การประเมินผลหลักสูตรสัจธรรมชีวิต จะนำหลักปรัชญาของศูนย์ฝึกอบรม
มาเป็นเกณฑ์ คือ ศีลเด่น เป็นงาน ชาญชีวิต โดยที่ ในระหว่างการฝึกอบรม
จะเน้นศีลเด่น ร้อยละ 40 เป็นงาน ร้อยละ 35 และ ชาญชีวิต ร้อยละ 25 แต่เมื่อกลับไปอยู่บ้าน
การประเมินผลของศีลเด่น คิดเป็นร้อยละ 25 เป็นงาน ร้อยละ 40 และชาญชีวิต
ร้อยละ 35 (หมายเหตุ: ประเมินผลศีลเด่น คิดเป็นร้อยละ 25 มิได้หมายความว่า
จะให้ปฏิบิตศีลน้อยลง แต่กลับต้องเอาจริงในการรักษาศีลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
เพราะการรักษาศีลเมื่ออยู่ที่บ้าน ย่อมทำได้ยากกว่าอยู่วัด ดังนั้น เพื่อให้ผลการประเมินศีลเด่น
เมื่ออยู่บ้าน กับอยู่ที่วัด มีค่าใกล้เคียงกัน คือให้สามารถผ่านเกณฑ์ได้
จึงต้องลดเกณฑ์จากร้อยละ 40 ลงมาเป็น ร้อยละ 25)
วิธีการที่จะนำมาใช้ในการประเมินผล คือ บันทึกการสังเกตพฤติกรรม
แบบสอบถาม และ การสัมภาษณ์
1. เกณฑ์การวัดผลประเมินผล
1.1 ศีลเด่น (เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม)
ผู้เข้ารับการอบรมสามารถปฏิบัติพฤติกรรมต่อไปนี้ได้ทุกข้อ ตลอดเวลาที่อยู่ฝึกอบรม
1.1.1 บอกความหมายของศีล 5 แต่ละข้อได้ถูกต้อง
1.1.2 บอกผลวิบากของการทำผิดศีล
และอานิสงส์ของการรักษาศีล 5 ได้ถูกต้อง
1.1.3 ไม่ตบยุง หรือฆ่าสัตว์อื่น
โดยเจตนา และช่วยเหลือสัตว์เมื่อได้รับความเดือดร้อน
1.1.4 รับประทานอาหารมังสวิรัติวันละ
2 มื้อได้โดยไม่ยากไม่ลำบาก และไม่มีเศษอาหารเหลือทิ้ง
1.1.5 ไม่หยิบเอาของผู้อื่นมาเป็นของตน
โดยเจ้าของไม่อนุญาต ช่วยเหลือผู้อื่นด้วย
สิ่งของ แรงกาย โดยไม่รับค่าตอบแทนใดๆได้ โดยไม่ยากไม่ลำบาก
1.1.6 ไม่แสดงกิริยาอาการที่ส่อไปในทางชู้สาว
กับผู้ที่มิใช่คู่สมรสของตน หรือ ผู้ที่มี
ผู้ปกครองที่ยังหวงห้ามอยู่
1.1.7 ไม่นุ่งกางเกงขาสั้น ไม่สวมเสื้อแขนกุด
เสื้อผ้ารัดรูป หรือแต่งกายที่ส่อไปในทางยั่วกามารมณ์ หรือแต่งงามจนเกินพอเหมาะ
1.1.8 ไม่เข้าไปในเขตที่ไม่ใช่เขตตน
ในเวลาวิกาล (หลัง 18.00 น. ถึง ก่อน 06.00 น.ของวันถัดไป) เว้นแต่มีเหตุจำเป็น
และได้รับอนุญาตจากสมณะ
1.1.9 ไม่พูดคำเท็จ พูดส่อเสียด
นินทา เพ้อเจ้อไร้สาระ หรือพูดให้ร้ายต่อผู้อื่น หรือพูดส่อไปในทางยั่วกามารมณ์
(พูดสองแง่ คำผวนไม่สุภาพ)
1.1.10 เมื่อถึงเวลานอน หรือในช่วงมีพิธีการ
ไม่พูดหยอกล้อ หรือส่งเสียงดังรบกวน
1.1.11 อาบน้ำวันละ 1 ครั้งได้โดยไม่ยากไม่ลำบาก
1.1.12 เว้นขาดจากการเสพอบายมุขที่เคยติด
เช่น บุหรี่ สุรา หวย มวย ได้โดยไม่ยากไม่ลำบาก
1.1.13 เว้นขาดจากการดูโทรทัศน์ที่ตนชอบได้
โดยไม่ยากไม่ลำบาก และอยู่นั่งดูรายการที่จัดไว้ให้อย่างตั้งใจจนจบรายการ
1.1.14 ไม่นำของมึนเมา หรือสิ่งที่เป็นพิษ
อาวุธ เข้ามาในบริเวณศูนย์ฝึกอบรม
1.1.15 ไม่แสดงอาการร้อนรน หรือซึมเศร้า
เมื่อหิว อยาก ง่วง กระหาย ร้อน หนาว เหนื่อย หนัก แรง โกรธจัด
1.1.16 อดทนอยู่ฝึกอบรมจนจบหลักสูตร
ไม่แอบหนีกลับบ้านก่อน โดยไม่มีเหตุจำเป็น
1.2 เป็นงาน (ความรู้ ความเข้าใจ
การวิเคราะห์ และทักษะการปฏิบัติงาน) ร้อยละ 35 ในระหว่างการฝึกอบรม ผู้เข้ารับการอบรม
จะต้องปฏิบัติสิ่งต่อไปนี้
1.2.1 บอกลักษณะ คุณสมบัติและหน้าที่
ของระบบนิเวศได้ถูกต้อง
1.2.2 อธิบายวิธีทำ วิธีนำไปใช้
และทำน้ำหวานหมักจากพืชสดสีเขียว ทำน้ำหวานหมักจากผลไม้ ทำหัวเชื้อดินจุลินทรีย์หมัก
ได้
1.2.3 อธิบายวิธีทำปุ๋ยหมักฟางชีวภาพในนาข้าว
วิธีทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากมูลสัตว์ได้ถูกต้อง
1.2.4 อธิบายวิธีทำ และประกอบอาหารมังสวิรัติได้อย่างน้อย
1 อย่าง
1.2.5 อธิบายวิธีทำ และแปรรูปข้าวได้อย่างน้อย
1 อย่าง
1.2.6 อธิบายวิธีทำ และทำแชมพูสระผมผสมสมุนไพรได้อย่างน้อย
1 อย่าง
1.2.7 อธิบายวิธีทำ และทำน้ำยาซักล้างในครัวเรือนได้
1.2.8 อธิบายวิธีทำ และเพาะเห็ดเพื่อกินใช้ในครัวเรือนได้
1.2.9 อธิบายวิธีทำ และปรุงยาสมุนไพรพื้นบ้านเพื่อใช้ในครัวเรือนได้อย่างน้อย
1 ชนิด
1.3 ชาญชีวิต (วิเคราะห์ เลือกสรร
สำนึก และตัดสินใจ) ร้อยละ 25 ผู้เข้ารับการอบรมสามารถปฏิบัติสิ่งต่อไปนี้ได้
ทั้งอยู่ในสถานที่ฝึกอบรม และเมื่อกลับไปบ้านแล้ว (ให้เป็นคุณสมบัติติดตัว
ตลอดไป)
1.3.1 เลือกปฏิญญากรรมฐานต่อไปนี้
เพื่อนำไปเป็นอนุสติประจำวัน
ฝืนใจ กำไร ตามใจ ขาดทุน
กินอยู่รู้พึ่งตน เป็นคนจนไม่จนยาก กินอยู่ตามใจอยาก
ยิ่งจนยากลงทุกวัน
ร้อยรู้ไม่สู้หนึ่งทำ
เอ็งมีสิทธิ์เรียกร้อง แต่เอ็งไม่มีสิทธิ์ได้ (* เอ็ง
หมายถึง กิเลส)
เราจะทำในสิ่งที่บุคคลอื่นทำได้ยาก เราอดทนในสิ่งที่บุคคลอื่นทนได้ยาก
เราจะเอาชนะในสิ่งที่บุคคลอื่นเอาชนะได้ยาก เราจะเสียสละในสิ่งที่บุคคลอื่นเสียสละได้ยาก
เสียชีพ อย่าเสียศีล
ขยะกำลังล้นโลกอยู่เป็นนิจ บัดนี้ กู คิดทำอะไรอยู่
1.3.2 ทำน้ำหวานหมักจากพืชสดสีเขียว
ทำน้ำหวานหมักจากผลไม้ ทำหัวเชื้อดิน
จุลินทรีย์หมัก และสามารถนำไปใช้ใน ไร่ นา สวน ได้ ตลอดจนอธิบายวิธีทำได้อย่างถูกต้อง
1.3.3 ทำน้ำยาซักล้าง เพื่อใช้ในครัวเรือนได้
1.3.4 ปลูกสมุนไพรได้หลายชนิด และนำไปใช้เองได้ที่บ้าน
1.3.5 เพาะเห็ด หรือ เพาะถั่วงอก
ไว้ใช้ในครัวเรือนได้เอง
1.3.6 ทำอาหารมังสวิรัติรับประทานเองได้ที่บ้าน
1.3.7 ล้างภาชนะใส่อาหารด้วยตนเอง
ได้ถูกต้องตามขั้นตอน ไม่ทำน้ำแรกสกปรก ตลอดจนเช็ดถู ทำความสะอาดภาชนะก่อนจัดเก็บให้เรียบร้อย
1.3.8 แยกขยะใส่ถังได้ถูกต้อง แล้วนำไปทำประโยชน์
หรือจัดการ ให้ถูกประเภท
1.3.9 เลือกดู ฟัง ข่าวสาร ละคร
ที่เป็นสาระธรรมได้ เช่น รายการตามหาแก่นธรรม รายการวิทยุของท่านจันทเสฏโฐ
ท่านเสียงศีล เป็นต้น
1.3.10 ออกกำลังกายบริหารจิต บริหารกาย
สัปดาห์ละไม่น้อยกว่า 4 วัน
1.3.11 ปฏิบัติกิจกรรมสำนึกกตัญญู
5 ส. ต่อที่พักอาศัย ศาลาฝึกอบรม ห้องน้ำห้องส้วม ทางเดิน โรงครัว โรงฝึกงาน
การใช้น้ำ การใช้ไฟฟ้า อาหาร การแยกขยะ ที่ล้างจาน สุขอนามัยของร่างกาย
และการแต่งกาย ได้อย่างถูกต้อง โดยไม่ยากไม่ลำบาก ได้แก่ สะสาง สะดวก สะอาด
สุขลักษณะ สร้างนิสัย
1.3.12 บันทึกผลต่อไปนี้ เป็นรายวัน
หรือรายสัปดาห์ หรือรายเดือน ลงในแบบฟอร์ม
- ผลการรักษาศีล 5 ลด ละ เลิก
อบายมุข
(แบบประเมินผลคนของแผ่นดิน หมายเลข 1)
- ความดีที่ทำได้ (ฝืนใจไม่ทำตามกิเลสได้สำเร็จ)
และ ความดีที่ได้ทำ (ได้เสีย
สละ ได้ให้อะไร แก่ใคร เมื่อไร เท่าไร)
(แบบประเมินผลคนของแผ่นดิน หมายเลข 1)
- สำนึกกตัญญู 5 ส. (แบบประเมินผลคนของแผ่นดิน
หมายเลข 2)
- ทำบัญชีรายรับ รายจ่าย ประจำเดือน
(แบบประเมินผลคนของแผ่นดิน หมายเลข 3)
- ความคิดใหม่ๆ ทีได้จากการศึกษาค้นคว้า
ทดลอง และปฏิบัติจริง (ถ้ามี)
2. การติดตามผล
เยี่ยมเยียน และดูงานที่บ้าน ตามระยะเวลาที่กำหนด
โดยใช้พฤติกรรมตามข้อ 1.3 ชาญชีวิต เป็นหลักเกณฑ์ในการประเมิน
3. ตรงเวลา และพร้อมเพรียง
ผู้เข้ารับการอบรมทุกคน เข้าห้องเรียน
เข้าฐานงาน ร่วมกิจกรรม ตรงเวลาที่กำหนดในตาราง
4. ตอบแบบประเมินผล
ผู้เข้ารับการอบรมทุกคน
ตอบแบบสอบถามต่อไปนี้ และส่งคืนเจ้าหน้าที่ประเมินผล ก่อนเสร็จสิ้นการอบรม
4.1 การรักษาศีล 5 (แบบประเมินผลคนของแผ่นดิน
หมายเลข 1)
4.2 บัญชีรายรับ รายจ่าย ประจำเดือน
(แบบประเมินผลคนของแผ่นดิน หมายเลข 3)
4.3 แบบประเมินผล หลักสูตรสัจธรรมชีวิต
โครงการพัฒนาศักยภาพ และคุณภาพเกษตรกร
(แบบประเมินผลคนของแผ่นดิน หมายเลข 4)
4.4 แบบสอบถามเรื่องสุขภาพ (แบบประเมินผลคนของแผ่นดิน
หมายเลข 6)
5. ประเมินกิจกรรมสำนึกกตัญญู
5 ส.
ให้ทำการประเมิน ที่พักอาศัย ศาลาฝึกอบรม
ห้องน้ำห้องส้วม ทางเดิน โรงครัว โรงฝึกงาน การใช้น้ำ การใช้ไฟฟ้า อาหารเหลือทิ้ง
การแยกขยะ การล้างจาน ความสะอาดของร่างกาย และการแต่งกาย ทุกวันทำการ ตามแบบประเมินสำนึกกตัญญู
5 ส. (แบบประเมินผลคนของแผ่นดิน หมายเลข 2) แล้ว
รายงานให้ผู้เข้ารับการอบรมทราบ การให้คะแนนคิดเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มก็ได้
ขึ้นอยู่กับกรรมการ
ที่ประเมิน
ผู้ประเมินกิจกรรมสำนึกกตัญญู 5 ส. แบ่งออกเป็น
2 ชุด คือ กรรมการกลาง และ หัวหน้ากลุ่มของแต่ละกลุ่ม เจ้าหน้าที่ของศูนย์ฝึกอบรม
เป็นกรรมการกลางทำหน้าที่ประเมิน ที่พักอาศัย ศาลาฝึกอบรม ห้องน้ำห้องส้วม
ทางเดิน โรงครัว โรงฝึกงาน การใช้น้ำ การใช้ไฟฟ้า อาหารเหลือทิ้ง การแยกขยะ
และการล้างจาน หัวหน้ากลุ่มทำหน้าที่ประเมิน อาหารเหลือทิ้ง ความสะอาดของร่างกาย
และการแต่งกายของสมาชิกแต่ละคน
คะแนนประเมิน แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ คะแนนกลุ่ม
และคะแนนรวม คะแนนกลุ่มได้จากผลการประเมินของกรรมการกลาง รวมกับ ผลการประเมินของหัวหน้ากลุ่ม
ส่วนคะแนนรวม ได้จากความสะอาดเรียบร้อยของ ห้องน้ำห้องส้วม ทางเดิน โรงครัว
โรงฝึกงาน พฤติกรรมการใช้น้ำ ใช้ไฟฟ้า อาหารเหลือทิ้ง การแยกขยะ และการล้างจาน
6. ประเมินคุณภาพบุคลากรศูนย์ฝึกอบรม
เพื่อให้การฝึกอบรมทุกครั้ง
ได้ประโยชน์คุ้มค่า คือ ขณะที่ผู้เข้ารับการอบรมได้รับการพัฒนาศักยภาพชีวิต
เจ้าหน้าที่ของศูนย์ฝึกอบรม ก็ควรจะได้รับการพัฒนาจิตวิญญาณ พัฒนาคุณภาพงาน
และพัฒนาความสามารถ ให้สมบูรณ์ดียิ่งๆ ขึ้นไปด้วย ดังนั้น จึงให้ทำการประเมินคุณภาพของเจ้าหน้าที่ศูนย์ฝึกทุกคน
ทุกฐานะ ในด้าน ศักยภาพและประสิทธิภาพในการทำงาน (ประโยชน์ผู้อื่น) การลดละขัดเกลากิเลสของตน
(ประโยชน์ตน) คุณภาพของผลผลิตแห่งการงาน (ประหยัดสุด ประโยชน์สูง) ตามแบบประเมินตนเองของคนสร้างชาติ
(แบบประเมินผลคนสร้างชาติ หมายเลข 5)
... มีต่อ ..