ดิน
ที่มีปัญหา
ดิน ที่ใช้ทำการเพาะปลูกทั่วไป
ของประเทศไทยส่วนใหญ่ มักจะขาด ความอุดม
สมบูรณ์ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ โครงสร้าง ของดินไม่ดี
แน่นทึบ ไม่อุ้มน้ำ
มีจุลินทรีย์ ในดินน้อย เนื่องจากสภาพ ที่ไม่เหมาะสม
ทั้งนี้ อันเนื่อง
มาจากได้ใช้ดิน เพื่อการเพาะปลูก อย่าง ต่อเนื่อง โดยขาดการปรับปรุง
และ
บำรุงรักษา การทำการเกษตรกรรม ที่ไม่เหมาะสม ใช้ ที่ดินผิดประเภท
ตลอดจนแหล่งกำเนิด ของดินเอง เช่น ดินทราย ดินลูกรัง
ดินเปรี้ยว ดินเค็ม
ดินด่าง เป็นต้น ทำให้ขาดความสมดุล ในด้านสมบัติทางเคมี
กายภาพ และ
ชีวภาพ จำเป็นต้องทำการปรับปรุง และ หาทางแก้ไข เพื่อให้เกิดประโยชน์
ในการใช้ เพื่อการเพาะปลูก ต่อไป ต่อไปนี้ขอแนะนำให้ท่านทราบถึงดิน
ที่มีปัญหาชนิดต่างๆ ในประเทศไทย ซึ่งต้องหาทางปรับปรุงให้กลับมาใช้
ประโยชน์ได้ ซึ่งจากการสำรวจ ของกรมพัฒนา ที่ดินพบว่า
ทรัพยากรดิน
ของประเทศไทย มีปัญหาด้านกายภาพหรือด้านคุณภาพ ซึ่งจำแนกได้ดัง
ต่อไปนี้
1. ปัญหาความอุดมสมบูรณ์
ของดินต่ำ และ เสื่อมลง จากรายงาน
การสำรวจ และ จำแนกชนิดดิน ของกรมพัฒนาที่ดิน ที่ดำเนินการ
ในจังหวัด
ต่างๆ ของประเทศไทยพบว่า ดินส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
โดยธรรมชาติ
ทั้งนี้เนื่องจาก ประเทศตั้งอยู่ ในเขตศูนย์สูตร อุณหภูมิสูง
และ มีปริมาณฝนตก
มาก การสลายตัว ของหินแร่ ที่เป็นวัตถุต้นกำเนิด ของดินเป็นไป
อย่างรวดเร็ว
และ มีการชะล้างแร่ธาตุอาหารพืช ออกไปจากดิน ในอัตรสูง
ในช่วง ฤดูฝน
ถูกพัดพาไป กับน้ำ ที่ไหลลงสู่ ที่ต่ำ ได้ แก่ แม่น้ำลำคลอง
และ ลงสู่ทะเล
ในที่สุดจากการสลายตัว ของหินแร่ ในดินดำเนินไป อย่างมาก
และ รวดเร็วนี้เอง
ทำให้ดิน ในประเทศไทย ส่วนใหญ่ ประกอบไปด้วย แร่ดินเหนียว
เคโอลิไนท์
(Kaolinite) แร่เหล็ก และ อลูมินัมออกไซด์ (hydrous
oxide clay) ซึ่งแร่
ดินเหนียว พวกนี้มีบทบาท ในการดูดซับแร่ธาตุอาหาร และ
การเปลี่ยน
ประจุบวกต่ำ (low activity clay) จึงทำให้ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน
ตามธรรมชาติต่ำด้วย
2. ดินที่มีปัญหาพิเศษ
(problem soils) จากการสำรวจ และ ทำแผนที่ดิน
ของ กรมพัฒนาที่ดินพบว่ามีดินบางชนิดที่มีสมบัติทางกายภาพ
และ ทางเคมี
เป็นอุปสรรคหรือข้อกำจัด ในการใช้ประโยชน์ ในการเกษตร
โดยเฉพาะ
การเพาะปลูกพืช จำเป็นต้องมีการพัฒนาหรือปรับปรุงแก้ไข
เพื่อเพิ่มศักยภาพ
ในการผลิต ของดินเหล่านั้น ดินที่มีปัญหาพิเศษที่กล่าวนี้
พอแยกออกได้ตาม
สภาพ ของปัญหาหรือข้อจำกัด ดัง ต่อไปนี้
2.1 ดินเปรี้ยวจัด
หรือดินกรดกำมะถัน (acid sulphate soils)
เป็นดินที่มีค่า ของความเป็นกรด (pH) ต่ำกว่า 4.0 ตั้ง
แต่ชั้นถัด
จากผิวดินลงไป (sud surface) และ ในชั้นที่มี สารสีเหลือง
ฟางข้าว
เกิดขึ้น (jarosite) ค่า ของ PH อาจลงต่ำถึง 3.5 หรือต่ำกว่า
ถ้าใน
กรณี เช่น นี้ดินไม่สามารถปลูกพืชอะไรขึ้นแม้ แต่ข้าว
จึงมักถูกทอดทิ้ง
ให้เป็น ที่ว่างเปล่า มีหญ้าขึ้นปกคลุม การที่ไม่สามารถปลูกข้าวหรือพืช
อย่างอื่นก็เนื่องจาก มีสารพวกเหล็ก และ อะลูมินัมละลาย
ออกมาเป็น
พิษ ต่อพืช และ ยังทำให้ธาตุ ที่จำเป็น ต่อการเจริญเติบโต
ของพืช
บาง อย่างไม่ละลายมาเป็นประโยชน์ ต่อพืชด้วย โดยเฉพาะ
ธาตุฟอสฟอรัส จะถูกตรึงไว้ (fixation) และ อยู่ในรูป
ที่ไม่เป็น
ประโยชน์ ต่อพืช ดังนั้น จึงถือว่าเป็นดิน ที่มีปัญหาพิเศษ
ที่จะต้อง
ปรับปรุง และ แก้ไขให้เกิดประโยชน์ ในการใช้เพาะปลูกได้
ดินเปรี้ยวจัด
หรือดินกรดกำมะถันทีกล่าว พบมีเนื้อที่ประมาณ 9.0 ล้านไร่
หรือร้อยละ 2.81 ของพื้นที่ประเทศ พบมาก ในที่ราบภาคกลางตอนใต้
ภาคตะวันออก และ ภาคใต้ พบกระจัดกระจาย บริเวณชายฝั่งทะเล
ในสภาพ
พื้นที่ ที่น้ำทะเลเคยท่วมถึงมาก่อน
2.2 ดินเค็ม
(saline and sodic soils) เป็นดิน ที่มีเกลือ
ที่ละลายน้ำได้เป็นองค์ประกอบอยู่สูงจนเป็นอันตราย ต่อพืช
ที่ปลูก ดินเค็ม ที่พบ ในประเทศไทยพบมากที่สุด ในภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ มีเนื้อที่ประมาณ 17 ล้านไร่ หรือร้อยละ
5.5 ของพื้นที่
ทั้งประเทศ นอกจากนี้ยังพบดินเค็มบริเวณชายฝั่งทะเล
(coastal
saline soils) มีเนื้อที่รวมกันแล้วประมาณ 3 ล้านไร่
รวม กับดินเค็ม
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเนื้อที่ถึง 20 ล้านไร่ ซึ่งดินเค็ม
ที่กล่าวนี้
มีศักยภาพ ในการให้ผลผลิตพืช ที่ปลูกต่ำ บางแห่งไม่สามารถปลูกพืช
ได้เลย โดยเฉพาะบริเวณดินเค็ม ที่กล่าว ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ที่มีคราบเกลือ (salt crusts) ปรากฏ ขึ้น ที่ผิวดิน
ในช่วงฤดูแล้ง
ซึ่งแสดงว่าดินเค็มจัด ส่วนดินเค็มชายทะเลมีใช้ประโยชน์
ในการทำนาเกลือ ปลูกผลไม้ โดยการยกร่องเป็นต้นว่า มะพร้าว
และ
ยังคงสภาพป่าชายเลนปกคลุมอยู่ นอกจากนี้ บางพื้นที่ใช้ประโยชน์
ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เช่น กุ้ง หอย ปู และ
ปลา เป็นต้น
2.3 ดินทรายจัด
(sandy soils) ที่พบ ในประเทศไทย พอแบ่งออก
ได้เป็น 2 ประเภท คือ ดินทรายธรรมดา ที่มีเนื้อที่เป็นทรายจัดลงไปลึก
และ ดินทราย ที่มีชั้นดานจับตัวกันแข็ง โดยเหล็ก และ
ฮัวมัส เป็นตัว
เชื่อม เกิดขึ้นภาย ในความลึก 2 เมตร แต่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นต่ำกว่า
1
เมตร จากผิวดินบน ดินทรายทั้ง 2 ประเภทนี้ มีความอุดมสมบูรณ์
ตามธรรมชาติต่ำ และ มีความสามารถ ในการอุ้มน้ำต่ำด้วย
นอกจากนี้
ดินทราย ที่มีชั้นดินดานแข็ง เมื่อน้ำไหลซึมลงไปจะไปแช่ขังอยู่
เพราะ
ชั้นดินดาน ที่กล่าวน้ำซึมผ่านได้ยาก ทำให้เกิดสภาพน้ำขัง
รากพืช
ขาดอากาศ ทำให้ต้นพืช ที่ปลูกชะงักการเจริญเติบโต
ในสภาพปัจจุบัน
ดินทราย จัดมีศักยภาพ ในการผลิตต่ำ และ จำกัด ในการ
เลือกชนิด ของพืช ที่จะนำมาปลูก โดนเฉพาะดินทรายจัด
ในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคเหนือ ในช่วงฤดูแล้งจะแห้งจัด
และ ในช่วง
ที่ทิ้งช่วง ในฤดูฝน ก็จะแห้งเร็ว เช่น เดียวกัน สำหรับดินทรายจัด
ที่พบ
บริเวณชายฝั่งทะเลนั้นมักมีความชื้นสูงกว่า และ สามารถปลูกไม้ผลบางชนิด
ให้ผลอยู่ ในเกณฑ์พอใช้ หรือค่อนข้างดี ในบางพื้นที่
โดยเฉพาะใช้ปลูก
มะพร้าว แต่ อย่างไรก็ตาม ดินทรายจัดก็ยังนับว่าเป็นดิน
ที่มีปัญหา
พิเศษต้องทำการปรับปรุงแก้ไข เป็นต้นว่าด้านความอุดมสมบูรณ์
ความ
สามารถ ในการอุ้มน้ำ ของดิน และ การเลือกชนิด ของพืช
ที่จะนำมาปลูก
2.4 ดินปนกรวด
(skeletal soils) เป็นดิน ที่มีชั้นลูกรัง (laterite
or iron stone) เศษหิน (rock fragment) กรวดกลม (cobble)
และ
เศษหินอื่นๆ เกิดขึ้น ในความลึก 50 เซนติเมตร จากผิวดินบน
และ
ในชั้น ที่มีดินปนกรวดนั้น จะประกอบไปด้วยกรวด และ เศษหินต่างๆ
ที่มีขนาด 2 มิลลิเมตร อยู่มากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ โดยปริมาตร
ชั้นกรวดหินนี้จะเป็นอุปสรรค ต่อการชอนไช ของรากพืช
ทำให้พืช
ชะงักการเจริญเติบโต นอกจากนี้ ดิน ที่มีชั้นกรวดหินอยู่มักเป็นดิน
ที่ขาดความชุ่มชื้น ในดินได้ง่าย และ ปัญหาอีก อย่างหนึ่งก็คือมีข้อจำกัด
ในการเลือกชนิด ของพืชมาปลูกถ้านำมาใช้ปลูกพืชบางชนิด
โดยเฉพาะไม้ยืนต้น ต้องจัดการเป็นพิเศษ ในการเตรียมหลุมปลูก
ดินปนกรวด ที่พบ
ในประเทศไทย มีเนื้อที่ประมาณ 52 ล้านไร่ หรือร้อยละ
16.3 ของพื้นที่ทั้งประเทศพบมาก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และ ภาค
เหนือ ปัจจุบันยังใช้ประโยชน์ ในการเพาะปลูกน้อยปกคลุมด้วยป่าแดงโปร่ง
การที่ใช้ประโยชน์น้อยก็เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่มีชั้นลูกรัง
และ เศษหินอยู่ตื้น
บางแห่งพบ ที่ผิวดินบน เป็นดิน ที่มีศักยภาพ ในการเกตรต่ำ
ควรพัฒนา
เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ซึ่งนับเป็นการใช้ประโยชน์
ที่เหมาะสม ที่สุด สำหรับ
ดินประเภทนี้
2.5 ดินบริเวณพื้นที่พรุ
หรือ ดินอินทรีย์ (organic
soils)
เป็นดิน ที่เกิด ในที่ลุ่มต่ำ (lagoon) มีน้ำเค็ม และ
น้ำกร่อย
จากทะเลเข้าท่วมถึง มีชั้นเศษพืชหรือชั้นอินทรียสาร
ที่สลายตัวดีแล้ว
และ กำลังสลายตัวสะสมกันเป็นชั้นหนตั้ง แต่ 50 เซนติเมตร
ถึง 3 เมตร
หรือหนากว่า เป็นดิน ที่มีศักยภาพเป็นกรดจัด (potential
acidity)
มีสภาพไม่อยู่ตัวขึ้นอยู่ กับระดับน้ำใต้ชั้นอินทรีย์สาร
และ เป็นดิน
ที่ขาดธาตุอาหาร ที่จำเป็น ต่อการเจริญเติบโต ของพืชค่อนข้างรุนแรง
เนื่องจากข้อจำกัด ที่กล่าวนี้เองดินอินทรีย์ จึงนับว่าเป็นดิน
ที่มีปัญหา
พิเศษการพัฒนาหรือปรับปรุงแก้ไขค่อนข้างยาก และ ลงทุนสูง
เมื่อ
เปรียบ กับดิน ที่มีปัญหา อย่างอื่น
ดินอินทรีย์ ที่พบมาก
ในภาคใต้มีพื้นที่รวมกันประมาณ 5 แสนไร่ แต่ที่พบมาก
และ เป็นพื้นที่แปลงใหญ่ ได้ แก่ จังหวัดนราธิวาส มีเนื้อที่ประมาณ
4 แสนไร่
การใช้ประโยชน์มีน้อย จะใช้ ในการปลูกข้าวบริเวณริมๆ
ขอบพรุเท่านั้น
ส่วนใหญ่ ในจังหวัดอื่นๆ ของภาคใต้ และ ภาคตะวันออกพบบ้างเป็นพื้นที่เล็กๆ
และ กระจัดกระจายอยู่ ในบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเล
2.6 ดินเหมืองแร่ร้าง
(Tin mined
tailing lands) ถึงแม้จะพบ
เป็นเนื้อที่ไม่มากนัก เมื่อเปรียบเทียบ กับดิน ที่มีปัญหาพิเศษ
ที่กล่าว
มาแล้ว ส่วนใหญ่พบ ในภาคใต้ โดยเฉพาะ ในจังหวัดพังงา
ภูเก็ต และ
ระนอง มีเนื้อที่รวมกันประมาณ 159,000 ไร่ นอกจากนี้ยังพบ
ใน
ภาคตะวันออก และ ภาคเหนือ ที่มีการทำเหมืองแร่ แต่ยังไม่ได้
ทำการสำรวจหาพื้นที่ว่ามีปริมาณเท่าไร แ ต่ อย่างไรก็ตาม
ดิน
เหมืองแร่ ่ร้างนับว่าเป็นดิน ที่มีปัญหา ต่อการใช้ทางการเกษตรเป็น
อย่างมาก การปรับปรุงแก้ไขหรือการพัฒนาพื้นที่ และ ดินเสื่อม
คุณภาพลง อย่างมาก พื้นที่เป็น ที่ราบขรุขระสูงๆ ต่ำๆ
เนื้อดินมี
หิน ทราย และ กรวดปนอยู่มาก และ มักแยกกันเป็นส่วน ของ
เนื้อดินหยาบปนกรวดทรายส่วนหนึ่ง และ เนื้อดินละเอียดจะไปรวม
อยู่กัน ในที่ต่ำ (slime area) พวกแร่ธาตุอาหารพืชถูกชะล้างออกไป
ในระหว่างขั้นตอนการทำเหมืองแร่ ฉะนั้นความอุดมสมบูรณ์
ของดินเหมืองแร่ร้าง จึงต่ำมาก การปรับปรุงดินเหมืองแร่ร้าง
ต้องคำนึงทั้งการปรับระดับพื้นที่ สมบัติทั้งด้านกายภาพ
และ เคมี
รวมทั้งการเลือกชนิด ของพืชมาปลูกให้เหมาะสมด้วย
3. ปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน
(soil erosion) ที่ทำให้ดิน เสื่อม
โทรม นับว่าเป็นปัญหาสำคัญ อย่างหนึ่ง ในประเทศ และ
จำเป็นต้องมีการ
ป้องกัน และ แก้ไข เพื่อรักษาคุณภาพ ของดินให้เหมาะสม
และ ใช้ประโยชน์
ในระยะเวลายาวนาน การชะล้างพังทลาย ของดิน ในประเทศไทยเกิดขึ้น
ใน
2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ การชะล้างพังทลาย ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
(egologic
erosion) เนื่องจาก ประเทศไทยตั้งอยู่ศูนย์สูตร และ
มีปริมาณฝนตกมาก
ดินบริเวณ ที่ลาดเทจะถูกน้ำฝนกัดกร่อนชะล้างออกไปสู่
ที่ต่ำ เมื่อน้ำฝน
ไหลบ่าบนผิวดิน (run off) ในขณะฝนตก และ หลังฝนตกเกิดขึ้น
ตามธรรมชาติ
จะเกิดขึ้นมากบริเวณ ที่เป็นภูเขามีความลาดเท ของพื้นที่สูง
และ มีป่าไม้ คลุม
ไม่หนาแน่น ถ้าเป็นบริเวณ ที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ
ไม้ขึ้นปกคลุมหนา
แน่น การชะล้างพังทลาย ในขณะนี้มักไม่เกิดหรือเกิดขึ้นน้อยมาก
แ ต่ อย่างไร
ก็ตาม การชะล้างพังทลายแบบเกิดขึ้น ตามธรรมชาติจะน้อยขึ้นอยู่
กับปัจจัย
หลาย อย่าง เช่น ชนิดหรือลักษณะ ของดิน ความลาดเท ของพื้นที่
ความหนาแน่น
ของพืชพรรณ ที่ขึ้นปกคลุม และ ปริมาณฝน ที่ตกลง สำหรับการชะล้างพังทลาย
อีกลักษณะหนึ่งนั้น เกิดขึ้นจากการกระทำ ของมนุษย์ หรือมนุษย์เป็นตัวเร่ง
ให้เกิดหรือมากขึ้น (accelerated erosion หรือ manmade
erosion)
การชะล้างพังทลาย ในลักษณะนี้นับว่าเกิดขึ้นมาก และ
รุนแรง ในประเทศไทย
โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ดินดอน ที่มีความลาดเทตั้ง แต่
5 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป ที่ใช้
ในการเพาะปลูก โดยไม่มีการอนุรักษ์ดิน และ น้ำ ที่เหมาะสม
และ จะมี
ความรุนแรงมากขึ้น ในบริเวณบนพื้นที่ภูเขา ที่เปิดป่าทำการเพาะปลูก
หรือ
บริเวณ ที่ทำไร่เลื่อนลอย
ปัญหาการชะล้างพังทลาย
ของดิน ในประเทศไทย นับว่าเป็นปัญหารุนแรง
ที่ทำให้ทรัพยากรดิน และ ที่ดินเสื่อมโทรมทั้งสมบัติทางด้านกายภาพ
และ เคมี
นอกจาก นี้ยังก่อให้เกิดความเสื่อมโทรม ทางด้านสภาพ
สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
เป็นต้นว่า ก่อให้เกิดสภาพความแห้งแล้ง ของดิน แม่น้ำ
ลำคลองธรรมชาติ และ
แหล่งน้ำ ที่พัฒนาขึ้นมา ตื้นเขิน อันเนื่องจากตะกอนดินถูกชะล้างลงมาตกตะกอน
ในแหล่งน้ำ ที่กล่าว ทำให้อายุการใช้งาน ของแหล่งน้ำสั้นลง
บางครั้งตะกอนดิน
ที่ถูกชะล้างลงสู่ ที่ราบต่ำอาจทับถมทำให้พื้นที่การเกษตร
และ พืช ที่ปลูกเสียหาย
ต้องมีการลงทุน เพื่อปรับปรุงแก้ไขไม่ใช่น้อย
แนวทางการปรับปรุงบำรุงดิน
โดยวิธีธรรมชาติ
ดิน ที่ใช้ทำการเพาะปลูก
ที่มีปัญหาไม่ว่าจะเป็นดิน ที่เสื่อมค่า ขาดความ
อุดมสมบูรณ์ มีเนื้อดินเป็นดินเหนียว ดินทราย ดินกรวด
ดินลูกรัง ดินเหมืองแร่
ดินพรุ ดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดิน ที่มีหน้าดินถูกชะล้าง
ดินเหล่านี้ สามารถปรับปรุง
ให้เกิดประโยชน์ใช้ ในการเพาะปลูกได้ การปรับปรุงบำรุงดิน
โดยวิธีธรรมชาติ
เป็นทางหนึ่ง ที่สามารถนำมาใช้ได้ เป็นวิธี ที่ทำได้ง่าย
เป็นการใช้วัสดุ ที่เกิดขึ้น
โดยธรรมชาติ หรือวัสดุเหลือใช้มาทำ ให้เกิดประโยชน์
ในการปรับปรุงบำรุงดิน
เป็นการใช้พืช และ สัตว์เป็นแหล่ง ของธาตุอาหารพืช ในดิน
ตลอดจน
การเขตกรรม และ ระบบการจัดการเกษตร ที่เหมาะสม เป็นการหลีกเลี่ยง
การใช้สารเคมีสังเคราะห์มาใช้เป็นวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน
ทำให้เกิดผลผลิต
ที่บริสุทธิ์ เป็นประโยชน์ ต่อผู้ผลิต และ ผู้บริโภค
ช่วยลดต้นทุนการผลิต และ
ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่เป็นพิษอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม
การปรับปรุงบำรุงดิน โดยวิธีธรรมชาตินั้น จะต้องคำนึงถึง
ความสมดุลทางเคมี ชีวะ และ กายภาพ เป็นหลัก ซึ่งสามารถดำเนินการได้
โดยวิธีต่างๆ ดังนี้
1. การปรับปรุงบำรุงดิน
โดยใช้ระบบพืชประกอบด้วย
1.1 การปลูกพืชต่างชนิดแบบผสมผสาน
1.2 การปลูกพืชหมุนเวียน
1.3 การปลูกพืชสดเป็นปุ๋ยปรับปรุงบำรุงดิน
1.4 การปลูกพืชคลุมดิน
วิธีดังกล่าวจะให้ประโยชน์ดังนี้
1. เพิ่มอินทรียวัตถุให้
แก่ดิน
2. สะสมธาตุอาหารให้ แก่ดิน
3. เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ ที่เป็นประโยชน์ให้ แก่ดิน
4. ป้องกันดินเป็นโรค
5. ป้องกันการชะล้าง และ พังทลาย ของดิน
6. ลดศัตรูพืช ในดิน
7. รักษาอุณหภูมิดิน
8. ทำให้ดินร่วนซุยอ่อนนุ่มไม่แข็งกระด้าง
2. การปรับปรุงบำรุงดิน
โดยใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
2.1 การใช้ปุ๋ยคอกด
2.2 การใช้ปุ๋ยหมักด
2.3 การใช้เศษพืช
การใช้วัสดุดังกล่าวปรับปรุงบำรุงดินจะก่อให้เกิดประโยชน์คือ
1. เพิ่มอินทรียวัตถุให้
แก่ดิน
2. เพิ่มธาตุอาหารพืชให้ แก่ดิน
3. เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ ที่เป็นประโยชน์ให้ แก่ดิน
4. ช่วยลดความเปรี้ยว ความเค็ม ความเป็นด่าง ของดินให้น้อยลง
5. ลดศัตรูพืช ในดิน
6. ช่วยให้ดินร่วนซุย ดินอุ้มน้ำ ได้ดีขึ้น ดินไม่แข็ง
7. ช่วยดินมีพลังสามารถรับพลังงานจากแสงอาทิตย์ได้มากขึ้น
8. รักษาอุณหภูมิดิน
9. ทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น
การทำนาที่บ้านม่วง จ.อุบลราชธานี
ด้วยวิธีธรรมชาติ
3. การใช้จุลินทรีย์
(microorganisms) การใช้จุลินทรีย์ปรับปรุงบำรุงดินจะช่วย
3.1 สร้างธาตุอาหาร
3.2 แก้ไขการขาดสมดุล ของจุลินทรีย์ ในดิน
3.3 ช่วยป้องกันดินเป็นโรค
3.4 ช่วยย่อยอินทรีย์สาร และ อนินทรีย์สาร ในดินให้เกิด
ประโยชน์
3.5 ลดสารพิษ ในดิน และ ทำให้ดินสะอาด
4. การปรับปรุงบำรุงดิน
โดยใช้วัสดุ ที่เกิดจากแหล่งธรรมชาติ
4.1 การใช้ปุ๋ยมาร์ล
(Mar) โดโลไมท์ (Dolomite)
หินฟอสเฟต (Rock phosphate) หินฝ่นปะการัง และ
เปลือกหอย กระดูกป่น (Ground bone) เป็นวัสดุปรับปรุง
ดินเปรี้ยว เพื่อลดความเปรี้ยว ของดินให้น้อยลง และ
เป็นการเพิ่มธาตุอาหารพืช เช่น แคลเซี่ยม แมกนีเซียม
และ ฟอสฟอรัสให้ แก่ดิน
4.2 การใช้แร่ยิปซัม
(CaSO 4 2H2O) ลดความเค็ม และ
เพิ่มธาตุอาหาร เช่น แคลเซียม และ กำมะถันให้ แก่ดิน
ในระยะเวลาที่เท่ากัน เปรียบเทียบการเจริญเติบโตของข้าว
ด้วยสารเคมี (บน) และ
การใช้ปุ๋ยชีวิภาพ (ล่าง)
5. การใช้เขตกรรม
(Deep Cultivation) การไถพรวนลึก ช่วยปรับปรุงดิน
ได้ คือ
5.1 ป้องกันการเกิดโรค
ในดิน
5.2 ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ ของดิน
5.3 เพิ่มชั้นดินให้สูงขึ้น
6. การใช้น้ำฝน
(Rain water)
น้ำฝนเป็นน้ำ ที่เกิดขึ้น
โดยธรรมชาติ ขณะ ที่ฝนตกมีฟ้าแลบ ทำให้ก๊าซ
ไนโตรเจนทำปฏิกิริยา กับก๊าซไฮโดรเจนเป็นแอมโมเนีย (NH3)
ก๊าซนี้
ละลายปะปนมา กับน้ำฝนช่วยเพิ่มธาตุไนโตรเจน ในดินเป็นประโยชน์
ต่อ
พืช ที่ปลูกได้
7. การปรับปรุงดิน
โดยใช้ไส้เดือน (Eargth worm) ประโยชน์
7.1 พรวนดินทำให้ดินร่วนซุย
7.2 สร้างอินทรียวัตถุ
7.3 เพิ่มธาตุอาหารพืช
7.4 ป้องกันน้ำท่วม
7.5 เพิ่มช่องอากาศ ในดิน
|