรรมชาติ ขายต่ำลงได้มากเท่าไรก็เป็นบุญมากเท่านั้น

ขั้นที่ ๔
แจกฟรี เป็นการสงเคราะห์เกื้อกูลกันไป

page: 0/5
เศรษฐกิจพอเพียง
close
   Asoke Network   Thailand