ราชธานีอโศก
ที่ดิน ณ พุทธสถานราชธานีอโศก
และ สหกรณ์บุญนิยมราชธานีอโศกในปัจจุบันนั้น คุณหนึ่งฟ้า
นาวาบุญนิยม (เดิมชื่อคุณทิพย์วิมล พนากานต์) ซึ่งเป็นชาว
อ.พิบูลมังสาหาร ได้ถวายสมณะโพธิรักษ์ไว้เมื่อเดือน พฤศจิกายน
พ.ศ. ๒๕๓๒ (ในวันลอยกระทง) ที่หน้าร้านอาหารมังสวิรัติปฐมอโศก
จังหวัดนครปฐม โดย บริจาคเข้า กองทัพธรรมมูลนิธิ
เนื่องจากสถานที่แห่งนี้ เป็นเสมือน
บ้านเกิด ของ สมณะโพธิรักษ์ เพราะรกราก และ บรรพบุรุษ
ของท่าน อยู่ที่ อ.พิบูลมังสาหาร (ท่านเกิดที่ จ.ศีรษะเกษ แต่มาเติบโตที่
อ.พิบูลฯ) ท่าน จึงเกรงว่าการเกิด ราชธานีอโศก จะเป็นการกลับไปสร้างความยิ่งใหญ่ให้ตนเอง
ซึ่งไม่ใช่เจตนา ของ ท่านที่จะมาทำงานศาสนา สอนผู้คนให้ลด ละ
เลิกอบายมุข โลกธรรม กามคุณ ท่าน จึงไม่ใส่ใจในการที่จะสร้างชุมชนขึ้น
ณ ที่แห่งนี้
แต่ด้วยความเห็นดีเห็นงาม ของ หมู่สงฆ์
และ มวลญาติธรรม ในอันที่จะขยายสถานที่ปฏิบัติธรรม จึงต่างช่วยกันสร้าง
ช่วยกันพัฒนา จนเกิดเป็น ชุมชนบุญนิยม มีการรวมตัวกันอย่างรวดเร็ว
ญาติธรรมไปปลูกบ้านอยู่ด้วยกันหลายหลัง สถานที่แห่งนี้ จึงต้อง
เกิดขึ้น โดย ธรรม
โดย ในปลายปี พ.ศ.๒๕๓๖ ได้มีกลุ่มนักปฏิบัติธรรมชาวอโศก
ประมาณ ๗ หรือ ๘ คน มาจากศีรษะอโศก มาตั้งถิ่นฐาน และ ได้เริ่มทำงานด้านกสิกรรมธรรมชาติ
เป็นอันดับแรก
ในวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ ก็ได้มีการจัดตั้งเป็น
สหกรณ์ ขึ้น ที่ชุมชนราชธานีอโศก โดย ใช้ชื่อว่า สหรณ์บุญนิยมราชธานีอโศก
จำกัด
ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๙
ได้รับการแต่งตั้งเป็นทางการตามกฎหมายกระทรวงมหาดไทย ให้เป็นหมู่บ้าน
หมู่บ้านนี้แยกตัวมาจากหมู่บ้านคำกลาง
(หมู่ ๖) เป็น หมู่บ้านที่ ๑๐ ของ ตำบลบุ่งไหม อ.วารินชำราบ
จ.อุบลราชธานี มีผู้ใหญ่บ้านมาแล้ว ๒ คน คือ
1.นางดาวเย็น ชาวหินฟ้า ผู้ช่วยฯ
คือ นางดาวเพ็ญ นาวาบุญนิยม และ น.ส.ดาวพร นาวาบุญนิยม
2.น.ส.หนึ่งฟ้า นาวาบุญนิยม (ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน)
ผู้ช่วยฯ คือ นางดาวเพ็ญ นาวาบุญนิยม
และ น.ส.ดาวพร นาวาบุญนิยม
สมาชิกสภาตำบลคนที่ ๑ นางดาวธรรม
สิทธิสงค์
สมาชิกสภาตำบลคนที่ ๒ นายแรงเพชร
วงศ์แสนสาน
กำเนิดราชธานีอโศก
ดังนั้น ในวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๓๖ สมณะโพธิรักษ์
จึงได้ประกาศให้ ราชธานีอโศก
เป็นโครงการที่ ๒ ต่อจากโครงการปฐมอโศก
อนุญาตให้สมณะไปจำพรรษาอยู่ที่นั่นได้ ต่อมาหมู่สงฆ์ ได้ลงความเห็น
ให้เป็น สังฆสถาน และ ต่อมา เมื่อถึงเวลาวาระ ที่ลงตัวขึ้นอีก
หมู่สงฆ์ก็ยกขึ้นเป็น พุทธสถาน ซึ่งปัจจุบันคือ พุทธสถานราชธานีอโศก
พุทธสถานราชธานีอโศก จึงเป็นแหล่งที่แปลกกว่าพุทธสถานที่อื่นๆ
ของ ชาวอโศก คือ เกิดชุมชนก่อน พุทธสถาน โดย ที่พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์ได้วางนโยบายไว้ว่า
ให้ฆราวาสเป็นผู้บริหาร ส่วนสมณะเป็นที่ปรึกษา โดย เน้นเรื่องกสิกรรมธรรมชาติเป็นหลัก
ทั้งได้วางหลักการให้เป็นแนวปฏิบัติไว้ ๔ ข้อ ด้วย ดังนี้
ซื่อสัตย์
ขยัน
สามัคคี
มีวินัย
วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง
1. เป็น สังคมร่วม ประกอบด้วยสมณะ และ
ฆราวาสผู้สนใจจะปฏิบัติธรรมตามคำสอน ของ สมเด็จพระสัมมา- สัมพุทธเจ้า
2. มีการดำเนินชีวิต และ ความเป็นอยู่เรียบง่าย
ไม่มีอบายมุข สิ่งเสพติด ไม่มีเดรัจฉานวิขา หรือ ไสยศาสตร์ มีชีวิตที่ประหยัด
ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ ลดการกินการใช้จ่ายที่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย
หรือ ที่ไม่จำเป็นตามกรอบ ของ ศีล ๕, ศีล ๘, ศีล ๑๐, จุลศีล
มัชฌิมศีล มหาศีล และ มรรคมีองค์ ๘ ตามคำสอน ของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
3. พัฒนาจิตสำนึกให้มีความขยัน สร้างสรรค์
เสียสละ ในการประกอบสัมมาอาชีพเป็นบุญกุศล รู้รักสามัคคี มีเมตตา
และ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ สังคม
4. อนุรักษ์ฟื้นฟูระบบนิเวศ และ สิ่งแวดล้อม
ในการรักษานิเวศป่า นิเวศน้ำ และ แบ่งพื้นที่ทำกสิกรรมธรรมชาติไร้สารเคมีทุกชนิด
เพื่อ การกินอยู่ภายในชุมชน
5. มีกิจกรรมร่วมแรงกันสร้างสรรผลผลิตด้านปัจจัย
๔ (อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค) เพื่อ สร้างสังคมที่พึ่งตนเองอย่าง
ครบวงจร ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดย ยึดหลัก บุญนิยม
คือการทำงานที่เป็นประโยชน์แก่ ส่วนรวม เป็นบุญกุศล ของ ตนเอง
6. มีการอบรม และ เผยแพร่พระธรรมคำสอนแก่
สมาชิกในชุมชน และ ผู้สนใจ
สภาพทางภูมิศาสตร์
และ สิ่งแวดล้อม
อาณาเขต ทิศเหนือ มีแม่น้ำมูลกั้นระหว่างหมู่บ้านดงเจริญ
ต.ปทุม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
ทิศตะวันออก จดหมู่บ้านคำกลาง หมู่ที่ ๗ และ ๖
ทิศใต้ จดหมู่บ้านกุดระงุม
ทิศตะวันตก จดหมู่บ้านท่ากกเสียว
มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๓๕๐ ไร่
ชุมชนแห่งนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่ม เปรียบเหมือนอยู่ก้นกระทะ
มีสภาพเป็นดินทาม คือ ฤดูฝนจะมีน้ำมาก บางปีน้ำท่วม ส่วนฤดูหนาว
น้ำจะขัง สามารถใช้ดิน ทำการเพาะปลูก พืชผัก และ ไม้ล้มลุกได้
สภาพพื้นที่ระหว่างหมู่บ้าน จนจรดแม่น้ำมูล มีลักษณะคล้ายคลื่น
มีพื้นที่สูงๆ ต่ำๆ ขนานกับแม่น้ำมูล ส่วนที่เป็นคลื่นก็เป็นบุ่ง
หรือ เป็นคลองน้ำธรรมชาติ บางบุ่ง (บึง) มีน้ำขังตลอดปี บางบุ่ง
(บึง) ไม่มีน้ำขัง ทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ แม่น้ำมูล บุ่งไหมน้อย
และ ป่าละเมาะริมบุ่ง ริมแม่น้ำ
งานตลาดอาริยะ
ปีใหม่
งานปีใหม่อโศก
เคยจัดมาแล้วถึง ๑๘ ครั้ง แต่ไม่ลงตัวเรื่องสถานที่เนื่องจากคับแคบเกินไป
เมื่อเกิดมี ชุมชนราชธานีอโศกขึ้น ซึ่งมีความเหมาะสม
หลายประการ ในการจัดงานที่มีผู้คน ไปร่วมงานจำนวนมาก จึงได้ย้ายมาจัดที่ชุมชน
แห่งใหม่นี้แทน และ เริ่มจัดครั้งแรกเมื่อ ปีใหม่ ๒๕๔๑
ปี ๒๕๔๓ เรียกชื่องานนี้ใหม่ว่า
"งานตลาดอาริยะ ปีใหม่" จนปัจจุบัน
หัวใจสำคัญ ของ งานนี้คือ
ตลาดอาริยะ ซึ่งเป็นงานที่ชาวอโศกจะได้ไปร่วม สร้างสรร
เสียสละ สามัคคี แสดงน้ำใจ โดย การขาย ของ ในราคา
ต่ำกว่าทุน เพื่อ เป็นกำไรอาริยะแก่ ตน อันเป็นหลักสำคัญในการดำเนินชีวิตตาม
ระบบบุญนิยม
การฝึกอบรม โครงการชุมชนกู้วิกฤติชาติ
กองทุน SIF (Social
Invest Fund) ร่วมกับชุมชนราชธานีอโศก ได้จัดโครงการฝึกอบรม
ชุมชนกู้วิกฤตชาติ จำนวน ๗๒ รุ่น เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม
๒๕๔๓ มีนาคม ๒๕๔๕ โดย จัดอบรมปีละ ๒๔ รุ่น (เดือนละ ๒ รุ่น)
มีมูลค่าโครงการ ๑๖,๖๖๓,๙๔๓.๐๐ บาท
การอบรมนี้จัด ณ ศูนย์ฝึกอบรมชุมชนราชธานีอโศก
ซึ่งสมณะโพธิรักษ์ดำริให้สร้างขึ้นมา เพื่อ เป็นสถานที่ให้การศึกษา
และ พัฒนา คน
๖
ปี ราชธานีอโศก ชุมชนกู้วิกฤติชาติ ทางรอดสังคมใหม่ ในยุค IMF
ปรัชญาศูนย์ฝึกอบรม
: รักไทยแบบบุญนิยม
|