อ่านฉบับที่ : พระรมณียวิหารีเถระพระรมณียวิหารีเถระพระรมณียวิหารีเถระ | พระเอกุโปสถิกาเถรีพระเอกุโปสถิกาเถรีพระเอกุโปสถิกาเถรี |
กว่าจะถึงอรหันต์ โดย ณวมพุทธ ตอน...
พระรมณียวิหารีเถระ
หนังสือพิมพ์สารอโศก อันดับที่ 232
หน้า 1/1

พระรมณียวิหารีเถระ

พระรมณียวิหารีเถระนี้ ได้สั่งสมบุญเอาไว้แล้วในอดีต แม้ในยุค ของ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี เขาได้พลเห็นรอยพระบาท (มรรคแห่งการปฏิบัติ) อันประดับด้วยจักร (ธรรมะ) และ เครื่องอลังการ (วินัย) ซึ่งพระผู้มี- พระภาคเจ้าผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่ ทรงเหยียบประทับไว้บนโลก จึงได้เดินตาม (ปฏิบัติตาม) รอยพระบาทนั้น ไป แล้วได้แลเห็นต้นหงอนไก่มีดอกบานสะพรั่งอยู่ จึงถอนขึ้นทั้งราก นำมาบูชากราบไหว้รอยพระบาทอันอุดม ด้วยจิตยินดีร่าเริงยิ่งนัก

ผลบุญแห่งการปฏิบัติเป็นพุทธบูชานั้น ทำให้เขาไม่ได้พบกับทุคติ (ทางไปชั่ว) เลยหลายๆ

ชาติ ตราบกระทั่งถึงยุค ของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์สมณโคดม เขาได้เกิดเป็นบุตรเศรษฐีคนหนึ่งในกรุงราชคฤห์ นครหลวง ของ แคว้นมคธ ซึ่งเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก

เพราะฐานะมั่งคั่งร่ำรวย เขา จึงเติบโตอย่างสุขสบาย กลายเป็นหนุ่มเจ้าสำราญ หมกมุ่นมัวเมาในกามคุณ ใช้ชีวิตไปอย่างเพลิดเพลินไร้สาระ เป็นเหมือนพวกนักเลงผู้หญิง ฉะนั้น

อยู่มาวันหนึ่ง บังเอิญเขาได้เห็นชายคนหนึ่ง ซึ่งเป็นชู้กับเมียชาวบ้าน แล้วถูกจับได้คาหนังคาเขา ต้องถูกลงโทษทรมานต่างๆ มากมาย เป็นที่น่าเวทนาสงสารนัก ทำให้เขาเกิดจิตสลดสังเวชขึ้น ได้สติในการประพฤติตัวเหลวไหล ของ ตนว่า ไร้ประโยชน์ ไร้คุณค่า มี แต่จะนำโทษภัยตามมาในภายหลังให้เศร้าหมอง

ดังนั้น เขา จึงตั้งจิตเปลี่ยนใจใหม่ มุ่งไปยังสำนัก ของ พระศาสดา เพื่อแสวงหาการฟังธรรม ครั้นได้ฟังธรรมอันเป็นไปเพื่อการพ้นทุกข์แล้ว ก็บังเกิดความศรัทธาอย่างแรงกล้า ขอบวชอยู่ในพระพุทธศาสนานั้น

แต่เมื่อบวชเป็นภิกษุแล้ว วิบากกรรม (ผล ของ การกระทำ) ก็ส่งผลทันที เพราะเหตุที่มีนิสัยราคจริต (กำหนัดยินดีในกาม) มีความรักสวยรักงาม จึงปัดกวาดบริเวณที่พักสะอาดสะอ้าน ประดับตก แต่งที่นอน ของ ใช้เป็นอย่างดี ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้อย่างพรั่งพร้อมสมบูรณ์ ปรารถนาอยู่อย่างสุขสบาย ด้วยเหตุดังนี้ ท่าน จึงได้รับนามปรากฏว่า รมณียวิหารี (ผู้อยู่อย่างอภิรมย์ยิ่ง)

ก็เพราะการประมาทในความเป็นอยู่ สั่งสมให้หนาแน่นด้วยราคะ ขาดการทำกิจภายในใจให้แยบคาย ในที่สุดท่านก็พลาดพลั้งไปในอารมณ์กาม ไม่อาจควบคุมความรู้สึกนั้น ได้ จึงต้องอาบัติ (กระทำผิดวินัย) เพราะตั้งใจทำน้ำสุกกะ (น้ำอสุจิ) ให้หลั่งออกมา

เหตุเกิดแล้วเช่นนี้ สร้างความทุกข์ ความเดือดเนื้อร้อนใจให้แก่ท่านหนักหนา เศร้าหมองตำหนิตนเองว่า

“เราผิดแล้วหนอ เราชั่วจริงหนอ ทั้งๆ ที่เราฉันอาหารที่เขาถวายให้ด้วยศรัทธาแท้เทียว”

จิตตกต่ำท้อแท้ เอา แต่ตำหนิติเตียนด่าว่าตัวเอง กระทั่งหมดความเชื่อมั่นในตน คิดอย่างทุรพล (อ่อนแอ) ว่า

“เราจะสึก.....เราจะสึก......”

แล้วเดินไปเพื่อหาที่ลาสึกจากเพศสมณะเสีย ระหว่างทางนั้น เอง พอดีสวนทางกับหมู่เกวียนขบวนหนึ่ง มีวัวเทียมเกวียนเล่มหนึ่งเกิดเหน็ดเหนื่อยมาก ลื่นตกหลุมแล้วลุกไม่ขึ้น ทรุดตัวอยู่ที่ตรงนั้น เอง เจ้า ของ มาฉุดกระชากอย่างไรก็ไม่อาจลุกขึ้น ในที่สุดก็ต้องปลดวัวออกจากแอก ให้น้ำให้หญ้ากิน พอวัวได้พักหายเหนื่อยแล้ว เจ้า ของ ก็ฉุดให้ลุกขึ้นได้ แล้วเทียมมันเข้ากับแอกใหม่อีก ออกเดินทางต่อไป

เมื่อท่านได้เห็นเหตุการณŒนั้น แล้ว ก็ได้สติเกิดกุศลจิตขึ้นทันทีว่า

“วัวตัวนี้เป็นเพียงดิรัจฉาน แม้ล้มลงแล้ว ก็ยังสามารถลุกขึ้นลากเกวียนไปได้ใหม่อีกหน ก็แล้วเราเล่า แม้พลั้งผิดไปด้วยกิเลสราคะบ้าง ไฉนจะไม่อาจลุกขึ้นบำเพ็ญเพียรใหม่อีกสักหนเชียว หรือ ”

ด้วยการพิจารณาอันแยบคายนี้เอง ท่าน จึงเกิดกำลังใจอีกครั้ง หันกลับคืนสู่หมู่เพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ไปแจ้งอาบัติ (ความผิด) ของ ตนแก่พระอุบาลีเถระ แล้วอยู่กรรม (อยู่ชดใช้ความผิด) กระทั่งออกจากอาบัติ

หลังจากนั้น ท่านก็อยู่อย่างไม่ประมาท รักษาศีลให้บริสุทธิ์ ระวังกาย-วาจา-ใจ เว้นออกจากอกุศลทั้งปวง เพิ่มพูนกุศลให้ยิ่งๆ ขึ้น กระทั่งจิตบริสุทธิ์ผ่องใส บรรลุเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในโลก ในเวลาอันไม่ช้านานเลย

ครั้นบรรลุธรรมแล้ว ได้เสวยวิมุตติสุข (สุขวิเศษที่ได้รับจากการหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง) พระรมณียวิหารีเถระได้กล่าวคาถาธรรมว่า

“วัวอาชาไนย (วัวชั้นเลิศที่ฝึกหัดมา ดีแล้ว) ตัวสมบูรณ์ เมื่อพลาดล้มลงแล้ว ย่อมกลับลุกขึ้นยืนตั้งตัวได้ใหม่ ฉันใด แม้ เราบุรุษอาชาไนย (คนชั้นเลิศที่ฝึกหัดมาดี แล้ว) ผู้เป็นสาวก ของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งสมบูรณ์ด้วยทัสสนะ (การเห็นด้วยปัญญา) ก็เป็นฉันนั้น เช่นกัน”

ณวมพุทธ จันทร์ ๑๒ ก.พ. ๒๕๔๔ (พระไตรปิฎกเล่ม๒๖ ข้อ ๑๘๒ อรรถกถาแปลเล่ม ๕๐ หน้า ๒๕๓)

end of column

กว่าจะถึงอรหันต์ (สารอโศก อันดับ ๒๓๒ หน้า ๗๐ เดือน มกราคม ๒๕๔๔)

อ่านฉบับที่ : พระรมณียวิหารีเถระพระรมณียวิหารีเถระพระรมณียวิหารีเถระ | พระเอกุโปสถิกาเถรีพระเอกุโปสถิกาเถรีพระเอกุโปสถิกาเถรี |