หน้าแรก หน้าต่อไป
บันทึกปัจฉาสมณะ
โดย สมณะแน่วแน่ สีลวัณโณ
ตอน... ฉลองน้ำ
หนังสือพิมพ์สารอโศก
อันดับที่ 230
เดือนพฤศจิกายน 2543
หน้า 2/2

ความมักน้อยสันโดษ เป็นรากฐาน ของชุมชนเข้มแข็ง

คำว่า ชุมชนเข้มแข็ง เข้มแข็งจะ เป็นยังไง เขาจะรู้กันไหม ยิ่งอาตมา อธิบายมานี่ คุณจะรู้เลยว่า เข้มแข็งคือ ยิ่งจนลง จนลง อย่างที่อาตมา กำลังพา พวกคุณมา เป็นอยู่นี่ ส่วนตัว เราจนลง แล้วชุมชน เข้มแข็งไหม คุณสละออก มากขึ้น คุณก็จนลงยิ่งขึ้น คุณขยันขึ้น ชำนาญขึ้น ทำได้มากขึ้น และ ยิ่งไม่เอา หรือ ยิ่งสละไปได้ มากขึ้นๆ นั่นเอง คุณไม่เอาสนิท สละเก่ง แต่จนหมดตัว นี่เข้มแข็ง ความเข้มแข็งนี้ นอกจากมีคุณภาพ ทางเศรษฐกิจแล้ว ยังมีคุณภาพ ทางจิตวิญญาณ ความเมตตา เอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือกัน เกิดในสังคม ของพวกเราจริงๆ คุณภาพ ของสังคหะ คุณภาพ ของภราดร สิ่งเหล่านี้ ไม่ปรากฏแล้ว ในสังคมส่วนใหญ่ ที่เขาทำกันก็เพื่อ ลาภ ยศ สรรเสริญ แต่สำหรับกลุ่มชุมชน ของพวกเราปรากฏ ส่วนกลางที่ แต่ละคนสละ รวมกันเข้าไป ก็แข็งแรง หรือ อุดมพอเพียง เลี้ยงกัน และกัน เฉลี่ยแก่กัน และกัน ได้ถ้วนทั่ว จนสะพัดออกไป แก่ผู้อื่นได้ ขายถูกได้ ให้คนอื่นได้ โดยไม่ต้องกักตุนมาก ไม่ต้องสะสมมาก เพราะเราขยันทุกวัน สร้างอยู่ทุกวัน แต่ส่วนตัว มักน้อยกัน นี่คือเข้มแข็ง "

เมื่อเช้า คุณนวพร ได้รับอุบัติเหตุ ลื่นล้มแขนหัก ประกอบกับสมณะ และ ชาวบ้านราชฯเอง ก็ตกเรือ ตกน้ำกันอยู่บ่อยๆ จึงมีการประกาศ เตือนญาติธรรม ที่มาใหม่ อย่าไว้ใจทางที่เดิน รวมถึงเรือที่พาย ควรมีชูชีพ ติดตัวด้วย จะปลอดภัย เพราะแม้บริเวณถนน หรือ ทางที่เรือใช้สัญจร ก็มีระดับน้ำ สูงท่วมหัวทั้งนั้น

วันนี้นอกจากชาวสีมาอโศก ประมาณ ๖๐ คน ก็ยังมีชาวหินผาฟ้าน้ำ จากชัยภูมิ ประมาณ ๒๐ คน มีชาวเลย ประมาณ ๑๐ คน ชาวอำนาจเจริญ ประมาณ ๑๕ คน หลังรับประทานอาหารแล้ว เป็นรายการ พาแขก ดูสภาพน้ำท่วม พ่อท่าน กลับไปทำงานที่ห้อง

๑๕.๐๐ น. บันเทิงเล็กๆ ในภาวะน้ำท่วม มีการแข่งกีฬาทางน้ำ ใช้บริเวณด้านหน้า เฮือนศูนย์สูญ ซึ่งกว้าง และ โล่ง น้ำไม่เชี่ยวมาก เหมือนที่ลำน้ำมูล เริ่มจาก แข่งพายห่วงยาง คนนั่งบนกะละมัง ที่สวมพอดี เข้ากับวงใน เส้นในยางรถยนต์ โดยผลัด ๔ คน ระหว่างนักเรียน สีมาอโศก กับนักเรียน บ้านราชฯ ต่อด้วยการ แข่งเรือพาย หลายประเภท ๒ - ๗ คน การแข่งประเภท ปิดตาคนพาย อีกคน บอกทาง โดยไม่มีพาย ก็ เป็นที่สนุกสนาน พอสมควร เมื่อหลายลำ พายผิดทิศ รวมถึง การพายเรือล่มทั้งลำ ทีมหญิงสีมาอโศก มีคนแก่ ๒ - ๓ คน แต่ก็สามารถ เอาชนะสาวๆ บ้านราชฯได้ จบท้ายรายการ ด้วยการ แข่งพายเรือชักเย่อ ขณะที่เวทีภาคค่ำ บนเรือที่เพิ่งทำเวที ต่อโครงหลังคา ชั่วคราว กำลังติด ลำโพงไฟฟ้า ทันใช้งานค่ำนี้

๑๐ ก.ย. ๒๕๔๓ ที่ราชธานีอโศก ทำวัตรเช้านี้ มีญาติธรรม มาร่วมฟังกว่า ๔๐๐ คน พ่อท่านแสดงธรรมช่วงแรก อธิบายกว้าง ถึงจักรวาล พลังงาน ทางอุตุ พีชะ อธิบาย รูปฌาน อรูปฌาน คร่าวๆ แล้วโยงไปถึง อินทรีย์ ๕ พละ ๕ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เมื่อพ่อท่าน พูดถึงเรื่อง "จน " เรื่อง "รวย " มีประเด็น ที่น่าสนใจ ดังนี้

"...เราไม่ต้องไปมีวิบาก เพื่อมาล้างวิบาก เราไม่มีคู่ แล้วต้องไปลอง มีคู่ก่อน เพื่อมาล้าง ขนาดวัตถุเงินทอง มีแล้ว ยังล้างยากเลย นี่มีความผูกพัน ทางจิตวิญญาณ ก็ยิ่งจะล้างยากใหญ่ อย่างคนที่คิดว่า จะไปหาเงิน หมื่นล้านก่อน แล้วค่อยเข้ามาล้าง คนที่มีล้าน แล้วทิ้งล้านมานี่ ก็มีวิบากขนาดล้าน ยิ่งถ้ามีหมื่นล้าน ก็ยิ่งแล้วใหญ่เลย

อโศก จน เพราะไม่สะสมกักตุน

อโศก รวย เพราะมีสมรรถนะ สร้างสรร เสียสละได้มาก สร้างมากกว่า ผลาญ

นิยาม คนรวย คือ คนที่มีสมรรถนะ ขยัน เสียสละ สร้างมากกว่า ผลาญ ให้มากกว่า เอา สะพัดมากกว่า สะสม

ถ้าชาวอโศกมีคนที่มีคุณภาพ พฤติกรรมอย่างนี้ สัก ๑ ล้านคน จะไม่กลัวเลยในโลก... "

๘.๓๐ น. รองผู้ว่าราชการ จ. อุบลราชธานี นายสุรพันธ์ เงินหมื่น และ คณะ ให้เกียรติ มาเปิดงานอบรม โครงการชุมชนกู้วิกฤติ รุ่นที่ ๑๕ - ๑๖ "พัฒนาคุณภาพชีวิต ยามวิกฤติน้ำท่วม "

ก่อนฉัน พ่อท่านแสดงธรรม จากบางส่วน ที่พ่อท่านกล่าวถึง ความเจริญ และ ความเสื่อม ในสังคม ดังนี้

"...ความเจริญ อย่างที่คนส่วนใหญ่ เข้าใจกันนั้น แท้จริง เป็นความวิบัติ เป็นความเสื่อม ของสังคม ตึกสูงๆ ใน กทม. อาตมาเห็น เป็นเสาสุสาน

เงินกู้จากต่างประเทศ นำมาสร้างถนน สร้างสะพาน เพื่อให้รถ ต่างประเทศวิ่ง โดยหลงว่า นี่คือความเจริญพัฒนา ระหว่างประเทศ แม้ แต่ด้านการศึกษา ก็มีแนวคิด จิตวิญญาณแปรปรวน เอาอย่าง ต่างประเทศ

ผู้บริหารประเทศ ที่ไปร่ำเรียน มาจากต่างประเทศ แม้แต่ด้านศาสนา ก็มีแนวคิด อย่างต่างประเทศ มีลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข มีตำแหน่งต่างๆ แย่งกัน

พระพุทธเจ้า เป็นตัวอย่าง ของการทิ้ง ไม่ล่าลาภยศ สรรเสริญ โลกียสุข มาให้แก่ ตนเองเลย แล้วท่านก็ทำงานเสียสละ สร้างสรรกับสังคมได้ ท่านยืนยันว่า ความมักน้อยสันโดษ นี่แหละ จะขยัน สร้างสรร เสียสละ ให้สังคมได้มาก อย่างแท้จริง แต่คนยุคนี้ดูแคลน ไม่เชื่อพระพุทธเจ้า เขาไม่เชื่อว่า ยุคนี้จะเป็นไปได้

ศรัทธา และ ปัญญา ของคนยุคนี้ จึงไม่ต่างไปจาก กระแสนิยม ต่างประเทศ

คนยุคนี้ จึงหลงสาระว่า เป็นอสาระ หลงอสาระว่า เป็นสาระ หลงการละเล่นว่า เป็นการจริง เป็นอาชีพ คนทุกวันนี้ จึงกำลังวิบัติ เพราะหลงเห่อ วิ่งเข้าไปหากีฬา ต่างนิยมชมชื่นกัน อย่างเอาเป็น เอาตาย เป็นจริง เป็นจังมากยิ่งกว่า การเพาะปลูก ทำมาหาเลี้ยงปาก เลี้ยงท้อง ของตน "

๑๒.๐๐ น. ขึ้นเรือ ออกเดินทางจากบ้านราชฯ ไปขึ้นรถที่ท่า บ้านคำกลาง เพื่อเดินทาง ไปศีรษะอโศก เนื่องจากมีการประชุม เครือข่ายร่วม ๑,๐๐๐ คน เดิมกำหนดหมายให้ คุณนิติภูมิ มาพูดกับชาวบ้าน ในแนวทางสหกรณ์ กู้วิกฤติ เมื่อคุณนิติภูมิ ป่วยกะทันหัน พ่อท่านเห็นว่า คนจำนวนมาก นัดหมายกันมาแล้ว พ่อท่านเอง ควรไปพูดแทน จึงจะสมควรกว่า ให้ผู้อื่น แม้จะต้อง เหน็ดเหนื่อยเพิ่มขึ้น ก็จำเป็น

การพูดคุย ตอบคำซักถามชาวบ้าน กลุ่มเครือข่าย ศีรษะอโศก ใช้เวลาเกือบ ๓ ชั่วโมงกว่า จะกลับถึงบ้านราชฯ ก็เป็นเวลา ๑๙.๐๐ น.

เกร็ดเล็กๆ ในวันนี้ พ่อท่านปฏิเสธ การร่วมรายการ "ขอคิดด้วยคน " ที่ ม.อ. ซึ่งจะปรากฏ กับสังคมวงกว้าง ทั่วประเทศ มาร่วมให้ความรู้ กับชาวบ้าน เครือข่าย ศีรษะอโศกแทน เนื่องจากเวลาตรงกัน แสดงว่า พ่อท่าน เลือกทำงาน กับชาวบ้าน ที่มีตัวจริง ตัวทำให้สังคม มากกว่า เลือกทำงาน ให้ความรู้วงกว้าง โดยไม่สนใจ หาเสียง ทำตนให้ เป็นข่าว เช่น นักการเมืองหลายคน นิยมทำ

๑๒ ก.ย. ๒๕๔๓ ที่ราชธานีอโศก ทำวัตรเช้านี้ พ่อท่านแสดงธรรม อธิบายโพชฌงค์ สัมมาทิฐิ ในมรรคองค์ ๘ ซึ่งต่างไปจาก สัมมาทิฐิ ในองค์ธรรม ๖ และ อธิบาย การปฏิบัติ โพชฌงค์ ๓ สติ วิริยะ ธัมมวิจัย จะทำให้เกิด ฌานลืมตา นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึง คัมภีร์วิสุทธิมรรค ที่ชาวพุทธ ในไทยยกย่อง เป็นตำราสำคัญ ชิ้นหนึ่งว่า

"...ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์นั้น ทำให้พุทธศาสนา ในไทย เพี้ยนไปเยอะ เพราะหนักไปทาง ฤาษีออกป่า... "

ก่อนฉัน น.พ.นิพนธ์ ตันติวัชระพงศ์ สมาชิกวุฒิสภา ของ จ.อุบลราชธานี ได้มาบรรยายเรื่อง "การเมือง จะช่วยกู้วิกฤติชาติ ได้อย่างไร " หลังบรรยายเสร็จ คุณหมอ และภรรยาเข้ามา กราบนมัสการพ่อท่าน และ รับ ของชำร่วย ดูมีอัธยาศัย ที่ดีต่อกันอยู่

หลังฉัน คุณไฟงาน นิมนต์พ่อท่าน และ ปัจฉาสมณะ พายเรือ เพื่อถ่ายภาพ

๑๓ ก.พ. ๒๕๔๓ ที่ราชธานีอโศก ฝนตกไฟฟ้าดับ ไม่มีทำวัตรเช้า บิณฑบาตเช้านี้ เป็นครั้งแรก ในชีวิต ของพ่อท่าน ที่พายเรือ รับบิณฑบาต จากญาติโยม บ้านราชฯ และ ผู้ที่มาร่วมงาน ได้บรรยากาศดีมาก คนใส่บาตร ตามหลังคาบ้าน ที่น้ำท่วม เกือบถึงชั้น ๒ ที่พายเรือ ตามมาใส่บาตร กลางน้ำก็มี แขกที่มาส่วนใหญ่ ก็รอใส่บาตร กันที่แพ เป็นครั้งแรกในชีวิต ของข้าพเจ้า เช่นกัน ที่นั่งเรือ รับบิณฑบาต ข้าพเจ้า นั่งตรงกลาง พ่อท่าน และ สมณะชัดแจ้ง วิจักขโณ พายเรือ ได้คล่องแคล่ว นั่งหัว และ ท้าย ข้าพเจ้าสบาย นั่งเฉยๆ ไม่ต้องพาย จึงถูกแซวว่า เหมือนองค์ชาย รู้อยู่ว่า เขาแซว แต่ก็เจ็บลึกๆ พิกล

๑๕.๐๐ น. คุณน่านไท อ.อำนวย นำคณะสภาพัฒน์ และ กาชาดจังหวัด อุบลราชธานี มาพบพูดคุย กับพ่อท่าน ขณะที่รายการ กีฬาทางน้ำ เป็นไปด้วย ความรื่นเริง สนุกสนาน คณะกลองยาว จากปฐมอโศก ร้องรำทำเพลง อย่างครึกครื้น

๑๕ ก.ย. ๒๕๔๓ ที่ราชธานีอโศก ช่วงมีรายการกีฬาทางน้ำ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ นายศิวะ แสงมณี และ คณะติดตาม เดินทางมาเยือน บ้านราชฯ อยู่พูดคุยกับพ่อท่าน ครู่ใหญ่ ก่อนขอตัว ไปเยี่ยมเยือน ที่อื่นต่อ ท่านศิวะกล่าวชมว่า ที่อื่นน้ำท่วมอย่างนี้ จะเหงาเศร้า แต่มาที่นี่มี แต่คนยิ้มแย้ม เบิกบาน

๑๖ ก.ย. ๒๕๔๓ ที่ราชธานีอโศก ทำวัตรเช้านี้ พ่อท่านแสดงธรรม แบ่งเป็น ๓ ช่วง ๑.ธรรม ๒.การเมือง ๓.ตอบปัญหา

เมื่อกล่าวถึงการมาเยือน ของอธิบดีกรมราชทัณฑ์ นายศิวะ แสงมณี "...การมาเยี่ยมเยือน ของอธิบดีกรมราชทัณฑ์ อย่างไปรเวท เมื่อวาน ถือเป็น การกระทำ ตามหลักสาราณียธรรมที่ดี มีความระลึกถึงกัน รักกัน เคารพกัน ช่วยเหลือกัน ไม่ใช่มาหาที่เราเท่านั้น คุณศิวะ ก็ได้ไปเยี่ยมเยือน หลายวัด... "

เมื่อพูดถึงการเช็คศีล พ่อท่านสะท้อน มุมมองซับซ้อน ละเอียด ที่พวกเราหลายคน คาดไม่ถึง เพราะการตรวจเช็คศีล ทุกวัน ก็น่าจะดีกว่า นานๆ ทำที และ พวกเรา เน้นการ เป็นกระบวนการกลุ่ม เน้นความ เป็นองค์รวม มากกว่า ส่วนตัวอยู่แล้ว ดังนั้น การตรวจเช็คศีลทุกวัน ร่วมๆ กัน ก็น่าจะดี ฝ่ายการศึกษา ของสีมาอโศก และ ราชธานีอโศก ก็ทำกันอย่างนี้ แต่วันนี้พ่อท่าน สะท้อนมุมมอง เป็นอีกอย่าง ที่น่าใคร่ครวญ อย่างยิ่ง ดังนี้

"เรื่องการเช็คศีล ของพวกเราทุกวันนี้ เคร่งเช็คศีล มากเกินไป ทำกันทุกวัน ต่อหน้าคน จำนวนมาก ทำกันจนเป็น สีลัพพตุปาทาน การเช็คศีล ต่อหน้าคน จำนวนมากๆ อย่างนี้ทุกๆ วัน บรรลัย เท่ากับ เป็นการประจานกัน เมื่อทำผิดทุกวัน ก็ประจานกันทุกวัน หนักเข้า ก็กลายเป็นด้านชา ตัวสำนึกผิด อ่อนน้อม ถ่อมตน ก็ไม่เกิด โดยจริง คนเราทำผิด ไม่ใช่จะแก้กันได้ง่ายๆ เมื่อทำกันอย่างนี้ทุกวัน ก็เท่ากับ เป็นสีลัพพตุปาทาน

การตรวจเช็คศีล โดยถูกบังคับให้มาทำ โดยใจ ของผู้นั้น ไม่อยากทำ ก็อย่าทำเลย

การเช็คศีล คือ การสำนึกว่า เราได้ทำผิดอะไร แล้วมีสำนึก ปรับปรุงตนเอง คนที่จะมาเช็คศีล ก็ต้องมีความตั้งใจ มีสำนึกจริงๆ สังวรจริงๆ ขนาดพระพุทธเจ้า ก็ยังกำหนด ให้เช็คศีล วันลงปาติโมกข์ ๑๕ วัน/ครั้ง มิใช่ทำกันทุกวัน พร่ำเพรื่อ แต่ โดยส่วนตัว ควรจะต้อง เช็คศีล ทุกขณะ "

วันนี้ หมอพจน์ บุญศรี อุตส่าห์เดินทาง โดยเครื่องบิน มาบ้านราชฯ เป็นที่น่าอัศจรรย์มาก ปกติหมอจะอยู่ แต่ในบ้าน ไม่ยอมไปไหนง่ายๆ โดยเฉพาะ บ้านราชฯ ในภาวะน้ำท่วมอย่างนี้ แต่ด้วยความ เป็นห่วง สุขภาพพ่อท่าน จึงสู้อุตส่าห์ เดินทางมา ค่ำหมอพจน์ ตรวจสุขภาพพ่อท่าน โดยรวม และ เอ่ยปากชมว่า พ่อท่านแข็งแรงดี

๑๗ ก.ย.๒๕๔๓ ที่ราชธานีอโศก วันสุดท้ายของงาน "ฉลองน้ำ " ที่บ้านราชฯ ไม่มีกิจกรรมใดๆ เน้นไปที่ท่าน้ำ หมู่บ้านคำกลาง ลากเรือเวทีไป เพื่อแสดง ในตอนค่ำ ขนย้ายอาหาร และ อุปกรณ์ประกอบอาหาร เพื่อเลี้ยงตอบแทน ความเอื้อเฟื้อ และ น้ำใจ ของชาวบ้านคำกลาง ด้วยดีต่อชาวบ้านราชฯ ตลอดมา โดยเฉพาะ ช่วงน้ำท่วมนี้

พ่อท่านได้แสดงธรรมก่อนฉัน สรุปงาน "ฉลองน้ำ "อย่างน่าติดตามศึกษา ดังนี้

"การเกิด ของพระพุทธเจ้า จะมีสิ่งมหัศจรรย์เกิด อาตมา เป็นโพธิสัตว์ ก็จะมีสิ่ง มหัศจรรย์เกิดบ้าง ตามบุญบารมี ของอาตมา อย่างงานฉลองน้ำ หลายคน พูดตรงกัน อัศจรรย์กับน้ำขึ้น น้ำลงพอดี ในช่วงที่อาตมา ดำริจัดงาน ฉลองน้ำพอดี อาตมา บอกได้ว่า เป็นเรื่อง ของกรรม

ทุกอย่างมีมา แต่เหตุ มิใช่เรื่องลึกลับ พลังงานทางนามธรรม และ รูปธรรมมันมี

อาตมาก็มีอนาคตังสญาณ พูดนำนิดหน่อย หลายคนก็งงๆ

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ล้วน เป็นเหตุปัจจัย ของโจทย์ให้เราได้ฝึก ปฏิบัติธรรม ไม่ว่า จะเป็นเรื่อง ของดินน้ำลมไฟ หรือ ตัวบุคคลก็ตาม ผู้ฉลาด ก็จะเอาประโยชน์ จากทุกเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นได้... "

นอกจากนี้ พ่อท่านยังได้สรุปผล ที่เกิดขึ้นจากงาน "ฉลองน้ำ" ๙ วัน ๙ คืน อย่างน่าทบทวน พิสูจน์ตาม ดังนี้

"งานนี้ ได้พิสูจน์อะไรมากมาย

๑.พิสูจน์คน เป็นการทดสอบคน ทั้งภายนอก และ ญาติธรรมว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์ น้ำท่วมอย่างนี้ ใครจะแสดงออกอย่างไร พวกเราจะมี มนุษยสัมพันธ์ ได้อย่างไร แทนที่เราจะเศร้าโศก อับเฉา เศร้าซึม หวั่นกลัว อย่างที่เขาเป็น เมื่อน้ำท่วม แต่พวกเรา กลับเบิกบาน ร่าเริง สนุกสนาน มีการจัดงาน ฉลองกัน อย่างรื่นเริง ซึ่งเราอยู่เหนือธรรมชาติ ยืนยันโลกุตระ ที่อยู่เหนือธรรมชาติได้

๒.พิสูจน์ความสามัคคี ว่า พวกเราจะจัดสรร ความ เป็นอยู่ และ ระบบ กันได้อย่างไร เพราะมีงานด้วย ต้องรับแขกด้วย ถ้าเราไม่สามัคคีกัน ก็ไปได้ยาก จะได้เห็นความสามัคคีว่า แน่แค่ไหน กว้างปานใด ลึกซึ้ง อบอุ่นอย่างไร

๓.พิสูจน์ระบบบุญนิยม และ สาธารณโภคี ว่า พวกเรา เป็นแล้ว ถึงจิตวิญญาณ หรือไม่ เพราะที่อื่น เขาน้ำท่วม อดอยาก ต้องรอเพียงแค่ ถุงยังชีพ จากทางรัฐ มาช่วยเหลือ แต่ของพวกเรา พี่น้องต่างขน เอาพืชผักผลไม้ อาหารแห้ง มาให้ อย่างมากมาย กินกัน จนอิ่มหนำ สำราญถ้วนทั่ว อยู่กันอย่าง สะดวกสบาย จนเผื่อแผ่ ไปยังบ้านอื่นได้

๔.พิสูจน์ระบบสังคมศาสตร์ ว่า พวกเราเองชัดเจน เรามีพลังจริงๆ ที่สามารถ เป็นได้ เมื่อน้ำท่วม พวกเรายืนหยัด ไม่หนีไปไหน ไม่ต้องอดทน ต่ออะไรเลย อยู่กับภาวะ น้ำท่วม ได้อย่างปกติ โดยไม่ต้องฝืน เรารื่นเริง เบิกบาน อยู่กันอย่าง ภราดรภาพ และ ได้รับความช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน จากพี่ๆ น้องๆ แต่ละพุทธสถาน และ จากญาติธรรม เป็นชุมชนเข้มแข็ง ที่แสนอบอุ่น

๕. เป็นแบบอย่างทางออก ของการแก้วิกฤติธรรมชาติ ให้ เป็นวิวัฒน์พัฒนา ความ เป็นสังคมบุญนิยม หรือ การปรับขบวนท่า ของความเป็นอยู่ เมื่อมีวิกฤติ ให้มีผลดี"

ก่อนค่ำ พ่อท่าน สมณะชัดแจ้ง วิจักขโณ และ ข้าพเจ้า พายเรือไปที่ ท่าบ้านคำกลาง เพื่อร่วมดูบรรยากาศ งานเลี้ยงฉลอง ขอบคุณ ชาวบ้านคำกลาง เรือเวที เรือสำราญ และ เรือเล็กเรือน้อย ติดไฟระยิบระยับ ชาวบ้าน มาร่วมกันคึกคัก ทั้งรับประทาน อาหาร และ ร่วมร้องเพลง ดูสร้างความสัมพันธ์ กับชาวบ้าน คำกลางได้ดี การแสดงดนตรีโปงลาง ของศีรษะอโศก ก็ดึงดูดความสนใจไม่น้อย งานเลี้ยงฉลอง เลิกเอาสามทุ่มเศษ พ่อท่าน และ ปัจฉาสมณะ พายเรือ

กลับที่พัก ก่อนงานเลิกเล็กน้อย

๑๘ ก.ย. ๒๕๔๓ ที่ราชธานีอโศก ก่อนฉัน มีการประชุมแบ่งงาน ในเทศกาลเจ (๒๗ ก.ย. - ๕ ต.ค.) เมื่อมีผู้เสนอ การขอทุน จากกองทุน SIF โดยหาสมาชิก ในเทศกาลเจ ใช้ชื่อ ชุมชนกู้วิกฤติ ยามน้ำท่วม

พ่อท่านไม่เห็นด้วย "การจะขอกองทุน SIF มาหาสมาชิกในเทศกาลเจ โดยใช้ชื่อ ชุมชนกู้วิกฤติ ยามน้ำท่วมนั้น อย่าทำเลย มันน่าอาย เหมือนพวกเรารู้มาก หาช่องทาง ที่จะเอาทุน จากกองทุน SIF ตลอด "

ต่อมาพ่อท่านพูดถึงบรรยากาศ งานเลี้ยง ชาวบ้านคำกลางว่า "บรรยากาศ เมื่อคืนที่บ้านคำกลาง ผู้ใหญ่บ้าน เขารู้สึก เกรงขามพวกเรา เขาบอกว่า เขายังกินเหล้า พวกเจ้าไม่มีผู้ใดกินเลย ก็เลยอาย ไม่กล้ามาร่วม เป็นเรื่องที่ดูดี เป็นความสัมพันธ์ที่อบอุ่น เป็นบทบาท ของพวกเรา ที่จะดำเนินไปในสังคม เท่ากับพวกเรา ได้เรียนรู้ สังคมศาสตร์ ที่มีผลกระทบ แล้วเราก็เกิดการเรียนรู้ ปรับตัวไป ในอนาคต จะมีคนนอก ที่มีเล่ห์เหลี่ยม เข้ามาสอดแทรก สัมพันธ์กับเรา มากขึ้น

เราควรเอาการอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่เบ่งข่มมีมานะ ตอบรับกับผัสสะ ที่จะเกิดขึ้น จากการร่วมสัมพันธ์ กับสังคม... "

๑๔.๐๐ น. ที่เรือ "เซาอย่าหยุด " (แปลว่า ไม่พักไม่เพียร) พ่อท่านร่วมประชุม ฝ่ายการศึกษา สส.ธ. มีทั้งสมณะสิกขมาตุ และ อาครู จากบางส่วน ที่พ่อท่าน กล่าวกับ ฝ่ายการศึกษา ของบ้านราชฯ ว่า

"...อาตมาเห็นพัฒนาการ ของที่นี่ ไม่เลวร้ายหรอก ก็พอเป็นไป ดูดี แต่ใจของเราร้อน เพราะเรารู้ ที่ดีกว่านี้ เด็ก ของเรา ก็พอออกแขกได้ หากเปรียบกับ โรงเรียนทั่วไป ของเรายังดีกว่าเยอะ จึงอย่าใจร้อนเกินการณ์ อาตมาก็ พยายามดูๆ อยู่

แนวการศึกษา ของเราก็ไม่เหมือนข้างนอก จึงดูประดักประเดิดบ้าง การศึกษาที่ อาตมาหมายคือ การพัฒนาตน ให้ช่วยตนเองได้ แล้วก็ช่วยผู้อื่นได้ นี่คือการศึกษา ที่มีประสิทธิภาพ

การศึกษาที่มีอยู่ โดยโลกย์ เป็นการศึกษา เพื่อตนจะได้ มีเปรียบเขา จึงล้มเหลว ทั่วโลก คนจบการศึกษาแล้ว จึงไม่มีใคร คิดจะช่วยโลก จริงๆ ๑% ก็อาจไม่ถึง ซึ่งล้วน เป็นวิธีการ และ แนวคิด อย่างทุนนิยม จบแล้ว ก็ทำงาน รับเงินเดือน ให้ได้มากๆ ทำน้อยๆ เหนื่อยน้อยๆ ยิ่งชอบ และ แข่งกันแย่งกัน เป็นอย่างนั้น ครูชนบท มีรถปิ๊กอัพ แต่งตัวโก้หรูกว่า ใครๆ ในหมู่บ้าน มีค่านิยม อย่างสังคมเมือง พยายามทำตัวเอง ให้เป็นอย่างสังคมตะวันตก มากขึ้นเรื่อยๆ

แต่การศึกษาของเรา ยิ่งเรียนรู้ ยิ่งไม่เห็นแก่ตัว หากจะไม่รู้ภาษาอังกฤษเลย ก็ช่างหัวมัน

โรงเรียน ของเรา ในแต่ละถิ่นที่ ก็จะมีความต่างกันได้ ทำอย่างไร จึงจะทำให้คน เป็นประโยชน์ต่อสังคมมนุษยชาติได้ นี่คือเรื่องหลักๆ "

๑๙ - ๒๓ ก.ย. ๒๕๔๓ พ่อท่าน และ สมณะเดินดิน ติกขวีโร สัตตาหกรณียะ เดินทางไปสันติอโศก สมณะชัดแจ้ง วิจักขโณ และ ข้าพเจ้า ยังคงอยู่จำพรรษา ที่ราชธานีอโศก

๒ ก.ย. ๒๕๔๓ ที่สันติอโศก พ่อท่านพบฝ่ายการศึกษา สส.สอ.ทั้งสมณะสิกขมาตุ และ อาครู ใช้เวลาเกือบ ๓ ชั่วโมง ต่อด้วยคณะ จากสีมาอโศก เกือบ ๒ ชั่วโมง ข้าพเจ้าไม่ได้อยู่ร่วม บรรยากาศ ประชุมด้วย แต่มีผู้เอื้อเฟื้อ ส่งเท็ปให้ฟัง จากบางส่วน ที่พ่อท่าน พบฝ่ายการศึกษา สส.สอ.ที่น่าสนใจ ดังนี้

เมื่อพ่อท่านเกริ่นนำ ด้วยการ เน้นความสำคัญ ของเกษตรกรรม เป็นงานอันดับหนึ่ง ของมนุษยชาติ เพราะเกษตร หรือ กสิกรรม เป็นเรื่อง ของอาหาร เครื่องกินเครื่องใช้ แล้วก็ตำหนิการเงิน เป็นเรื่องเลวร้าย

"...การเงินนี่ เป็นงานชั้นเลว ชั้นต่ำที่สุด สังคมทุกวันนี้ เดือดร้อนเรื่องการเงิน เอาการเงินมาเปรียบ ค่าราคาทั่วโลก เล่นแง่ เล่นเชิง คิดซับซ้อน ทำให้ เป็นอิทธิพล ต่อสังคม ประเทศไทย เดี๋ยวนี้ก็เดือดร้อนเรื่องการเงิน ไปกู้เงินดอลลาร์ จากไอเอ็มเอฟ ในขณะกู้ สมมุติว่า ดอลลาร์หนึ่ง ประมาณ ๓๐ บาท มาถึงวันนี้ เล่นค่าการเงิน อัตราเงินดอลลาร์ขึ้นไป ๔๒ บาทต่อดอลลาร์ เล่นกันอย่างนี้ สังคมก็เดือดร้อน วุ่นวาย ทุกวันนี้ อเมริกาปั๊มกระดาษเท่านั้น เองมาขาย แล้วเอ็งก็ เป็นหนี้ข้านะ ไม่มีทองคำรองรับ สังคมถูกครอบงำ ด้วยอำนาจ หรือ ว่า ฤทธิ์แรง อันนี้ในสังคม เป็นเรื่องเหลวไหลที่สุด ถ้าจะพูดเรื่อง สังคมมนุษยชาติ "

ประเด็นที่น่าสนใจต่อมา เมื่อพ่อท่านวิเคราะห์ เปรียบเทียบ เกษตร หรือ กสิกรรม กับ วิทยาศาสตร์ ในแง่ของ จริตนิสัย ที่ในหมู่ ผู้ปฏิบัติธรรม พวกเราเอง ก็มีสองลักษณะนี้

"เกษตร หรือ กสิกรรมนี่ เป็นความรู้สึก ของผู้สร้าง ส่วนวิทยาศาสตร์ เป็นพวก ค้นหา หาได้แล้วก็หาใหม่อีก ที่มีจริต เป็นเกษตรนี่ สร้างขึ้นมา ให้แก่โลกอย่างเดียว ไม่มีอะไร มีหนึ่งก็สร้างหนึ่ง สร้างหนึ่งๆ ๆ ๆ ให้โลก แต่วิทยาศาสตร์ ไม่เคยหยุด ที่หนึ่งเลย พอรู้หนึ่ง แล้วหาสอง พอรู้สองหาสาม พอรู้สามหาสี่ ไปเรื่อยๆ มัน เป็นจริตชนิดหนึ่ง ของมนุษย์ ก็ให้รู้ว่า มันมีประโยชน์ ทั้งสองอย่าง ทั้งสองอย่างนี้ ต้องพึ่งพา อาศัยกัน ฉะนั้น วิทยาศาสตร์ จะต้องชะลอ มาหาเกษตร เกษตรก็ควร จะมีการพัฒนา มีใหม่เพิ่มขึ้นบ้าง ดึงถ่วงกันอย่างนี้ "

ประเด็นสำคัญอีกอันหนึ่ง ที่พ่อท่านอธิบาย แก้ความหลงผิด ของผู้ที่หมดไฟ ถล่มตนเกินไป และ สำนึกสังวรนั้น ควร เป็นอย่างไร

"ข้อสำคัญ เมื่อหาจุดบกพร่อง ของตนแล้ว อย่าเศร้าหมอง อย่าถล่มตน เกินไป แล้วก็ยึด หมดไฟเลย

วิธีแก้ ก็ต้องมองว่า เราไม่มีดี อะไรเชียวหรือ อาตมาบอกให้เลยว่า ชาวอโศก ไม่มีหรอก ที่ไม่มีดีอะไรเลย

แต่นัยสำคัญ ของศาสนาพุทธนี่ คือ เป็นศาสนาที่มองจุดบกพร่อง เป็นทุกขนิยม มองเหตุแห่งทุกข์ เหตุแห่งความไม่ดี ไม่ได้ เป็นสุขนิยม ที่มอง แต่จุดดีๆ ๆ จุดไม่ด ีไม่เคยดูเลย เลยสะสมจุดไม่ดี สุขนิยม จะเบิกบาน ร่าเริงดี แต่มันไม่ได้แก้ไข

ศาสนาพุทธ จึงมองในจุดที่ไม่ดี ของตัวเอง ลึกเข้าไปเรื่อยๆ พอมองมากๆ เข้า ก็เลยไม่มีความเบิกบาน ร่าเริง ไม่ตรวจสอบดี ของตัวเอง ลืมไปว่า ตัวเองมีดี เลยหลงผิดไปว่า ตัวเองมีแต่ชั่ว เลยกลายเป็นเศร้าหมอง ทำให้ไม่แกล้วกล้า อาจหาญ ไม่แข็งแรงสุดโต่งไป เราต้องตรวจส่วนดี ตามความเป็นจริง เราก็มีดี อยู่บ้าง แล้วก็เบิกบาน ทำดีไปต่อ อย่าไปดูถูกตัวเอง จนเกินไป แต่ก็สำนึกตัวเอง บกพร่อง มีจุดด้อย ที่จะต้องแก้ไข สำนึกสังวร รู้สึกตัว ก็เป็นการถ่อมตน ไม่ถึงกับ ถล่มตน เป็นการอ่อนน้อม ถ่อมตนอยู่ในที เพราะเราสำนึกว่า เรามีจุดด้อย ส่วนดีเราก็ดี แข็งแรง เบิกบาน มันจะถัวกัน ทำให้เรามีกำลัง "

เสร็จจากการพบฝ่ายการศึกษา สส.สอ. คณะจากสีมาอโศก เข้าพบพ่อท่านต่อ เรื่องที่แจ้ง การผลิต ขวดพลาสติก ผลิตภัณฑ์ ชาวอโศก สามารถทำได้ เดือนละ ๑๐๐,๐๐๐ ขวด ส่วนเรื่องหมู่บ้าน ไม่ผ่าน อบต. เขาบอก ยังไม่ได้ใจเขา สีมาอโศก ยังไม่ได้สัมพันธ์อะไร กับเขาเลย อยู่ๆ ก็จะมาขอ เป็นหมู่บ้าน เขาว่า เขายังไม่รู้จัก พวกเราพอ แม้ว่า รองผู้ว่า ฯ นายอำเภอ จะสนับสนุนอย่างไร อบต. ก็ยังไม่อนุญาตให้ผ่าน พวกเราสันนิษฐานว่า เขาคงเกรงว่า งบประมาณตำบล จะต้องถูกแบ่ง

พ่อท่านให้นโยบาย สัมพันธ์กับเขาได้ แต่ไม่ง้องอน เขาจะไม่ให้ เป็นหมู่บ้าน ก็ไม่เป็นไร

สีมาอโศกปีนี้ พัฒนาตัวเอง เป็นชุมชนที่พึ่งตนเองได้ นักเรียนก็ดู เป็นรูป เป็นร่าง ขึ้นมา แม้ว่า จะไม่ผ่านการ เป็นหมู่บ้าน ในครั้งนี้ ก็รอดูว่า จะยื่นดี หรือ ไม่ยื่นดี หรือ ให้ทางโน้นมาชักชวน เพราะแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และ สังคมแห่งชาติ แผน ๙ ก็ออกมาเรื่องชุมชน

"อาตมากล้ากล่าวได้เลยว่า ชุมชนอื่นๆ ไหนๆ นี่นะระวัง จะวิ่งให้ทันเรา คงจะยาก อยู่เอาการ เพราะว่า เราทำมาก่อน นานแล้ว ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น ก็คือ เราทำถึง จิตวิญญาณ คนของเรา ได้รับการพัฒนา ทางจิตวิญญาณมา เป็นรากฐาน ปัญญาเข้าใจ ทำด้วยความเต็มใจ ไม่ได้มีอะไรล่อหลอก ซึ่งไม่ใช่งานง่าย งานที่จะละกิเลส แล้วเกิดมา เป็นชุมชน เป็นสังคม บุญนิยม มาเป็นแบบนี้ได้

จุดที่จะก้าวไปพึ่งตนเอง มีงานการ ของตัวเอง รวมกันแล้ว แล้วไม่ต้องกลัวว่า จะมีปัญหา เพราะปัญหา จะไม่มีทางหมด ไม่ว่า โลกแตกไปอีกร้อยลูก มันก็ต้อง มีปัญหา ในชุมชนแน่นอน เป็นแต่เพียงว่า ปัญหานั้น ทำให้ก้าวหน้า ได้หรือไม่

ปัญหาที่เกิด มีปัจจัยหลายอย่าง จริตพวกเรา ไม่เหมือนกัน กิเลสของเรา ไม่เท่ากัน แม้แต่ร่างกาย ความชำนาญ ก็ไม่เหมือนกัน ไม่เท่าเทียมกัน ไม่มีอะไรเสมอ หรือ เท่ากันเหมือนกัน ไปหมดหรอก เก่งกว่ากัน ดีกว่ากัน ชำนาญกว่ากัน เป็นคนสุภาพ กว่ากัน เป็นคนแข็งกระด้างกว่ากัน บางคนไม่อยากกระด้างนะ แต่มันเป็นมากี่ชาติ ก็ไม่รู้

ข้อสำคัญ เราอยู่รวมกัน โดยเข้าใจว่า มันตัองมีปัญหา แต่ปัญหาไม่ทำให้เสียผล ไม่ว่าจะด้านไหนๆ ถ้าไม่โง่ จนสามารถ จัดการกับมัน ปัญหานั้น ทำให้เกิดปัญญา ให้เกิด การพัฒนาด้วยซ้ำ เหมือนแรงงานทด แรงต้าน resistance มันจะมีพลัง สูงกว่าเก่า ในลักษณะ ของวิศวกรรม ฉะนั้น ถ้าเรามีปัญหา แล้วปัญหา ทำให้เรามีแรงงาน สูงขึ้นกว่าเก่า อย่างนี้ คือ ความฉลาด คือความเจริญได้แน่นอน "

ช่วงปลายเดือน มีงานเทศกาลเจ (๒๗ ก.ย. - ๕ ต.ค.) ชาวบ้านราชฯเมืองเรือ ระดมกำลังกัน ไปช่วยขายอาหาร ที่อุทยานบุญนิยม โดยมีผู้ว่าราชการ จ.อุบลราชธานี นายเรืองฤทธิ์ มกรพงษ์ ให้เกียรติ มาเป็นประธาน กล่าวเปิด

ชาวอุบลฯ ให้การอุดหนุน อย่างคึกคัก ยอดขายอาหาร กว่าแสนบาท แทบทุกวัน ทั้งๆ ที่ราคาเพียง จานละ ๑๐ - ๑๒ บาท และ ฝนตกบ่อย

สมณะ สิกขมาตุ บางส่วน ไปร่วมประชุม สรุปงาน ฟังปัญหา แก้ปัญหาทุกวัน หลังปิดร้าน พ่อท่านเพียงแค่ รับรู้รับฟัง ไม่ได้ลงไปร่วม ดำเนินการใดๆ พวกเรา ช่วยกันคิด ช่วยกันทำได้ พ่อท่านมีงาน ทำหนังสือ EQ โลกุตระ เป็นหลัก ตลอดช่วง เทศกาลกินเจ พ่อท่าน จึงไปแวะดูบรรยากาศ ที่อุทยานบุญนิยมเพียง ๒ ครั้ง ตอนสัตตาหะ ไปสันติอโศก ๒๙ ก.ค. และ ขากลับจากสันติอโศก ๕ ต.ค. จึงได้แวะ เนื่องจาก เป็นทางผ่าน อยู่ใกล้สนามบิน

 

อนุจร ๒๖ ต.ค.๒๕๔๓

 

end of column
หน้าแรก หน้าต่อไป