Index Page 1/1 Index Page Close

หน้าแรก >[04] กสิกรรม > คกร. > หลักสูตรสัจธรรมชีวิต

สารบัญ | โครงการ | ระเบียบการ | อุดมการณ์-ปรัชญา | หลักสูตร | เนื้อหา-กิจกรรม | ดำเนินการอบรม | ประเมินผล | กฎระเบียบพื้นฐาน | สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ | แผน-คู่มือฝึกอบรม

[1] ความเป็นมาของโครงการพัฒนาศักยภาพชีวิตเกษตรกร

ลูกหนี้ที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้

สืบเนื่องจากการปล่อยเงินกู้ของ ธนาคารการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้ปล่อยเงินกู้ให้แก่ชาวเกษตรกร (ธกส.) แต่เมื่อถึงเวลาชำระหนี้ ชาวเกตรกรไม่สามารถชำระได้ทันตามกำหนด ทำให้ยอดค้างชำระสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะมีสาเหตุมาจาก ผลผลิตของเกษตรกรไม่ได้ผลตามทีกำหนด การมีการนำเงินกู้ไปใช้ผิดประเภท รัฐบาลยึงยื่นมือเข้ามาดุแล เพื่อแกไขปัญหาลูกหนี้ที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้
เกิดนโนบายพักหนี้เกษตรกรรายย่อย 3 ปี (รอบแรกไม่เกิน 1 แสนคน – 2,100,000 คน)
โดยให้ ธกส. ออกนโยบาย แบ่งลูกหนี้ (เกษตรกร) ออกเป็น 2 ประเภทคือ ลูกหนี้ที่สามารถชำระหนี้ได้ กับลูกหนี้ที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้

กรณีลูกหนี้ที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ รัฐชดเชยดอกเบี้ยแทนให้ 6,000 พันล้านบาท
ลูกหนี้ที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ จะถูกคัดเลือก 800,000 คน เข้าโครงการพักหนี้ ซึ่งเรียกว่า โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ส่วนลูกหนี้ที่ไม่เข้าโครงการ คือไม่ขอพักหนี้ จะได้รับส่วนลดดอกเบี้ย ร้อยละ 3

แนวคิดของ ธกส. ในการบริหารและจัดการโครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร

ในการบริหารโครงการพัฒนาศักยภาพ ใช้วงเงินงบประมาณ 300 ล้านบาท เพื่อใช้จ่ายดังนี้

1. ร้อยละ 60 ให้ใช้แนวทางของชาวอโศก (เศรษฐกิจพึ่งตน ชุมชนเข้มแข็ง ประชามีธรรม ประเทศมีไท)

2. ร้อยละ 20 ใช้แนวทางของหมออภิสิทธิ์ และอาจารย์อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น

3. ร้อยละ 20 ใช้แนวทางของ สจส. และ ธกส.

เฉพาะในส่วนของแนวทางชาวอโศก ได้จัดสรรการบริหารโครงการเป็น 4 กลุ่มวงแหวน คือ

1. กลุ่มเกษตรกรที่ขอเข้าร่วมโครงการ ประมาณ 480,000 คน

2. ผู้ที่จะเข้ามาร่วมบริหารโครงการด้วย คือ เครือข่ายเกษตรกรแนวร่วม

3. ผู้ที่จะเข้ามาร่วมกิจกรรมให้การฝึกอบรม คือ เครือข่ายญาติธรรมชาวอโศก

4. พุทธสถานต่างๆ ของชาวอโศก ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ จะเป็นศูนย์ฝึกอบรม และเป็นสถานฝึกอบรมหลักๆ ของโครงการ (รับจำนวนผู้เข้ารับการอบรมได้ ปีละไม่น้อยกว่า 30 รุ่น รุ่นละประมาณ 100 คน)

การจัดองค์กรเครือข่ายชาวอโศก เพื่อดำเนินการโครงการ

แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เครือข่ายชุมชนชาวอโศก เครือข่ายแนวร่วมโครงการชุมชนเข้มแข็งประเทศชาติมั่นคง ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อสังคม (SIF) และพุทธสถาน หรือสังฆสถาน

1. เครือข่ายชุมชนชาวอโศก (ชุมชน กลุ่มผู้ปฏิบัติธรรม กลุ่มญาติธรรมรายย่อย) ได้แก่

-กลุ่มวังน้ำเขียว
-กลุ่มอินทร์บุรี
-กลุ่มสวนส่างฝัน
-ชุมชนหินผาฟ้าน้ำ
-กลุ่มเลไลย์อโศก
-กลุ่มขอนแก่นอโศก
-กลุ่มสกลอโศก
-โรงเรียนผู้นำ ของพลตรีจำลอง ศรีเมือง
-กลุ่มเรณูนคร
-กลุ่มบ้านสวนยั่งยืน เชียงราย
-กลุ่มน้ำหนาว
-กลุ่มบ้านสวนดอยหลวง เชียงดาว
-กลุ่มหินตัด บุรีรัมย์
-กลุ่มดินหนองแดนเหนือ

2. เครือข่ายแนวร่วมสหข่ายองค์กรชุมชนคนศรีสะเกษ (กองทุนเพื่อสังคม SIF) ได้แก่

-โรงปุ๋ยศีรษะอโศก 5 โรง
-โรงปุ๋ยที่วังหิน
-โรงปุ๋ยที่ อ.พยุห์
-โรงปุ๋ย ที่ อ.อุทุมพรพิสัย
-โรงปุ๋ยที่ อ.กันทรารมย์
-ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมฯ สีคิ้ว
-โรงปุ๋ยบ้านม่วง อุบลราชธานี

3. พุทธสถาน และสังฆสถาน
-พุทธสถานราชธานีอโศก
-พุทธสถานศีรษะอโศก
-พุทธสถานปฐมอโศก
-พุทธสถานสันติอโศก
-พุทธสถานสีมาอโศก
-พุทธสถานศาลีอโศก
-พุทธสถานทักษิณอโศก
-สังฆสถานภูผาฟ้าน้ำ

การเตรียมความพร้อม

ด้านวิทยากร ได้จาก
1. เจ้าหน้าที่จากศูนย์ สจส.
2. เครือข่ายอโศก (ส่วนกลาง)
3. วิทยากรพิเศษ วิทยากรรับเชิญ
4. วิทยากรในท้องถิ่น

ด้านสถานที่ คือการจัดหา สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการประชุมอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เช่น บ้านพัก, ห้องน้ำ, ห้องประชุม, อุปกรณ์โสตฯ, ห้องครัว, เครื่องนอน, แปลงฝึกงานเกษตร, โรงปุ๋ย, โรงเห็ด, ฐานแปรรูปการเกษตร, ยานพาหนะ, ฯลฯ

ด้านหลักสูตร ได้แบ่งสาระและเป้าหมายของหลักสูตรออกเป็น 3 ระดับคือ

1. ด้านคุณธรรม ร้อยละ 40 เรียกว่าหลักสูตรเงิน สร้างองค์กรเกษตรกร
2. ด้านการงาน ร้อยละ 35 เรียกว่าหลักสูตรทอง กิจกรรมองค์กร
3. ด้านวิชาการ ร้อยละ 25 เรียกว่าหลักสูตรเพชร ผู้บริหาร (ผู้นำ)

โครงสร้างการจัดการ

ให้มีคณะกรรมการกลาง (เครือข่ายแต่ละแห่ง) ประกอบด้วย คณะทำงาน (ผู้ประสานงานกับ ธกส. และ คณะทำงานศูนย์ฝึกอบรม) และมีสำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่ชุมชนศีรษะอโศก ประกอบด้วย งานธุรการ และสื่ออุปกรณ์

[2] ระเบียบการในการเข้าฝึกอบรม

... มีต่อ ...