1.
"โลก" นั้น มันเก่งกว่า "ธรรม" มาก
มันจึงสามารถสะสมพลโลก ที่เต็มไปด้วยโลกธรรมได้มากมาย ทับทวีขึ้นทุกวันๆ...
คนผู้เอาชนะโลกได้ แต่ละคนนั้น จึงเป็นมนุษย์ผู้ยิ่งใหญ่จริง
ๆ ที่อาจสามารถ แหวกพลโลกออกมา "อยู่เหนือโลก" ได้
แม้จะมีจำนวนน้อย ก็ต้องนับว่า เป็นผู้เก่งยอดยิ่งแท้จริง
คุณจงเป็นผู้สะสม ว่านวงศ์พงศ์พันธุ์ "คน" ชนิดที่ชนะโลก ให้ได้มาก
ๆ สมกับชื่อของคุณนั่นเถิด อย่าเป็น คนที่โลกสะสมไว้ อย่างไม่ราข้อนั้นเลย
(๔ธ.ค.๒๕๑๘)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
2.
ผู้จะก้าวออกจากกรอบแห่ง "โลก" ได้นั้น
ต้องเอาจริง!
(๕ ธ.ค.๒๕๑๘)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
3.
"เรียบ ง่าย สบาย ว่างดี จริงหนอ
! ท่านเลิก ! ท่านหยุดอะไรได้บ้างเล่า ? จึงเบาเบยพ้นบ่วงที่ต้อง
ดิ้น พ้นทุกข์ที่ต้องร้อนรนหาอยู่มิรู้แล้วได้ ?"
(22 ธ.ค. 2518)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
4.
เพื่อนคุณเขาตายไปแล้วก็มี! และที่ยังอยู่ก็มี
... ทว่าที่ยังอยู่ยังไม่ตายนั้น ล้วนแล้วแต่ยังคือ นักต่อสู้ผู้
"เมาหมัด" เหมือนคุณนั่นแหละทั้งนั้น ภาพที่เห็นนี้ ก็เพื่อนของคุณจริง
ๆ แต่เป็นผู้ที่ตายแล้ว หรือ "ยังอยู่" ทว่า ..."ไม่เมาหมัด"
(22 ธ.ค. 2518)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
5.
จิตที่วางได้ดีแล้วนั้นจะเป็นเครื่องใช้ของเรา "สำหรับเราเท่านั้น
และ จิตที่รู้สมมุติในโลกกับเขา แล้วหาทาง ช่วยเขาด้วยนั้น
จะเป็นความประเสริฐ ที่โลกต้องมี ต้องได้ เป็นคุณค่าสำหรับเราด้วย"
สำหรับโลกด้วย
(30 ม..ค. 2519)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
6.
บิณฑบาต นั้น คือ งานแสดงธรรมโปรดสัตว์ของนักบวชผู้มีคุณธรรมที่แท้จริง
คนผู้ได้พบได้รับ "ธรรม" จะเกิดผลในจิตจริงๆ สอบดูรู้ได้
เป็นความเจริญ ความประเสริฐ ธรรมนั้นมีคือ ศรัทธา- ปัญญา-ปิติ
ที่สำคัญคือ ลดความโลภ และลดความโกรธ ลงไปอย่างแท้ มิใช่คนผู้พบนักบวช
ตักบาตรกับนักบวช แล้วจะได้ความโลภใส่ใจเพิ่ม ได้ความพยาบาทผูกพันขึ้นอีก
เพิ่มมาเป็นอันขาด
(22 พ.ค. 2519)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
7.
คนผู้ตักบาตรเป็นนิจ นั่นคือ ผู้ประพฤติธรรมแล้ว แต่จะได้ผลเป็น
"บุญ" หรือไม่? ก็ขึ้นอยู่กับการทำจิตอย่างไร?
ในตอนตักบาตรนั้นเท่านั้น! ถ้าตั้งจิตขอนั่นขอนี่ในการตักบาตร
นั่นคือผู้ตักบาตรนั้นยิ่งขอยิ่งไม่ได้ "บุญ" ยิ่งอธิษฐานขอเอาโน่นเอานี่มากเท่าใดๆ
ก็ยิ่งไร้ผล "บุญ" ยิ่งเท่านั้นๆ ผู้ตักบาตรด้วยศรัทธาที่พร้อมด้วยปัญญาแท้
โดยไม่ต้อง "ขอ" อะไรเลย และพยายามตั้งจิตให้อยู่ในสภาพจิตสะอาดอย่าให้มีโลภะ-โทสะ-โมหะ
ใดๆ ให้ได้อย่างละเอียดผุดผ่องทุกทีๆ นั่นแลคือผู้ได้ผล "บุญ"
มากทุกครั้งเพราะทำ "อธิษฐาน" ถูกภาษา ถูกสัจธรรมเป็น
"สัมมาอริยมรรค"
(22 พ.ค. 2519)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
8.
ผู้กินอย่างฉลาด คือ ผู้รู้จักกินธาตุแท้ๆ ที่พอแค่เลี้ยงกายเท่านั้น
มิใช่หลงรูปของกิน หลงติดรสของกิน หลงกลิ่นของกิน และหลงความอัครฐานของของกิน
ผู้ฉลาดและ "ทำได้" แท้จริงแล้วจะเป็นสวรรค์พิสุทธิ์
ที่ไม่ใช่สวรรค์ลวงได้เองกับตน แท้จริง
(22 พ.ค. 2519)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
9.
"นิพพาน" นั้น ไม่ใช่คนเก่ง แต่ "นิพพาน"
นั้นคือ ผล ของคนผู้มีปัญญา รู้จัก "เจโตวิมุติ"
และทำ "เจโตวิมุติ" นั้นๆ ให้กับตนเองได้สำเร็จ
จนไม่กลับกำเริบ อย่างสัมมาทิฏฐิแท้จริง
(22 พ.ค. 2519)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
10.
ศรัทธา แม้จะมีมาก มีแรง แถมวิริยะดีจัดปานใดก็ตาม
แต่ถ้าขาดสัมมาทิฏฐิเสีย ก็ไม่มีหวังพบกับนิพพาน
(22 พ.ค. 2519)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
11.
ผู้ปรารถนาจะได้ "ภาพ" อาตมาไว้นั้น จะต้องรู้ให้จริงว่า
"ภาพ"ของอาตมาเป็นอย่างไร? ประกอบพร้อมด้วยคุณสมบัติอย่างไร?
(สภาพ, สภาวะ) ต้องรู้ ต้องอ่านให้ออกให้ลึกซื้ง ทั้งนามธรรม
ทั้งรูปธรรม และต้องรู้ด้วยว่า (ส)
"ภาพ" อย่างใด? ที่เราควรจะถ่ายทอดเอาไว้ให้ได้เร็วที่สุด
แนบเนียนที่สุดด้วย นั้นแลคือ ผู้ได้ "ภาพ" ของอาตมา
หาไม่คุณจะได้แต่แผ่นกระดาษที่มีสีกันเท่านั้น
(3 มิ.ย. 2519)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
12.
"ภาพ" นี้มันเป็นเพียงเส้น แสง เงา สี แต่ "ความจริง"
ที่คุณต้องการแท้ๆ นั้นไม่ใช่เพียง "ภาพ" หรือแม้แต่ที่สุด
"ความจริง" นั้นจะไม่ใช่ "มโนภาพ" เป็นอันขาด
ขอให้คุณพยายามเพื่อได้ "สภาพ" อันสมภาพให้ได้
(11 มิ.ย. 2519)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
13.
"ผี" ในป่าช้านั้น มันคือผีหลอกๆ "ผี"
ในตัวคนนี่แหละคือ ผีแท้ๆ จริงๆ ใครฆ่า "ผี" ในตนได้ผู้นั้นคือ
"พระ" แท้จริง แม้ไม่ต้องห่มจีวร โกนหัว
(7 ต.ค. 2519) - กลับไปที่หัวเรื่อง
14.
"ยอดความสุข" ประการแรกที่คนผู้ฉลาดแท้จะพึงได้เป็นอริยสมบัตินั้นคือ
"เราไม่โกรธ"
(7 ต.ค. 2519)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
15.
"ความรู้" ของตนจะพาตนยิ่งใหญ่ได้ก็จริงที่สุด
แต่ "ความไม่รู้" ในตน หลงตนว่าใหญ่ ว่ายิ่งจะเลวที่สุดและจริงที่สุดเสียอีก
(16 พ.ย. 2519)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
16.
ผู้ที่มี "การรับเอา" แต่ไม่มี "การให้"
นั่นคือผู้ขาดทุน เพราะเป็นผู้ทำจิตของตนให้เอียงไปสู่โลภะ
ส่วนผู้ที่มีแต่ "การให้" โดยมี "การรับเอา"
น้อยได้เท่าใดๆ กลับยิ่งได้กำไรมากเท่านั้นๆ เพราะเป็นผู้ทำจิตของตน
ให้หมดโลภะ และเอียงเทเข้าสู่ความหมด ความจบหรือสุญญตา
(17 มี.ค.17)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
|
17.
ผู้ที่เห็นกิเลสของตน อยู่กับตนแท้ๆ ขณะใด นั้นคือผู้เริ่มไม่มีกิเลสขั้นต้น
คือพ้น "โมหะ" แล้ว จงอย่าให้กิเลสมันชนะเรา
ทุกครั้งให้ได้นั่นคือ เราเป็นผู้ไม่มีกิเลส แล้วโดยจริง
ขั้นกลางคือ พ้น "โทสะ" เมื่อทั้งรู้ ทั้งได้ทำดั่งนี้เสมอๆ
ความดับสนิทแห่งกิเลส นั้นก็จะเป็นสมุจเฉทได้ เป็นขั้นสุดบริบูรณ์
นี้แหละ คือ พ้น "ราคะ" สนิทสูงสุด |
(3 พ.ย. 2519)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
18.
หัดเสียสละ หรือให้ของที่เรารักแก่ผู้อื่นให้ได้เสมอๆ
แต่อย่า "อยากได้" อะไรตอบแทน นั่นคือ เรากำลังสะสม
"นิพพาน" ให้แก่ตนเอง
(3 พ.ย. 2519)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
19.
ผู้รู้ว่าตนโกรธอยู่ที่ใด ก็ไม่สนุก ไม่อร่อย อยู่ที่นั้น
แต่ก็ไม่ทำตนให้หยุดเสียจากความโกรธนั้นๆ ผู้นั้นก็ยัง "โง่"
แท้ๆ อยู่นั้นเอง
(3 พ.ย. 2519)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
20.
ผู้บรรลุธรรมได้นั้น มีหลักสำคัญอยู่ว่า "ต้องเอาจริง!"
(3 พ.ย. 2519)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
|