21.
ผู้ที่หลุดแล้ว พ้นแล้ว
ย่อมหลุดก่อน พ้นก่อนและย่อมนำหน้า ผู้กำลังแจ้งใจนิพพาน ย่อมสว่างไสว
ย่อมผุดผ่อง และโดดเด่นเป็นกลาง ผู้ที่มีตาดี มีความเป็นอริยะเห็นและเลื่อมใส
ในผู้นำหน้าแท้ เห็นและซาบซึ้งใจชัดในผู้เป็นกลางจริง ก็ย่อมจะตามอย่างกระชั้นชิดติดมาเป็นท้าย
ดังนี้เสมอแลคือ ศาสนาพุทธ
(11 พ.ย. 25 2519)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
22.
การได้ "ให้" แก่ผู้อื่นเสมอ
หรือผู้ได้ทำ "การเสียสละ" นั้นก็เป็นคุณธรรมที่เลิศที่ยอดแล้ว
สำหรับผู้ทำ ยิ่งเราได้ให้หรือได้เสียสละด้วย "ปัญญา"
ว่านี่สมควรหรือไม่สมควร แล้วจึง "ให้" จึง "เสีย"!
ก็ยิ่งเลิศ ยิ่งยอดยิ่งแลที่สุด เรา "ให้" ด้วยจิตสงบจิตเฉย
"เสียสละ" ด้วยจิตเปล่า ไม่ต้องการอะไรมาตอบแทน "ให้"โดยไม่มีจิตคิดแลกเอาอะไร
แม้แต่เพียงเผลอยึดเอาคุณธรรม ความดีนี้ไว้เพื่ออวดอ้าง ข่มกับผู้อื่นก็ไม่มี
ก็ยิ่งนั่นแหละคือ ยอดธรรมเลิศมนุษย์ สำหรับผู้ทำได้ เป็นได้
(11 พ.ย. 2519)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
23.
สะอาด ผ่องใส โดดเด่น รุ่งแจ้ง
สงบ สุดยอดแห่งความสุข
(11 พ.ย. 2519)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
24.
ผู้เห็น "โลกธรรม" เป็นสิ่งน่าได้น่ามี น่าสะสมแสวงหา
ก็จะสำคัญมั่นหมาย เอาตายเอาเป็นอยู่กับ "โลกธรรม"
สุข-ทุกข์อยู่กับ "โลกธรรม"
ผู้เห็น "โลกุตรธรรม"
แท้จริงเท่านั้นที่จะเลิก สุข-ทุกข์ กับ "โลกธรรม"
ได้แท้จริง จริงๆ
(11 พ.ย. 2519)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
25.
ผู้รู้ตัวว่ามี "ภาระ" แล้วรู้จักขีด "ขอบเขต"
ของภาระไม่ให้โตใหญ่ หรือ เพิ่มให้แรงขึ่นมาอีก และไม่หา "ภาระ"ใหม่มาให้ตนอย่างฉลาด
ก็มีวันจะสิ้น "ภาระ" ได้แน่นอน
(11 พ.ย. 2519)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
26.
"ผู้ที่ได้ตักบาตรกับพระอริยะเพียงหนึ่งครั้งนั้น
ได้บุญยิ่งกว่า ผู้ตักบาตรกับพระ ที่ไม่ใช่อริยะร้อยครั้ง"
ดังนั้นการ "ตักบาตร" จึงควรใช้ "ปัญญา"
(30 พ.ย. 2519)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
27.
"นิพพาน" นั้นคือ ความสุขที่ยิ่งกว่าความสุข
ซึ่งมนุษย์ควร "รู้" และควรไปให้ได้แท้จริงที่สุด
ผู้รู้จักแม้เพียง "นิพพาน"น้อยๆ ก็จะยืนยันได้ ดังนั้น
จงรู้ "หนทางที่จะไปให้ได้" แล้วก็ตั้งหน้าตั้งตา
ไป
ไป
ไป
ให้ถึงเถิด!
(30 พ.ย. 2519)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
28.
ผู้รู้
เพียง "รู้" แม้จะรู้อย่างเก่งยอดปานใดก็ตาม
ถ้าตน "ทำ"ไม่ได้! "เป็น" ไม่ได้ตามนั้น!
ก็ยังไม่เชื่อว่า "เป็นผู้ข้ามได้แล้วถึงฝั่ง"
(30 พ.ย. 2519)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
29.
ผู้จะข้ามฝั่งไปนิพพานได้นั้น จะต้องรู้จัก "ภาระ"
ทั้งที่เราแบกหามรับผิดชอบอยู่นอกตัว และทั้งในตัวเองที่เป็นภาระให้แก่ตัวเอง
แล้วอย่าให้ภาระนั้นโตก่อนอื่น จากนั้นก็เร่งมือทำภาระที่มีนั้นให้หมด
ให้ลดละ ปละปล่อยให้ได้สิ้น
(19 ธ.ค. 2519)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
30.
ผู้สิ้นภาระแล้วจะเป็นอยู่กับสิ่งที่ตนเห็น ด้วยอธิปัญญาว่าเหมาะควรอย่างไม่มีภาระสนิทใจแท้
เป็นสัมมากัมมันตะ เป็นสัมมาอาชีวะได้อย่างมีประโยชน์สูง - ประโยชน์สุดจริงๆ
(19 ธ.ค. 2519)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
31.
การได้เห็น "พระอริยะ" แล้วอนุโมทนานั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นคนที่มีบุญยิ่งแล้ว
แต่จะดียิ่งกว่านั้นอีกถ้าเข้าหา "พระอริยะ" เรียนรู้ความเป็น
"พระอริยะ" แล้วทำตนให้เป็น "พระอริยะ"
ให้ได้ด้วย ก็ยิ่งเป็นบุญยิ่งๆ ขึ้นเป็นระดับๆ ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นๆ
(22 ธ.ค. 2519)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
32.
ผู้ "ฉลาดน้อย"
(โง่) จะเห็น "ความงาม" ได้เพียงสี เพียงรูป เพียงกลิ่น
เพียงรสสัมผัสต่างๆ เท่านั้น ผู้ "ฉลาดมากกว่า" (อริยะ)
จะเจาะเห็น "ความงาม" ที่เหนือชั้นหรือลึกซื้งได้ยิ่งกว่านั้น
(19 ธ.ค. 2519)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
33.
"ความโกรธ" ไม่เคยทำให้ผู้โกรธ
เป็นสุข หรือเอร็ดอร่อยเลย คนโง่เท่านั้นที่จะยังโกรธ เหตุอันเลวแท้ที่ทำให้คนโกรธได้ง่ายที่สุดคือ
"การเอาแต่ใจตัว" ผู้ฉลาดแท้ (อริยะ) ย่อม "ไม่เห็นแก่ตัว"
แม้ที่สุดไม่เห็นแก่ "ใจ" (ที่ยึดซึ่งจะเอาแต่ตามที่ใจตัวเห็นดี)
ของตัวเอง
(19 ธ.ค. 2519)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
34.
"ชีวิต" คือ
การเกิดมาเพื่อ "หัดกระทำ" ผู้กระทำดี ฝึกดี หัดดี
ก็จะได้ดีไป ผู้กระทำชั่ว ฝึกแต่ตามใจกิเลส หัดแต่สิ่งไปสู่ทางต่ำ
ก็จะได้แต่ชั่ว ได้แต่กิเลส ได้แต่ความต่ำไป แม้ภายนอกของผู้นั้นจะมีเงินร่ำรวย
จะมียศล้นฟ้า จะมีความงามสุดโลก จะมีเสียงไพเราะสุดใจ หรือจะมียอดสมบัติใดๆ
อีก อีกก็ตามที่ไม่ใช่คุณสมบัติแห่งมโนธรรม ก็จะไม่ใช่ "ความดีแท้
สูงแท้" ที่ชีวิตเกิดมาเพื่อจะได้เลย
(20 ธ.ค. 2519)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
35.
ลาภ-ยศ-สรรเสริญ และความรัก-ความต้องการอย่างนั้นอย่างนี้ให้ได้สมใจเรา
(เมื่อสมใจก็เรียกมันว่า "สุข" นั้น มันเป็นนายคนที่โง่
คนที่ยอมเป็นทาสมันมามากว่ามาก ผู้ลดความต้องการใดๆ ลงได้บ้าง
จะสุขจะแจ่มใส คลายเศร้าลงบ้าง ถ้าลดความต้องการต่างๆ ที่เรารู้มันจริงได้มากเท่าใด
ผู้นั้นชื่อว่า ผู้พ้นทุกข์ ผู้ประเสริฐ ผู้แสนฉลาดมากเท่านั้นๆ
(22 ธ.ค. 2519)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
36.
คนผู้ไม่รู้ว่า "ธรรมะ"
เป็นของดีนั้น "โง่" กว่าผู้ที่รู้ว่า "ธรรมะ"
เป็นของดีแท้ นั้นก็จริง แต่ผู้ที่รู้ว่า "ธรรมะ"
เป็นของดีแท้ ทว่า
ไม่พยายามไขว่คว้าเอา "ธรรมะ"
นั้นมาให้แก่ตนสิ "โง่" ยิ่งกว่าใครไปเสียอีกโดยแท้จริง
ดังนั้นพยายามใดเพื่อ "โลกียารมณ์" เท่าไหร่ๆ เรายังพยายามได้
ก็ทำไมจะพยายามเพื่อ "โลกุตระ" ให้แก่ตนแท้ๆ จริงๆ
บ้างไม่ได้เล่า?
(22 ธ.ค. 2519)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
37.
ความมั่งมีเงินทอง ความไม่ต้องทำงานอะไรเลยนั้น
ไม่ได้หมายความว่า คือการมีความสุข หรือความไม่มีเงินทอง ความที่ต้องทำงานมากๆ
ก็ไม่ได้หมายความว่า คือ การมีความทุกข์ แต่ความมีการงานที่สุจริตมีประโยชน์แท้นั่นสิ
เป็นความดีล้นที่มนุษย์ควรเป็น และไม่ต้องมีเงินทองให้มากมาย
นั้นสิกลับ เบา ง่าย ว่าง ไม่เป็นภาระ ดีเสียยิ่งกว่า ซ้ำไม่ต้องเป็นภัยแก่ตนเสียอีกด้วย
(23 ธ.ค. 2519)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
38.
"คน"นั้นเกิดมามักจะหลงเข้าใจว่า เราเกิดมาเพื่อ
"จะเอา" จะ "อยากได้" ให้ได้มากๆ นั้นเป็นความดี-ความประเสริฐ
จึงได้ทำให้แต่ตนอยู่อย่างไม่รู้ลด ซึ่งเป็นการขาดทุนที่สุด
แต่แท้จริงแล้วความประเสริฐ-ความดีนั้นคือ "การให้"
และ "ความหมดอยาก" นั่นต่างหาก จงสะสมความดี ความประเสริฐให้ถูกให้ตรงแท้ๆ
เถิด เกิดมาเป็นคนทั้งที
(24 ธ.ค. 2519)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
39.
การทำตนให้สภาพภายนอกของเรา "ดี" ไว้เสมอนั้น ก็ดีมากแล้วสำหรับมนุษย์
ยิ่งได้ทำ "ใจ" ของเราให้สะอาด ไม่สะสมความพยาบาท
ไม่สะสมความใคร่อยาก ไม่สะสมความเบียดเบียนให้ได้ ก็ยิ่ง "ดียิ่ง"
ขึ้นไปอีก และนั้นแหละทางเดินไปสู่นิพพานแท้ๆ
(24 ธ.ค. 2519)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
40.
ทำ "ความรู้แจ้ง - รู้กระจ่าง - รู้ชัด - รู้ให้ง่ายให้ถึงจุดแท้นั้นเถิดแล้วค่อย
"รู้มาก" หรือ "รู้เพิ่ม"
(3 ม.ค. 2520)
- กลับไปที่หัวเรื่อง
ยังมีต่อ......
|