๖ ปี ราชธานีอโศก
ชุมชนกู้วิกฤติชาติ ทางรอดสังคมใหม่ ในยุค IMF
ขอต้อนรับสู่ชุมชนราชธานีอโศก ซึ่งได้จดทะเบียน เป็นสหกรณ์บุญนิยม ราชธานีอโศกจำกัด
เมื่อวัน ที่ ๙ มีนาคม ๒๕๓๗ และ ได้รับอนุมัติ จากกระทรวงมหาดไทย เป็นหมู่บ้าน
ชื่อ หมู่บ้านชุมชนราชธานีอโศก เมื่อวัน ที่ ๑ เมษายน ๒๕๓๙ มีเนื้อ
ที่ ๓๕๐ ไร่ ประชากร ๒๕๐ คน บ้านพักอาศัย ๑๑๐ หลังคาเรือน
ภาพชุด: ชุมชนราชธานีอโศก
|
ประวัติหมู่บ้าน
๑๒ พ.ย.๓๒ คุณหนึ่งฟ้า นาวาบุญนิยม คุณฟังฟ้า
และ คุณ ฟ้าขวัญ พนากานต์ บริจาค ที่ดินจำนวน ๑๐๐ ไร่
๒๗ พ.ย. ๓๖ นักปฏิบัติธรรมหญิงจากพุทธสถานศีรษะอโศก
จำนวน ๖ คน เข้ามาบุกเบิก ทำกสิกรรมธรรมชาติ
๕ มิ.ย.๓๗ จัดงานสมาธิสมโภช เกิดความคิด
ที่จะตั้งชุมชน และ เริ่มมีการจัดสรร ที่ดินปลูกบ้าน
๕ มิ.ย.๓๙ จัดตั้งสัมมาสิกขาลัยวังชีวิต (มวช.เดิม คือมหาลัยวังชีวิต)
เป็นการศึกษา ระดับอุดรศึกษา (อุดมศึกษา) หลักสูตร ๖ ปี
๓๑ ต.ค.- ๑ พ.ย.๓๙ (งานมหาปวารณาครั้ง ที่
๑๕) ได้รับมติจากหมู่สมณะ ชาวอโศก เป็นสังฆสถาน ราชธานีอโศก
กันยายน ๒๕๔๐ ได้รับงบประมาณ จากสำนักนายกรัฐมนตรี
ก่อสร้างเฮือนศูนย์สูญ เพื่อใช้เป็นศูนย์ฝึกอบรม กสิกรรมไร้สารพิษ แก่ประชาชนทั่วไป
๓๐ ธ.ค.๔๐ - ๒ ม.ค.๔๑ เริ่มจัดงานประเพณีปีใหม่
ตลาดอาริยะ ขายสินค้าต่ำกว่าทุน
๒๑ พ.ย.๔๒ เกิดนาวาบุญนิยม มีเรือต่างๆ ที่ญาติธรรมซื้อบริจาค
เพื่อ มาทำประโยชน์ทยอยมาถึงราชธานีฯ
อุดมการณ์ ของชุมชน
ชุมชนแห่งนี้เป็นหมู่บ้าน ของผู้ปฏิบัติธรรม
ประกอบด้วยบ้าน วัด โรงเรียน มีพ่อท่านสมณะโพธิรักษ์ และ สมณะสิกขมาตุ
เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ อบรมสั่งสอน ด้านจริยธรรมตามแนวทางพุทธศาสนา
ทุกคน ที่อยู่ ที่นี่มาจากทุกภาค ของประเทศไทย มีอุดมการณ์ร่วมกัน
ที่จะสร้างชุมชนบุญนิยม โดยถือศีล ๕ และ ศีล ๘ ตามพุทธประเพณี เป็นหลักในการดำเนินชีวิต
อย่างเคร่งครัด รับประทาน อาหาร มังสวิรัติวันละ ๑-๒ มื้อ ไม่มี่อบายมุข
สิ่งเสพย์ติด แม้ แต่การสูบบุหรี่ก็ไม่มี แต่งกายเรียบร้อย ไม่สวมรองเท้า
เสียสละลดละความเห็นแก่ตัว มีความเอื้ออาทรต่อกัน อยู่ร่วมกันด้วยความเคารพในศีล
มีศาสนาพุทธเป็นแกนหลักในการดำเนินชีวิตตามหลักสัมมาอาริยมรรคองค์
๘
ทุกคนทำงานฟรี โดยมีค่าตอบแทนเป็นบุญ ที่ได้เสียสละออกไปให้แก่ผู้อื่น
รายได้จากผลผลิตต่างๆ นำมาเป็นค่าใช้จ่ายร่วมกันในชุมชน เป็นระบบสาธารณโภคี
(กินใช้ร่วมกันเป็นกองกลาง โดยทุกคนสมัครใจ)
ทำการค้าขายภายใต้ทฤษฎีทุนนิยม คือ ๑.
ขายต่ำกว่าราคาท้องตลาด ๒. ขายเท่าทุน ๓. ขายต่ำกว่าทุน และ ๔. แจกฟรี
วิถีชีวิตในชุมชน
๐๓.๓๐ - ๐๕.๓๐ น. ร่วมทำวัตรเช้า (ยกเว้น
วันจันทร์ พุธ ศุกร์)
๐๕.๓๐๐๘.๓๐ น. ทำงานร่มกันตามฐานงานต่างๆ
๐๙.๐๐๑๐.๓๐ น. ฟังธรรมก่อนฉัน และ รับประทานอาหารร่วมกัน
๑๓.๐๐๑๗.๐๐ น. ลงฐานงานต่างๆ หรือ ลงแขกตามฐานงาน
ที่ต้องการความช่วยเหลือ
๑๘.๐๐๒๐.๐๐ น. ดูวิดีโอ หรือ ภาพยนตร์
( ที่ผ่านการตรวจสอบจากสมณะผู้ใหญ่แล้ว ) ร่วมกัน โดยมีหลักในการดู
คือ ๑. เพื่อ ให้เกิดอาริยญาณ ๒. ทำการปฏิบัติ ๓. อัดพลังกุศล ๔. ฝึกฝนโลกวิทู
เพิ่มพหูสูต
ทุกสัปดาห์มีการพบสมณะ สิกขมาตุ เพื่อ
ตรวจศีล และ ประชุมปรึกษาตัดสิน เรื่องราวต่างๆ เป็นประจำ
สัมมาอาชีพ
ทุกคน ที่อยู่ในชุมชนจะมีงานประจำ ซึ่งแบ่งออกได้ ดังนี้
ฐานการศึกษา
มีโรงเรียนสัมมาสิกขาศีรษะอโศก สาขาราชธานีอโศก จัดการศึกษาตัง แต่ระดับปฐมวัย
(กลุ่มหิ่งห้อยริมมูล) ประถมศึกษา(กลุ่มสมุนพระราม) และ มัธยมศึกษาตอนต้น -ปลาย(สสธ.)
รวมทั้งสัมมาสิกขาลัยวังชีวิต (มวช.) ซึ่งเป็นการศึกษาระดับอุดรศึกษา (อุดมศึกษา)
ภาพใต้ปรัชญาการศึกษาเดียวกัน คือ ศีลเด่น เป็นงาน ชาญวิชา
ฐานการอบรม
มีเฮือนศูนย์สูญ เป็นสถาน ที่อบรม สวดมนต์ ทำวัตรเช้า-เย็น เป็นศาลาฉันอาหาร
เป็น ที่ประชุม ของชุมชน และ เป็นศูนย์อบรม แก่ผู้สนใจทั่วไป โดยเน้นศีล
๕ ละอบายมุข และ พาทำชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
เฮือนเพิงกัน
และ เฮือนโสเหล่ เป็นสถาน ที่สนทนา และ ต้อนรับอาคันตุกะ ผู้มาเยี่ยมเยียนชุมชน
โบสถ์น้ำ
เป็นแพ อยู่ริมแม่น้ำมูล เป็นสถาน ที่สังฆกรรม และ ที่ประชุม
ฐานบริการ
มีดังนี้
สวัสดิการ
บริการสวัสดิการด้านอุปโภคบริโภค
การเงิน-การบัญชี-ธุรการ บริการด้านการเงิน และ ฝ่ายทะเบียน
ห้องสมุด ให้บริการยืม และ ค้นคว้าหนังสือทั่วไป และ
หนังสือ ของชาวอโศก
ศูนย์สุขภาพ บริการด้านการรักษาพยาบาลทั้งแผนปัจจุบัน
แผนไทย และ แพทย์ทางเลือก
ประปา บริการน้ำดื่ม น้ำใช้
เฮือนไฟ ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แจกจ่ายภายในชุมชน
แผนกศิลป์ บริการด้านศิลปต่างๆ
และ เขียนป้าย
ตัดผม บริการตัดผม
ห้องเครื่องมือ จัดเก็บอุปกรณ์เครื่องมือ-เครื่องใช้
และ บริการให้ยืม ในกิจการ ของชุมชน
ยานยนต์ บริการด้านยานยนต์ทั้งภายใน-ภายนอกชุมชน
ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข่าวสารภายใน-ภายนอก
และ ให้บริการด้านโทรศัพท์
แผนกต้อนรับ บริการด้านต้อนรับแขกผู้มาเยือนชุมชน
เฮือนครัว เป็นสถาน ที่ประกอบอาหารส่วนกลาง
ของชุมชน เพื่อ เลี้ยงสมาชิกในชุมชน
โรงจักร เป็นสถาน ที่ตัดเย็บเสื้อผ้าบริการแก่ชาวชุมชน
ฐานเศรษฐกิจ
มีดังนี้
กสิกรรม
แบ่งเป็น พืชไร่-นา-สวน เพาะปลูกแบบธรรมชาติ
ขยะวิทยา แยกขยะ เพื่อ นำมาซ่อมแซม-นำกลับมาใช้ใหม่-นำมาดัดแปลง
และ นำไปทิ้ง
ปุ๋ยสะอาด ผลิตปุ๋ยดิน และ ปุ๋ยน้ำ เพื่อ การเกษตร
จุลินทรีย์ ผลิตจากจุลินทรีย์ เพื่อ การเกษตร-ทำความสะอาดสุขภาพ
และ ปุ๋ยหมักชีวภาพ
เพาะชำ เพาะชำเมล็ดพืช และ ต้นไม้โรงสี ผลิตข้าวกล้อง,
ข้าวโจ๊ก
โรงแชมพู ผลิตแชมพู-ครีมนวดผมสมุนไพร, เจล,
โลชั่น สบู่เหลว และ น้ำยาทำความสะอาด
หม่องค้าผง ผลิตเครื่องดื่มสมุนไพร,
ชาสมุนไพร และ ยาสมุนไพร
โรงเห็ด ผลิตเห็ดถุง
และ เห็ดฟาง
หม่องกิจถั่ว ผลิตซีอิ๊ว-เต้าเจี้ยว และ ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากถั่วเหลือง
โรงเต้าหู้ ผลิตเต้าหู้,
น้ำเต้าหู้
ฮ้านปันบุญ จำหน่ายสินค้า ที่ผลิตในชุมชน และ
จากเครือข่าย ของชาวอโศก ในราคาบุญนิยม (หยุดทุกวันจันทร์)
สหกรณ์บุญนิยมจำกัด จำหน่ายสินค้า
ที่ผลิตในชุมชน และ จากเครือข่าย ของชาวอโศก ทั้งปลีก และ ส่งในราคาบุญนิยม
ตั้งอยู่ ที่ตลาด อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี (หยุดทุกวันจันทร์)
อุทยานบุญนิยม จำหน่าย อาหารมังสวิรัติ และ วัตถุดิบ
ในการปรุงอาหารมังสวิรัติในราคาบุญนิยม ตั้งอยู่ ที่ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
ตรงข้ามสถานฟื้นฟูฝึกอาชีพคนพิการฯ (หยุดทุกวันจันทร์)
การตลาด ขนส่งสินค้าจากชุมชนสู่เครือข่ายต่างๆ ของชาวอโศก
และ ลูกค้าทั่วไป
|