เครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษ
แห่งประเทศไทย :
คกร.
Organic Farming Network of
Thailand : OFNT
 


การปรับปรุงบำรุงดิน โดยวิธีธรรมชาติ
(Natural ways for Soil Ioil Improvement)


บทบาทของจุลินทรีย์ กับเกษตรอินทรีย์
โดย ดร.พงศ์เทพ อัตนะริกานนท์


เกษตรอินทรีย์
ORGANIC
AGRICULTURE
ปริญญา พรศิริชัยวัฒนา
รองประธานชมรม
เกษตรอินทรีย์
แห่งประเทศไทย
ฝ่ายผลิต


ปุ๋ยหมักพระราชทาน
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
สยามบรมราชกุมารี


บทความพิเศษ
โดย จุลณีย์ ถนอมพล เครือข่ายประชาคม เกษตรยั่งยืน :
พัฒนาการมีส่วนร่วม
แบบองค์รวม (พหุภาคี)
สัจธรรมสู่ภาค
การเกษตรยั่งยืน
อย่างแท้จริง

 

 

 

 เกษตรอินทรีย์ (ORGANIC AGRICULTURE) 
ปริญญา พรศิริชัยวัฒนา
รองประธานชมรมเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทยฝ่ายผลิต

การเกษตรนับได้ว่าเป็นต้นกำเนิด ของห่วงโซ่อาหาร ที่มนุษย์ และ สัตว์เลี้ยงบริโภค อีกทั้งยังเป็นตัวแปร ของความหลากหลายทางชีวภาพ และ สิ่งแวดล้อม ที่สำคัญ หากเรามองย้อนกลับไป ในอดีตจะพบว่า วิถีชีวิต ของมนุย์มีการเปลียนแปลงไปมาก โดยเฉพาะ ในกลุ่ม ที่อยู่อาศัย ในเมืองใหญ่ได้มีการพัฒนาการทางเทคโนโลยี ที่ก้าวไกล มีพฤติกรรม ในการดำรงชีวิต ที่เปลี่ยนไป เรียกกันว่าเป็นยุคแห่งความศิวิลัย ที่สำคัญมีการผลิตสารเคมีสังเคราะห์ ในรูปต่างๆ ซึ่งส่วนหนึ่งได้ถูกนำเข้ามาใช้ ในระบบห่วงโซ่อาหาร ประโยชน์ ที่ได้รับจากการพัฒนาการนี้ เมื่อเปรียบเทียบ ต่อความเสียหาย ที่เกิดขึ้น ต่อสุขภาพ และ สิ่งแวดล้อมแล้วนับได้ว่าไม่คุ้มค่า เริ่มตั้ง แต่การนำเอาปุ๋ยเคมีมาใช้ดินก็เสื่อมสภาพลง พืชจะขาดความสมบูรณ์ ขาดภูมิต้านทานโรค และ ง่าย ต่อการเข้าทำลาย ของแมลงศัตรูพืช เกษตรกรต้องใช้สารเคมีอันตราย เพื่อกำจัดแมลง และ โรคพืช เพื่อผลประโยชน์ ที่คุ้มค่า ต่อการลงทุน ทั้งหมด ส่งผลให้ความหลากหลาย ทางชีวภาพ ถูกทำลายจนสูญเสียสมดุล ทางธรรมชาติไป และ ทำให้ผลผลิต จากการเกษตร ที่มนุษย์ และ สัตว์เลี้ยงนำมาบริโภคขาดธาตุอาหาร ที่สมบูรณ์ และ ล้วนปนเปื้อนสารพิษ ที่ตกค้างอยู่มากบ้างน้อยบ้าง อันก่อให้เกิดปัญหา ต่อสุขภาพ ของมนุษย์ และ สัตว์เลี้ยง เกิดโรค ที่แพทย์ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้หลายโรคมาก อีกทั้งเกิดปัญหาโรคระบาด ในสัตว์ ที่มนุษย์เลี้ยง เพื่อนำมาเป็นอาหาร ซึ่งล้วนแสดงให้เห็นถึงปัญหา ของห่วงโซ่อาหาร ที่กำลังก้าวสู่ภาวะวิกฤต ในโลกปัจจุบัน ภาวะการก้าวสู่วิกฤตการณ์ ในห่วงโซ่อาหาร ที่กำลังเกิดขึ้น โดยเริ่ม ที่การควบคุมการทำเกษตรกรรม ไปจนถึงการแปรรูป และ การวางจำหน่าย เพื่อเป็นการ่แก้ปัญหา และ ป้องกันไม่ให้ระบบห่วงโซ่อาหาร และ สิ่งแวดล้อมเลวร้ายไปมากกว่านี้ เราพบว่ามีทางเดียว ที่จะสามารถแก้ปัญหาทั้งหมดนี้ได้ อย่างมีประสิทธิผลด้วยการทำเกษตรอินทรีย์เท่านั้น ที่จะพลิกฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์ให้ แก่สรรพชีวิต และ สิ่งแวดล้อม ในโลก ของเราได้ อย่างถาวร

กระแสความต้องการบริโภคอาหาร เพื่อสุขภาพเป็นไป อย่างแพร่หลาย และ ความต้องการนี้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น อย่างรวดเร็ว ผลิตภัณฑ์อาหารจากเกษตรอินทรีย์ถูกยกขึ้นมาเป็นอาหาร ที่ดี ที่สุด มีการวิจัยพบว่า ในพืชผัก ที่ได้จากเกษตรอินทรีย์มีปริมาณธาตุอาหาร ที่มากกว่าถึง 10 เท่า เมื่อนำมาเปรียบเทียบ กับพืชผัก ที่หาได้จากตลาดทั่วไป อีกทั้งยังมีกลิ่น และ รส ที่ดีกว่ามาก ซึ่งสามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส และ ที่สำคัญไม่พบสารพิษตกค้างอยู่เลย ความต้องการอาหารจากเกษตรอินทรีย์ ในตลาดผู้บริโภคสูงขึ้นคิดเป็นอัตราเฉลี่ยประมาณ 30 % อย่าง ต่อเนื่องทุกปี ผู้บริโภค ที่มีความเข้าใจยินดี ที่จะซื้อไปบริโภคทั้ง ที่ราคา ของผลิตภัณฑ์ อาหารอินทรีย์สูงกว่า จากการสำรวจพบว่ายังมีเกษตรกร และ ผู้บริโภคอีกเป็นจำนวนมาก ที่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ในการทำเกษตรอินทรีย์ และ หรือคุณประโยชน์จาก ผลิตภัณฑ์อาหารอินทรีย์ อย่างแท้จริง จึงมีการ เคลื่อนไหว โดยองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ และ ภาคเอกชน ดำเนินการผลักดันเกษตรอินทรีย์ขึ้น ในหลายรูปแบบ แสดงให้เห็นได้ว่าเกษตรอินทรีย์จะมีอนาคต ที่สดใส ต่อไป อย่างแน่นอน

 

การผลิตเกษตรอินทรีย์นั้น ก็คือ การนำเอาองค์ความรู้ ที่มนุษย์ได้เรียนรู้จากธรรมชาติ มาช้านานกลับมาใช้ ในการเกษตรกรรม โดยปฏิบัติตามข้อบังคับ ในมาตรฐาน ที่บังคับใช้ควบคุมการผลิต และ จำหน่าย ในแต่ละประเทศ การผลิตเกษตรอินทรีย์ต้องอาศัยปัจจัยสำคัญ ที่สุดคือ ศักยภาพ ของพื้นที่ผลิต และ องค์ความรู้เกี่ยว กับวิถีทางธรรมชาติประเทศ ที่ได้มีความได้เปรียบในการ ที่จะผลิตเกษตรอินทรีย์ได้ดีกว่า เห็นจะเป็นกลุ่มประเทศ ที่มีภูมิประเทศ ที่มีความเหมาะสม และ อุดมไปด้วยความสมบูรณ์แห่งสมดุลทางธรรมชาติ เพราะเหตุ ที่ว่าเครื่องมือ ที่จะทำให้เกิดการผลิตเกษตรอินทรีย์ได้ อย่างมีประสิทธิผลก็คือ ความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ และ ความหลากหลายทางชีวภาพ อย่าง เช่น ประเทศไทยเรา เรามีความได้เปรียบในหลายด้าน เรามีภูมิประเทศ ที่มีศักยภาพ เรามีผืนแผ่นดิน และ แหล่งน้ำอันอุดมสมบูรณ์ เรามีความอุดมสมบูรณ์ ของทรัพยากรทางธรรมชาติ ที่หลากหลาย เรามีองค์ความรู้จากประวัติการทำเกษตรกรรมอันยาวนาน เรามีทรัพยากร ที่มีประสบการณ์ด้านการเกษตรกรรมอยู่มากมาย องค์ประกอบเหล่านี้นับได้ว่าเป็นสมบัติอันล้ำค่า ของประเทศไทย ซึ่งหาได้ยากในโลก เพียง แต่เรามีความพร้อมแล้วหรือยัง ที่จะหันมาศึกษา ระบบการทำเกษตรอินทรีย์ ในโลกปัจจุบัน ให้มีมาตราฐานเป็น ที่ยอมรับได้ในระดับสากล และ ประกอบเอาองค์ความรู้เดิม มาประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ เราเคยคิดกันไปว่า อาชีพการเกษตรเป็นอาชีพ ที่เหนื่อยยาก ล้าสมัย และ ไม่มีเกียรติ ซึ่งเป็นแนวความคิด ที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากเราคงลืมไปแล้วว่า อาชีพเกษตรกรรมนั้น เป็นกระดูกสันหลัง ของชาติมาช้านาน เป็นอาชีพ ที่นำรายได้เข้ามาพัฒนาประเทศ จนเติบใหญ่ได้ถึงทุกวันนี้ แม้กระทั่งในปัจจุบันอาชีพการเกษตรก็ยังเป็นกระดูกสันหลัง ของชาติอยู่ อย่าง เช่น ที่เป็นมา แต่เป็น ที่น่าเสียดาย ที่การเกษตร ของเรามุ่งเน้นไปในเชิงธุรกิจมากจนเกินไป เกษตรกรส่วนใหญ่มีรายได้ไม่เพียงพอ ต่อการยังชีพ ต้องดิ้นรน เพื่อความอยู่รอด เป็นผลให้ผลิตผลการเกษตร ของเราไม่ได้มีการพัฒนาคุณภาพเท่า ที่ควร ผลผลิตด้อยคุณภาพลง และ ทำให้ขาดความเชื่อถือในตลาดผู้บริโภค ในที่สุดการ ที่จะหันกลับมาเป็นประเทศผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์คุณภาพดีเป็นเรื่องไม่สาย เนื่องจากความได้เปรียบ ของภูมิประเทศ และ ทรัพยากร ที่มีศักยภาพ ของเรา นับได้ว่ายังคงเป็นทุนเดิม ที่มีค่าอยู่ อย่างมหาศาล เพียง แต่เรามาร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาการ อย่างเป็นระบบ และ ถูกวิธี ก็จะสามารถนำเอาทรัพยากรอันมีค่าเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ เพื่อพัฒนาประเทศให้เกิดความมั่นคงได้ อย่างยั่งยืนด้วยเกษตรอินทรีย์ และ เราก็จะเป็นประเทศผู้ผลิตอาหาร ที่มีคุณค่าดี ที่สุด ซึ่งเป็น ที่ต้องการได้ในไม่ช้า และ หากเพียง แต่เราหันมายอมรับ อาชีพการเกษตรอินทรีย์ให้เป็นอาชีพ ที่มีเกียรติเป็น ที่ยกย่อง ในฐานะผู้ผลิตอาหาร ที่เป็นประโยชน์ ต่อสุขภาพ และ สิ่งแวดล้อม เราก็จะมีทรัพยากรมนุษย์ ที่มีสุขภาพดี และ มีคุณภาพ ประกอบ กับความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้ อย่างถาวรสืบไปเพียง แต่เกษตรกรผู้ผลิตประพฤติปฏิบัติตามแนวพระราชดำรัส ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ที่ได้ทรงดำรัสไว้ว่า

อาชีพการเกษตร เป็นอาชีพ ที่เสริมสร้างความสุขสมบูรณ์ให้ แก่บ้านเมือง โดยส่วนรวม ผู้ที่มีอาชีพการเกษตร จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความรู้จักสังเกต ความขยันหมั่นเพียร และ ความมานะ บากบั่น อดทน

การผลิตเกษตรอินทรีย์ ของประเทศไทย มีมาตรฐานการผลิต ที่ได้ถูกกำหนด และ ควบคุม โดยรัฐ เพื่อเป็นการสนับสนุนเกษตรกรผู้ผลิต และ เป็นการคุ้มครองผู้บริโภคไปด้วย โดยมีหน่วยตรวจสอบรับรองมาตรฐาน ที่ได้รับรองจากรัฐ แปลงเพาะปลูก ของผู้ที่ได้รับการตรวจสอบ รับรองแล้วเท่านั้น ผลผลิต ที่ได้ จึงสามารถเรียกได้ว่าเป็นผลผลิตเกษตรอินทรีย์ โดยหน่วยตรวจสอบรับรองจะอนุญาตให้ใช้ตราผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ได้ หากจะกล่าวถึงการผลิตพืชอินทรีย์ ก่อนที่จะมีการรับรองมาตรฐานพืชอินทรีย์ จะมีการตรวจสอบจากหน่วยตรวจสอบ ที่รัฐให้การรับรอง โดยจะตรวจสอบตั้ง แต่พื้นที่เพาะปลูก แหล่งน้ำ ที่นำมาใช้ในการเพาะปลูก เมล็ดพันธุ์ ที่นำมาใช้เพาะปลูก ปัจจัยการผลิต ที่เกี่ยวข้อง กับการเพาะปลูก การบรรจุ การติดฉลาก การจัดเก็บ การขนส่ง และ การวางจำหน่าย ตลอดจนระบบการบันทึกข้อมูล ที่สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ ซึ่งทั้งหมด จะต้องปฏิบัติให้เป็น ไปตาม มาตรฐานกำหนด

จะเห็นได้ว่าการผลิตเกษตรอินทรีย์มีมาตรฐานการผลิต ที่เข้มงวดมาก ทำให้ผู้บริโภค เกิดความมั่นใจ และ ยินดี ที่จะซื้อไปบริโภคในราคา ที่สูงกว่า เนื่องจากยอมรับว่าเป็นอาหาร ที่มีสมบัติดี ที่สุด ที่จะสามารถหาซื้อมาบริโคได้ และ ทราบดีว่า เกษตรกรผู้ผลิตได้มาด้วยความตั้งใจผลิตสำหรับการบริโภค เพื่อสุขภาพ พร้อม กับรักษา และ เสริมสร้างสิ่งแวดล้อม ที่ดี แก่สรรพชีวิต ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ยกย่อง และ ให้เกียรติผู้ผลิต ที่ใช้ความอุตสาหะ ในการผลิตอาหาร ที่มีสมบัติดี เช่น นี้ให้บริโภค และ สำหรับตัวเกษตรกรผู้ผลิตเอง ก็จะมีคุณภาพชีวิต ที่ดีกว่า ในสิ่งแวดล้อม ที่ดี ปลอดภัยจากสารเคมีอันตราย ได้บริโภคอาหาร ที่มีคุณภาพดี ต่อสุขภาพตลอดเวลา และ เป็นการบำรุงรักษาผืนดิน ที่ใช้เพาะปลูกให้มีความอุดมสมบูรณ์ อย่างยั่งยืนสืบ ต่อไปจนถึงลูกหลาน อันเป็นสมบัติล้ำค่า ของแผ่นดิน ในต่างประเทศ เกษตรอินทรีย์ได้รับการเกื้อหนุนเป็น อย่างดี ทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน รวมไปถึงผู้บริโภคล้วนให้การส่งเสริม โดยการสนับสนุนทางด้านการเงิน การอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้ แก่ผู้ผลิต เช่น ในบางประเทศ รัฐเองนอกจากจะสนับสนุน ด้านการผลิตด้วยการ กันเขตเพาะปลูกเกษตรอินทรีย์ เป็นการเฉพาะ และ ให้ความรู้ แก่เกษตรกรแล้ว ยังลดหย่อนภาษี ในการซื้อเครื่องมือการเกษตร แก่เกษตรกร อีกทั้งยังเป็นผู้จัดหาตลาด มารองรับสินค้าเกษตรอินทรีย์ ที่ผลิตได้ ส่วนภาคเอกชน ที่มีฐานะการเงินดี ก็ช่วยสนับสนุนด้านการเงิน ด้วยการบริจาคเงินช่วยเหลือ เป็นจำนวนมาก ส่วนผู้ที่สนใจ และ ไม่สามารถช่วยเหลือ ทางด้านการเงินได้ ก็อุทิศตน เพื่อเข้าไปช่วยทำงาน ในแปลงเพาะปลูก เป็นกำลังสนับสนุน แก่เกษตรกรเสมือนสมาชิก ในครอบครัว โดยไม่เรียกร้องค่าตอบแทน เพียงขอให้มี ที่พักอาศัย และ อาหาร เพื่อบริโภค ส่วนผู้บริโภคก็ยินดีซื้อผลผลิต อย่างแน่นอนชัดเจน โดยไม่ ต่อรองราคา และ ยังเดินทางไปรับผลิตผลถึงฟาร์ม ที่ผลิตด้วย เป็นผลให้เกษตรอินทรีย์ ทั้งระบบเติบโต อย่างมั่นคงได้ หากพวกเรามาช่วยกันให้ความร่วมมือ ในการสนับสนุนเกษตรอินทรีย์ ในประเทศไทยได้ดัง เช่น ที่กล่าวมาแล้วนี้ เกษตรอินทรีย์ ของเราจะพัฒนาไปได้ อย่างกว้างขวาง เกษตรกรก็จะมีความภาคภูมิใจ ที่ทุกฝ่ายให้ความสำคัญ ต่ออาชีพเกษตรอินทรีย์มีฐานะความเป็นอยู่ ที่มั่นคงขึ้น และ มีกำลังใจ ที่จะสรรสร้างอาหาร ที่มีสมบัติดีพิเศษนี้ ให้พวกเราได้มีโอกาสบริโภค และ ยังสามารถส่งออกไปขายยังต่างประเทศ เพื่อนำเงินตราเข้ามา พัฒนาประเทศให้เกิดความมั่นคง ทางเศรษฐกิจ อีกทั้งยังเป็นการรักษา สิ่งแวดล้อม ที่ดีกว่าให้ แก่ส่วนรวม อย่างยั่งยืนสืบ ต่อไป

 

 

 

 

จาก... วารสารชมรมเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย ปีที่ 1 ฉบับที่ 1เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2545

 

 

 
   Asoke Network Thailand
asoke information | asoke community | fhae party | คกร. | ชาวอโศก | ผลิตภัณฑ์ | แนะนำ | ถาม-ตอบ | ข่าว