4/5 Close

หน้าแรก >[04] กสิกรรม > คกร. > หลักสูตรสัจธรรมชีวิต

สารบัญ | โครงการ | ระเบียบการ | อุดมการณ์-ปรัชญา | หลักสูตร | เนื้อหา-กิจกรรม | ดำเนินการอบรม | ประเมินผล | กฎระเบียบพื้นฐาน | สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ | แผน-คู่มือฝึกอบรม

แผน-คู่มือฝึกอบรม 1-2-3-4-5-6-7

วันที่ 2 / 5

วดป. (วันที่ 2)
....................
คาบที่ 1/4
30 นาที
04.30 – 05.00
เนื้อหา กิจกรรม วัตถุประสงค์ สื่อ อุปกรณ์ สถานที่ ผู้รับผิดชอบ ชื่อ วิธีการฝึกอบรม ประเมินผล
[ก-8] สวดมนต์ ทำวัตรเช้า -พิธีทำวัตรเช้า
-สวดมนต์แปล
เพื่อให้ผู้เรียนระลึกถึงธรรม ได้ดวงตาเห็นธรรม ขณะสวดมนต์ และเป็นการสร้างพุทธประเพณีของชาวพุทธ เกิดความสะอาด สว่าง สงบ ขึ้นในจิตใจในระหว่างทำพิธี ศาลาฟังธรรม
บทสวดมนต์แปล
[ส-12]
-สมณะ   -กล่าวนำ
-ปฏิบัติให้ดู
เป็นตัวอย่าง
-ตรงเวลา
-มาพร้อมพรั่ง
-นั่งสงบ
-ครบจำนวน
[1] ผู้เรียนทุกคน เข้าศาลาฟังธรรมนั่งเป็นแถวประจำกลุ่มของตน พร้อมกันกับคนวัดทุกฐานะ (อาคันตุกะจร อาคันตุกะประจำ อารามิก อารามิกา ปะหญิง ปะชาย) ฝ่ายชายนั่งท่าเทพพนม ฝ่ายหญิงนั่งท่าเทพธิดา การกราบ ให้เรียงลำดับก่อนหลัง และแต่ละลำดับ กราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ 3 ครั้ง (กราบแต่ละครั้งนาน 5 วินาที) ดังนี้ สมณะกราบสมณะผู้เป็นประธาน, สามเณร และ สิกขมาตุ กราบสมณะ, นาค และ กรัก กราบสมณะ, ปะหญิง ปะชาย อารามิก อารามิกา อาคันตุกะ และผู้เรียน ตลอดจนฆราวาสทุกฐานะ กราบสมณะพร้อมกัน       -ศีลเด่น
[2] ผู้ร่วมพิธีทำวัตรเช้าทุกคน ทุกฐานะ ทั้งนักบวชและฆราวาส นั่งหันหน้าไปทาง ทิศเดียวกัน (ทิศที่สมณะนั่ง) สมณะผู้เป็นประธาน นำกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา ผู้ร่วมพิธีทุกคน ทุกฐานะ รับกล่าวพร้อมกัน พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง... ไปจนจบคำบูชาพระรัตนตรัย        
[3] ผู้ร่วมพิธีทำวัตรเช้าทุกคน ทุกฐานะ ทั้งนักบวชและฆราวาส เปลี่ยนท่านั่งเป็น ขัดสมาธิ หรือเทพธิดา หรือพับเพียบ สมณะผู้เป็นประธาน นำกล่าวบทปุพพภาคนมการ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต ผู้ร่วมพิธีทุกคน ทุกฐานะ รับกล่าวพร้อมกัน ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น, อะระหะโต ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส, สัมมาสัมพุทธัสสะ ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง, ...(กล่าว 3 จบ) ไปจนจบบทปุพพภาคนมการ        
[4] สมณะผู้เป็นประธาน นำกล่าวบทไตรสรณคมน์ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ, ผู้ร่วมพิธีทุกคน ทุกฐานะ รับกล่าวพร้อมกัน ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง, ...(กล่าวซ้ำ ทุติยัมปิ...ตะติยัมปิ...) ไปจนจบบทไตรสรณคมน์        
[5] สมณะผู้เป็นประธาน นำกล่าวบทพุทธานุสสติ อิติปิ โส ภะคะวา, ผู้ร่วมพิธีทุกคน ทุกฐานะ รับกล่าวพร้อมกัน เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ...ไปจนจบบทพุทธานุสสติ ต่อด้วยบทธัมมานุสสติ และบทสังฆานุสสติ        
[6] สมณะผู้เป็นประธาน นำกล่าวบทชยปริต มหากรุณิโก นาโถ ผู้ร่วมพิธีทุกคน ทุกฐานะ รับกล่าวพร้อมกัน พระโลกนาถ ผู้ทรงพระกรุณาอันยิ่งใหญ่, ...ไปจนจบบทชยปริต        
[7] สมณะผู้เป็นประธาน นำกล่าวบทภวตุสัพ ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง, ผู้ร่วมพิธีทุกคน ทุกฐานะ รับกล่าวพร้อมกัน มงคลทั้งปวง, พึงเกิดขึ้น ...ไปจนจบบทภวตุสัพ เป็นอันเสร็จสิ้นการสวดมนต์ทำวัตรเช้า        
วดป. (วันที่ 2)
....................
คาบที่ 1/8
60 นาที
05.00 – 06.00
[ก-9] ฟังธรรม (ธรรมะก่อนรุ่งอรุณ)สมณะบรรยายธรรมะก่อนรุ่งอรุณ เรื่อง ชีวิตที่ปลอดหนี้ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ต้นเหตุแห่งการเป็นหนี้ และเห็นโทษภัยของความเป็นหนี้ จนเกิดจิตสำนึกที่ จะเปลี่ยนแปลงชีวิต จากเป็นคนไม่มีศีล กลายเป็นคนมีศีล โสตทัศนูปกรณ์
[ส-2 (1)]
-สมณะ   บรรยายธรรม -ตรงเวลา
-มาพร้อมพรั่ง
-นั่งสงบ
-ครบจำนวน
หนี้ เป็น ภาระ ที่จะต้องชดใช้ ทั้งหนี้ทางวัตถุ เงินทอง และหนี้ทางธรรม หรือ หนี้กรรม หนี้เกิดจากพฤติกรรมที่ผิดศีล ดังนั้น ชีวิตที่ปลอดหนี้ หมายถึง พฤติกรรมการกิน อยู่ หลับนอน ที่ไม่ละเมิดศีล 5 เป็นอย่างต่ำ กล่าวคือ (1) นอกจากไม่ฆ่า ทำร้ายสัตว์แล้ว ยังต้องไม่เป็นผู้ที่เป็นเหตุแห่งการฆ่าหรือทำลายสัตว์เหล่านั้นด้วย จนเกิดเมตตาธรรมขึ้นในจิตใจจริงๆ (2) นอกจากไม่ลักทรัพย์ ไม่เอาเปรียบคนอื่นแล้ว ยังต้องเสียสละทรัพย์ เสียสละแรงงาน โดยรับค่าตอบแทนน้อยๆ หรือไม่รับเลย สรุปว่าเป็นผู้ “เสียเปรียบ” ให้ได้ จริงๆ (3) นอกจากไม่ประพฤตผิดภรรยา สามี ลูก หรือบุคคลที่มี ผู้ปกครอง หวงแหน แล้ว ยังต้องลด ละ เลิก กามคุณ และสังวรระวังกาย วาจา ใจ ที่จะไม่เปิดช่องทางให้ประพฤตผิดในกามทั้งหลาย (4) นอกจากไม่พูดปด พูดส่อเสียด พูดด่า พูดเพ้อเจ้อ แล้ว ยังต้องพูดแต่สิ่งที่เป็นสาระ เป็นธรรม (5) นอกจากจะไม่ดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือเสพของมึนเมา หรือบริโภคสิ่งมอมเมาทั้งหลายแล้ว เช่น อบายมุขทุกชนิด ยังต้องเป็นผู้มีสติ มีสมาธิ ที่มั่นคง ไม่หวั่นไหว รู้ ตื่น เบิกบานจบกิจกรรม กราบลาพระรัตนตรัย แบบเบญจางคประดิษฐ์ 3 ครั้ง (หลังจากสมณะ สามเณร สิกขมาตุ นาค กรักกราบแล้ว ตามลำดับ)       -จดบันทึก
-ไม่โงกง่วง

-กราบได้พร้อม
เพรียง
วดป. (วันที่ 2)
....................
คาบที่ 1/4
30 นาที
06.00 – 06.30
[ก-28] กิจกรรมหน้าเสาธง -ร้องเพลงชาติ สวดมนต์
-ปลุกเร้าให้นิยมไทย วิเคราะห์ข่าวเด่นข่าวดังประจำวัน
  เพลงชาติ, เพลงคนสร้างชาติ, หนังสือพิมพ์, ภาพตัวอย่าง, เสียงตัวอย่าง -พิธีกร
-พี่เลี้ยง
-นันทนากร
  -บรรยาย
ประกอบสื่อ
-วิเคราะห์
-ตรงเวลา
-มาพร้อมพรั่ง
-นั่งสงบ
-ครบจำนวน
-ว่องไว
[1] ผู้เรียนทุกคน และพี่เลี้ยง เข้าแถวเคารพธงชาติ ตัวแทนผู้เรียนคนหนึ่งออกไปเชิญธง และนำสวดมนต์ไหว้พระ เพื่อปลุกเร้าผู้เรียนให้เกิดความพร้อมเพียง รักชาติ นิยมไทย มั่นใจในพระพุทธศาสนา เทิดทูนองค์พระมหากษัตริย์        
[2] ผู้อำนวยการศูนย์ฝึก กล่าวปลุกเร้าให้รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อย่างมีสัมมาทิฐิ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นคนไทย พร้อมที่จะรวมใจให้เป็นหนึ่งเดียว ในการกอบกู้อิสรภาพจากจักรวรรดินิยม-ทุนนิยม ตระหนักในคุณค่าของ คนดีที่มีความกล้าหาญทางจริยธรรม รู้สึกร่วมรับผิดชอบต่อทรัพยากรของชาติ พร้อมที่จะประพฤติปฏิบัติตามแนวพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว        
[3] พิธีกรคัดเลือกข่าวเด่นข่าวดังประจำวัน แล้ววิเคราะห์ว่า มีความน่าเชื่อถือ มีผลกระทบต่อทรัพยากรของชาติ กระทบต่อศีลธรรมข้อใด อย่างไร วิธีแก้ไข ป้องกัน และส่งเสริม[4] มอบหมายงานให้ไปหาข่าวมาวิเคราะห์ในวันถัดไป เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจ และรู้จักวิเคราะห์ คัดเลือก บริโภคข่าวสาร ที่มีประโยชน์ พาให้ลด ละ เลิก สิ่งมอมเมาทั้งหลาย เป็นผู้รู้เท่าทันสื่อโฆษณาชวนเชื่อ        
วดป. (วันที่ 2)
....................
คาบที่ 1/4
30 นาที
06.30 – 07.00
[ก-29] ปลุกจิตสำนึก บริหารกาย (วิ่ง โยคะ ไทเก็ก) 1. อุ่นร่างกายก่อนออกกำลัง (warming up)
2. นอกอาคาร (วิ่ง-เดิน นวดฝ่าเท้า สูดอากาศบริสุทธิ์)
3. ในอาคาร (โยคะ หรือ ไทเก็ก สัมพันธภาพระหว่างลมหายใจ กับท่วงท่า)
  เทปวิดีโอแสดงท่าโยคะ และ ไทเก็ก -นันทนากร   -สาธิต แนะนำ
-ทำให้ดูเป็น
ตัวอย่าง
-สังเกต
-พร้อมเพรียง
-อดทน ว่องไว
-ครบจำนวน
  [1] ผู้เรียนแต่ละกลุ่ม เข้าแถวกลางสนาม เป็นแถวตอนลึกระยะห่าง 1 ช่วงแขน แล้วแสดงท่าอุ่นร่างกายตามที่ นันทนากร หรือ เทปวิดีโอ แนะนำ เพื่อเสริมสร้าง ร่างกายให้แข็งแรง ให้ผู้เรียน ได้ร่วมกิจกรรมจังหวะเป็นกลุ่ม สร้างความสามัคคี ความพร้อมเพรียง ตลอดจน ให้ตระหนักในความสำคัญ ของการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ        
  [2] แบ่งผู้เรียนออกเป็น 2 กลุ่ม (2 ชุด) เข้าแถวกลางสนาม เป็นแถวตอนลึก ระยะห่าง 1 ช่วงแขน แล้วออกวิ่ง-เดิน ด้วยเท้าเปล่า พร้อมเปล่งคำปลุกจิตสำนึก ตามที่นันทนากรแนะนำ เพื่อฝึกความอดทน และตระหนักในคุณค่าของการนวดฝ่าเท้าด้วยการวิ่งและเดินสลับกัน ตลอดจนได้บริหารปอด สูดอากาศบริสุทธิ์        
  [3] ผู้เรียนเข้าแถวภายในอาคาร เป็นแถวตอนลึก ระยะห่าง 1 ช่วงแขน แล้วแสดงท่าบริหารกายแบบโยคะ หรือแบบไทเก็ก โดยให้ลมหายใจกับกระบวนท่าสัมพันธ์กัน ตามที่นันทนากร หรือเทปวิดีโอ แนะนำ เพื่อเสริมสร้างภูมิร่างกายของผู้เรียนให้แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย ฝึกลมหายใจอย่างมีสติ ฝึกความอดทน รอได้ คอยได้        
วดป. (วันที่ 2)
....................
คาบที่ 1/3
120 นาที
07.00 – 09.00
[ก-11] เรียนรู้ด้วยการกระทำ ปฏิบัติกิจกรรมในพื้นที่
1. สัมผัสแม่ธรณีที่ “สวนเบิกบุญ”ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่ม เลือกเครื่องมือสำหรับดายหญ้า และบัวรดน้ำ พร้อมด้วยน้ำหมักจุลินทรีย์ ลงปฏิบัติพื้นที่ที่จัดแบ่งไว้ให้ (สวนเบิกบุญ) ปฏิบัติกรบรรยายคุณค่าของพืชคลุมดิน หน้าที่ของจุลินทรีย์ และสาธิตวิธีคลุมหญ้า คลุมฟาง และรดด้วยน้ำหมักจุลินทรีย์
เพื่อปลูกฝังทัศนะใหม่ให้แก่ผู้เรียน ให้เห็นว่าวัชพืช ไม่ใช่ศัตรูของพืช แต่เป็นอาหารของพืช และเป็นวัสดุบำรุงดิน สามารถนำไปเป็นปุ๋ยพืชสดได้ โดยมีจุลินทรีย์เป็นตัวเร่ง เคียว, รถเข็น, เข่งใส่วัชพืช, มีดดายหญ้า,จอบ, กรรไกรตัดหญ้า,
น้ำหมักจุลินทรีย์, เครื่องฉีดพ่นน้ำหมัก, บัวรดน้ำ [ส-20]
เพลงงานหนักไม่เคยฆ่าคน [ส-36(2)]
-ปฏิบัติกร
-พี่เลี้ยง
-นักวิชาการ
  -สาธิต
-พาทำ
-อธิบาย แนะนำ
-ซักถาม
-สังเกต
-พร้อมเพรียง
-กระตือรือร้น
-มีคำถาม-เป็นงาน
วดป. (วันที่ 2)
....................
คาบที่ 1/3
30 นาที
09.00 – 09.30
[ก-20] วัฒนธรรมชุมชน สาธิต และ แสดงบทบาทสมมุติ หรือชมภาพวิดีโอ
1. เรื่อง วัฒนธรรมการล้างจาน ได้ล้างใจ[1] นักเรียนสัมมาสิกขา (เจ้าหน้าที่บริการ 5 ส.) แสดงบทบาทสมมุติ ประวัติ ที่มา สาเหตุ และความจำเป็น ของกิจกรรมล้างจาน สาธิตวิธีการล้างจาน ใครทำน้ำแรกสกปรก สอบตกเรื่องล้างจานให้ผู้ชมช่วยกันวิเคราะห์เหตุการณ์ในละคร หรือเหตุการณ์ในสารคดี ว่าเห็นคุณธรรมข้อใดบ้าง
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ และรู้วิธีการล้างจานที่ถูกต้อง ประหยัดสุด ประโยชน์สูง และพร้อมที่จะนำไปประพฤติปฏิบัติที่บ้านได้ -โสตทัศนูปกรณ์
[ส-2 – 3]
-เวทีการแสดง
พิธีกร, นักเรียนสัมมาสิกขา, ผู้กำกับเวที, เจ้าหน้าที่เทคนิคแสง เสียง และโสตทัศนูปกรณ์, เจ้าหน้าที่ศิลปกรรม   แสดงบทบาทสมมุติ (โดย
นักเรียนสัมมาสิกขา) หรือ
ชมภาพวิดีโอ
-สังเกต
-พร้อมเพรียง
-อยู่ร่วมกิจกรรม-มีคำตอบ
วดป. (วันที่ 2)
....................
คาบที่ 2/8
60 นาที
09.30 – 10.30
[ก-9] ฟังธรรม (ธรรมะก่อนฉัน) สมณะบรรยายธรรมะก่อนฉัน เรื่อง
ชีวิตที่ปลอดภัยจบกิจกรรม กลาบเคารพพระธรรม 1 ครั้ง
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ เรื่องผลกรรมของ การทำผิดศีล และอานิสงส์ของศีล และผู้เรียนสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมที่ทำผิดศีลได้ด้วย โสตทัศนูปกรณ์
[ส-2 (1)]
-สมณะ   บรรยายธรรม -ตรงเวลา
-มาพร้อมพรั่ง
-นั่งสงบ
-ครบจำนวน
  สมณะบรรยายธรรม เรื่อง ชีวิตที่ปลอดภัย ภัยของชีวิต ได้แก่ ภัยที่เกิดจากการละเมิดศีล ผลกรรมแห่งการทำผิดศีล 5 ข้อ ศีลที่เป็นกุศล จะส่งผลทำให้ชีวิตปลอดภัย ปลอดภัยจากโรค หรือมีโรคเบียดเบียนน้อย เพราะกินอาหารมังสวิรัติ ปลอดภัยจากการทำร้าย เพราะมีจิตเมตตา กรุณา ปลอดภัยจากโจร เพราะเป็นผู้มักน้อย สันโดษ ปลอดภัยจากการลอบประทุษร้ายทั้งทางกาย วาจา เพราะไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่เป็นผู้พูดปด พูดส่อเสียด พูดด่า พูดเพ้อเจ้อ ปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ เพราะเป็นผู้มีสติสมบูรณ์ ไม่เป็นทาสของสิ่งเสพติดทั้งปวง มีของมึนเมา เป็นต้น       -จดบันทึก
-ไม่โงกง่วง
วดป. (วันที่ 2)
....................
คาบที่ 3/9
30-60 นาที
10.30 – 11.30
[ก-12] รับประทานอาหาร (มื้อกลางวัน วันที่ 2) 1. ตักอาหาร
2. พิจารณาก่อนรับประทานอาหาร
3. บทเรียนบนโต๊ะอาหาร (อาหารใจ อาหารกาย)กิจกรรม [1] [2] [3]
เหมือน [ก-12] รับประทานอาหาร คาบที่ 1/9 หน้า 14
เพื่อจัดระเบียบ
การรับประทาน, ตระหนักในคุณค่า,
ของมังสวิรัติ ชาวนา และพ่อครัว แม่ครัว
อุปกรณ์
[ส-2]
[ส-8 (1)]
[ส-21]
บทพิจารณาอาหาร [ส-13]
-พิธีกร
-นันทนากร
-พี่เลี้ยง
-เจ้าหน้าที่
-แม่ครัว
-หัวหน้ากลุ่ม
ชุดที่ 3 บรรยาย
ประกอบสื่อปฏิบัติให้ดูเป็น
ตัวอย่าง
“กินให้หมด
งดเสียงดัง
ลุกนั่งก็สะอาด”
วดป. (วันที่ 2)
....................
คาบที่ 3/9
15-30 นาที
11.00 – 11.30
[ก-13] ล้างจาน ล้างใจ (มื้อกลางวัน วันที่ 2) กิจกรรม [1] [2] [3]
เหมือน [ก-13] ล้างจาน ล้างใจ คาบที่ 1/9 หน้า 14
เพื่อให้ผู้เรียน รู้จัก
วิธีล้างจาน เป็นการสร้างวัฒนธรรมใหม่ของชาวบุญนิยม
ชุดอุปกรณ์ล้างจาน [ส-22] -พิธีกร
-จนท.บริการ 5ส.
-พี่เลี้ยง
-จนท.ประเมินผล
-หัวหน้ากลุ่ม
ชุดที่ 3 -สาธิต แนะนำ
-ทำตัวอย่างให้ดู
-เศษอาหารทิ้ง
-น้ำแรกสะอาด
-ล้างตามขั้นตอน
-แยกขยะถูกต้อง
-เป็นงาน
วดป. (วันที่ 2)
....................

ตลอดเวลา
ตลอดวัน
[ก-24] การจัดระเบียบตนเอง (การแต่งกาย ร่างกาย และสุขอนามัย)การจัดระเบียบการแต่งกาย (เสื้อผ้า ผ้าพันคอ ป้ายชื่อ)
การจัดระเบียบร่างกาย (ผิวหนัง ผม ฟัน เล็บ)
การจัดระเบียบสุขอนามัย (กลิ่น ความเจ็บป่วย)
เพื่อสร้างวินัย และเป็นผู้เอาภาระสุขภาพตนเอง -ผ้าพันคอ
-ป้ายชื่อ
-พี่เลี้ยง
-เจ้าหน้าที่
ประเมินผล
-หัวหน้ากลุ่ม
ผู้เรียนทุกกลุ่ม
  อธิบาย ซักถาม -สังเกต
-สำรวจความ
เรียบร้อย
-พร้อมเพรียง
-ประเมิน 5 ส.
  [1] ดูแลความเป็นระเบียบการแต่งกาย สวมใส่เสื้อผ้าปกปิดมิดชิด ไม่แต่งกายล่อแหลมไปในทางกาม ราคะ จัดระเบียบของผ้าพันคอให้เรียบร้อย ติดป้ายชื่อ ให้อ่านและมองเห็นได้ชัดเจน[2] ดูแลความสะอาดเรียบร้อยของ ผิวหนัง หวีผม รวบผม ให้เรียบร้อย แปลงฟัน ตัดเล็บ ระวังเรื่องกลิ่นจากร่างกาย และความเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากไม่ดูแลรักษาสุขภาพ[3] ให้หัวหน้ากลุ่มผู้เรียน เป็นผู้ประเมินการจัดระเบียบตนเอง        
วดป. (วันที่ 2)
....................
คาบที่ 1/4
60 นาที
11.30 – 12.30
[ก-25] การจัดระเบียบบ้านพัก และบริเวณ ฝึกปฏิบัติ 5 ส. “สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ สร้างนิสัย” กับสิ่งต่อไปนี้
1. ที่นอน โต๊ะ เตียง
2. พื้นบ้าน ผนัง ขอบหน้าต่าง เพดานฝ้า บานประตู
หน้าต่าง บันได ราวบันได
3. ชั้นวางของ ตู้ต่างๆ
4. ห้องน้ำ ห้องส้วม
5. บริเวณบ้าน
เพื่อให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติสำนึกกตัญญู 5 ส. อย่างเต็มใจ ละเอียด ถี่ถ้วน และปลูกฝังให้นำวิธีการของ 5 ส. ไปใช้ที่บ้านของตน บ้านพัก และอุปกรณ์ประจำบ้านพัก [ส-5] -เจ้าหน้าที่
บริการ 5 ส.
-เจ้าหน้าที่
ประเมินผล
-ผู้จัดการที่พัก
  ลงมือปฏิบัติ -พร้อมเพรียง
-ตรงเวลา
-ประเมิน 5 ส.
-ปรหยัดสุด
ประโยชน์สูง-เป็นงาน
  ทำความสะอาด และจัดระเบียบที่หลับนอน มุ้ง เตียง เสื่อปูนอน ผ้าห่ม หมอน ปลอกหมอน ผ้าคลุมที่นอน โต๊ะ เก้าอี้ ตู้ ชั้นวางของ พื้นบ้าน ผนัง ขอบหน้าต่าง เพดานฝ้า บานประตู หน้าต่าง บันได ราวบันได ที่วางรองเท้า ราวตากผ้า ไม้แขวนผ้า ขัดถู ห้องน้ำห้องส้วม เก็บรักษาอุปกรณ์การทำความสะอาดให้ถูกวิธี ตกแต่ง จัดมุมมอง สิ่งของเครื่องใช้ให้ดูสะอาด สดชื่น ไม่เกะกะทางสัญจรในบ้าน ดูแลทำความสะอาดบริเวณบ้าน อย่าให้รกเลอะ ถังขยะ ถังพักน้ำเสียต้องปราศจากกลิ่น        
วดป. (วันที่ 2)
....................

ตลอดเวลา
ตลอดวัน
[ก-26] การซักล้าง ฝึกปฏิบัติ 5 ส. “สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ สร้างนิสัย” ในการซักล้าง สิ่งต่อไปนี้
1. มุ้ง ผ้าห่ม ปลอกหมอน
2. เสื้อผ้าส่วนตัว
3. ภาชนะใส่อาหาร (กิจกรรมล้างจาน ล้างใจ)
4. ร่างกาย (อาบน้ำ สระผม)
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสำนึกกตัญญูต่อที่พักอาศัย และเครื่องมือใช้สอย ถังพลาสติก ขัน ผงซักล้าง ราวตากผ้า [ส-5 (4)] -เจ้าหน้าที่
บริการ 5 ส.
-เจ้าหน้าที่
ประเมินผล
-ผู้จัดการที่พัก
  ลงมือปฏิบัติ -ประเมิน 5 ส.
-ปรหยัดสุด
ประโยชน์สูง
ในเรื่องการใช้น้ำ
วดป. (วันที่ 2)
....................
คาบที่ 1/4
60 นาที
ตรวจ :
16.00 – 17.00
รายงาน :
17.00 น.
[ก-27] ประเมินผล 5 ส. ประเมินผลด้านต่างๆ และ รายงานผลการประเมิน (คะแนน) ประจำวัน ดังนี้
1. การจัดระเบียบภายในบ้านพัก
2. การจัดระเบียบบริเวณบ้านพัก
3. การจัดระเบียบสถานที่อื่นๆ ภายในศูนย์ฝึก
ที่ผู้เรียนได้รับมอบหมายให้ทำ
4. การจัดระเบียบเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ร่างกาย
5. การจัดระเบียบล้างจาน
6. ประโยชน์สูง – ประหยัดสุด
เพื่อฝึกสร้างนิสัยที่ดี ในการรักษาสิ่งแวดล้อม มีระเบียบวินัย รู้จักพึ่งตน และรู้สำนึกกตัญญูต่อที่อยู่อาศัย -รถจักรยาน
-แบบประเมินผล
5 ส. [ส-31]
-กระดานป้าย
-เจ้าหน้าที่
บริการ 5 ส.
-เจ้าหน้าที่
ประเมินผล
-พิธีกร
  ตรวจเยี่ยม ให้คะแนน ตามแบบประเมินผล
สำนึกกตัญญู
5 ส.
คะแนนรวม (ทั้งรุ่น) ผ่านเกณฑ์ ไม่น้อยกว่า 70%คะแนนกลุ่ม
ผ่านเกณฑ์
ไม่น้อยกว่า 80%

ประเมินผลสำนึกกตัญญู 5 ส. ใช้หลักเกณฑ์ สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ สร้างนิสัย เป็นตัวกำหนดคะแนน คะแนนของแต่ละหลักเกณฑ์ ให้มีค่าคะแนนเท่ากันทุกเกณฑ์ การให้คะแนนคิดเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มก็ได้ ขึ้นอยู่กับกรรมการที่ประเมิน โดยมีรายการที่ประเมิน ดังนี้

[1] การจัดระเบียบภายในบ้านพัก ได้แก่ พับเก็บมุ้ง ผ้าห่ม ที่นอน เสื้อผ้าของใช้ส่วนตัว ทำความสะอาดโต๊ะ เก้าอี้ ตู้ ชั้นวางของ พื้นบ้าน ผนัง
ขอบหน้าต่าง เพดานฝ้า บานประตู หน้าต่าง บันได ราวบันได ที่วางรองเท้า ราวตากผ้า ไม้แขวนผ้า ขัดถูห้องน้ำห้องส้วม เก็บรักษาอุปกรณ์
การทำความสะอาดให้ถูกวิธี ตกแต่ง จัดมุมมอง สิ่งของเครื่องใช้ให้ดูสะอาด สดชื่น ไม่เกะกะทางสัญจรในบ้าน

[2] การจัดระเบียบบริเวณบ้านพัก ได้แก่ ดูแลทำความสะอาดบริเวณบ้าน อย่าให้รกเลอะ ถังแยกขยะ ถังพักน้ำเสียต้องปราศจากกลิ่น

[3] การจัดระเบียบอาคารสถานที่ของศูนย์ฝึก ที่ผู้เรียนได้รับมอบหมายให้ทำ ได้แก่ ทำความสะอาด ศาลาฝึกอบรม ห้องน้ำห้องส้วม ทางเดิน โรงครัว
โรงฝึกงาน

[4] การจัดระเบียบเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ร่างกาย ได้แก่ ความสะอาดของร่างกาย สุขอนามัยของผิวหนัง ฟัน เล็บ กลิ่น การแต่งกาย ติดป้ายชื่อ

[5] การจัดระเบียบล้างจาน ได้แก่ การล้างจาน การแยกขยะ

[6] ประโยชน์สูง – ประหยัดสุด ได้แก่ การใช้น้ำ การใช้ไฟฟ้า อาหารเหลือทิ้ง

กรรมการกลาง และ หัวหน้ากลุ่มของแต่ละกลุ่ม เจ้าหน้าที่ของศูนย์ฝึกอบรม เป็นกรรมการกลางทำหน้าที่ประเมิน ที่พักอาศัย ศาลาฝึกอบรม ห้องน้ำห้องส้วม ทางเดิน โรงครัว โรงฝึกงาน การใช้น้ำ การใช้ไฟฟ้า อาหารเหลือทิ้ง การแยกขยะ และการล้างจาน กรรมการกลาง      
หัวหน้ากลุ่ม ทำหน้าที่ประเมิน อาหารเหลือทิ้ง ความสะอาดของร่างกาย และการแต่งกายของสมาชิกแต่ละคน หัวหน้ากลุ่ม      
คะแนนประเมิน แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ คะแนนกลุ่ม และคะแนนรวม คะแนนกลุ่มได้จาก ผลการประเมินของกรรมการกลาง รวมกับ ผลการประเมินของหัวหน้ากลุ่ม ส่วนคะแนนรวม ได้จากความสะอาดเรียบร้อยของ ห้องน้ำห้องส้วม ทางเดิน โรงครัว โรงฝึกงาน พฤติกรรมการใช้น้ำ ใช้ไฟฟ้า อาหารเหลือทิ้ง การแยกขยะ และการล้างจาน       คะแนนรวม
ผ่านเกณฑ์ 70%
คะแนนกลุ่ม ผ่านเกณฑ์ 80%
วดป. (วันที่ 2)
....................
คาบละ
5-10 นาที
[ก-18] เตรียมความพร้อม กิจกรรมแทรกตามควาเหมาะสม ไม่จำกัดจำนวนครั้งกิจกรรมเหมือน [ก-18] เตรียมความพร้อม หน้า 16 เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้เรียน -[ส-2 (1)]
-เพลงคนสร้างชาติ
[ส-36 (1)]
–พิธีกร
–นันทนากร
  -อธิบาย
-สาธิต
-พร้อมเพรียง
-ร่วมมือ
-ทันเวลา
-ว่องไว
วดป. (วันที่ 2)
....................
คาบที่ 1/2
10-15 นาที
12.30 น.
[ก-21] พัฒนาภาวะผู้นำ -แสดงบทบาทสมมุติ ตามบท
-ประเมินผลให้คะแนน
(กิจกรรมเสริม ก่อนรายการภาคบ่าย)
เพื่อปรับปรุงพฤติภาพ ให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างผาสุก ให้รู้จักการวางตัวในฐานะ ผู้นำ หรือผู้ตาม หรือทั้งสองฐานะได้อย่างไม่ขัดแย้ง -โสตทัศนูปกรณ์
[ส-2 (1)]
-บทละครสั้น [ส-29]
พิธีกร, ปฏิบัติกร, พี่เลี้ยง   -แสดงบทบาท
สมมุติ
-พร้อมเพรียง
-ร่วมมือ
-มีอารมณ์ร่วม
วดป. (วันที่ 2)
....................
คาบที่ 1/1
120 นาที
12.30 - 14.30
[ก-4] ขบวนการกู้ชาติ -ปัญหาวิกฤติชาติในอดีตและปัจจุบัน -พฤติกรรมการบริโภคของคนไทย
-หนี้ IMF -กสิกรรมไร้สารพิษ แนวคิดกู้วิกฤติชาติ
-คนของแผ่นดิน คือ คนสร้างชาติ
-โสตทัศนูปกรณ์
[ส-2 (1)]
-แผนภูมิ
-ภาพประกอบ
ปฏิบัติกร-นักวิชาการ-นักการเมือง คุณหนึ่งแก่น
บุญรอด
และ คณะ
-บรรยาย
ประกอบสื่อ
-สร้างเจตนคติ
และค่านิยม
-สังเกต
-มีอารมณ์ร่วม
-ร่วมกิจกรรม
-จดบันทึก
  [1] บรรยายพื้นฐานชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย ด้านเศรษฐกิจสังคม เปรียบเทียบกับ วิกฤติชาติในปัจบัน ยกตัวอย่างพฤติกรรมการบริโภคของคนไทย ที่เป็นเหตุให้
เป็นหนี้ต่างชาติ
เพื่อให้เกิดจิตสำนึก เกิดความรักชาติ รักท้องถิ่น พร้อมที่จะร่วมใจปลดหนี้ต่างชาติ        
  [2] อธิบายแนวคิดกู้วิกฤติชาติ จากหลายๆ สำนัก ซึ่งยังคงประสบความล้มเหลว เพื่อให้เห็นแนวทางออกที่เหมาะสมกับประเทศไทย คือการทำกสิกรรมไร้สารพิษ        
  [3] บรรยายคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของชาวนา ในฐานะคนของแผ่นดิน เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเกิดความประทับใจ พร้อมที่จะละ เลิก อบายมุข มาเป็นคนขยัน ซื่อสัตย์ เสียสละ ให้เป็นมาตรฐานของชีวิตประจำวัน และรวมตัวกันในรูปขององค์กร หรือสหกรณ์ ในการกอบกู้วิกฤติทาง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม        
วดป. (วันที่ 2)
....................
คาบที่ 1/2
120 นาที
14.30 - 16.30
[ก-14] ฝึกงานสัมมาอาชีพ ฝึกปฏิบัติงานสัมมาอาชีพ ตามฐานงานต่างๆ ดังนี้
ฐานงานเลือก ได้แก่ ฐานแปรรูปข้าว ฐานแปรรูปสมุนไพร ฐานเห็ด และฐานแชมพู
(1 คาบ) ผู้เรียน 1 คน ให้เลือกฝึกปฏิบัติได้ ไม่เกิน 2 ฐานงาน
เพลงงานคือชีวิต พิธีกร, ปฏิบัติกร, พี่เลี้ยง, แม่ครัว, เจ้าหน้าที่ประเมินผล   -สาธิต แนะนำ
-ทำตัวอย่างให้ดู
-ซักถาม
-สัมภาษณ์
-สังเกต
-ปฏิบัติตามได้
-มีส่วนร่วม
-มีคำถาม
-จดบันทึก
-พร้อมเพรียง
  [1] การแปรรูปข้าว อธิบายและสาธิตวิธีทำปาท่องโก๋ ขั้นตอนการทำ ตามสื่อลำดับที่ 23 (2) เพื่อเรียนรู้ทักษะ วิธีการ และการประยุกต์ใช้ในโอกาสต่างๆ อุปกรณ์ และสถานที่ ฝึกปฏิบัติที่โรงครัว [ส-23 (1)] ปฏิบัติกร สาธิต
ประจำฐาน
  สาธิต แนะนำ -เป็นงาน
  [2] การแปรรูปสมุนไพร อธิบายและสาธิตวิธีทำสมุนไพร ขั้นตอนการทำ ตามสื่อลำดับที่ 24 (2) เพื่อเรียนรู้ทักษะ วิธีการ และการประยุกต์ใช้ในครัวเรือน และในโอกาสต่างๆ อุปกรณ์ และสถานที่ ฝึกปฏิบัติที่โรงแปรรูปสมุนไพร [ส-24 (1)] ปฏิบัติกร สาธิต
ประจำฐาน
  สาธิต แนะนำ  
  [3] การเพาะเห็ดนางฟ้า อธิบายและสาธิตวิธีเพาะเห็ดนางฟ้า ขั้นตอนการทำ ตามสื่อลำดับที่ 25 (2) เพื่อเรียนรู้ทักษะ วิธีการ และการประยุกต์ใช้ในครัวเรือน และเพื่อการค้า อุปกรณ์ และสถานที่ฝึกปฏิบัติ ที่โรงเห็ด [ส-25 (1)] ปฏิบัติกร สาธิต
ประจำฐาน
  สาธิต แนะนำ  
  [4] การทำแชมพู อธิบายและสาธิตวิธีทำแชมพู ขั้นตอนการทำ ตามสื่อลำดับที่ 26 (2) เพื่อเรียนรู้ทักษะ วิธีการ และการประยุกต์ใช้ในครัวเรือน และในโอกาสต่างๆ อุปกรณ์ และสถานที่ฝึกปฏิบัติ ที่โรงแชมพู [ส-26 (1)] ปฏิบัติกร สาธิต
ประจำฐาน
  สาธิต แนะนำ  
วดป. (วันที่ 2)
....................
คาบที่ 4/9
30-60 นาที
17.00 – 18.00
[ก-12] รับประทานอาหาร (มื้อเย็น วันที่ 2) 1. ตักอาหาร
2. พิจารณาก่อนรับประทานอาหาร
3. บทเรียนบนโต๊ะอาหาร (อาหารใจ อาหารกาย)กิจกรรม [1] [2] [3]
เหมือน [ก-12] รับประทานอาหาร คาบที่ 1/9 หน้า 14
เพื่อจัดระเบียบ
การรับประทาน, ตระหนักในคุณค่า,
ของมังสวิรัติ ชาวนา และพ่อครัว แม่ครัว
อุปกรณ์
[ส-2]
[ส-8 (1)]
[ส-21]
บทพิจารณาอาหาร [ส-13]
-พิธีกร
-นันทนากร
-พี่เลี้ยง
-เจ้าหน้าที่
-แม่ครัว
-หัวหน้ากลุ่ม
ชุดที่ 4 บรรยาย
ประกอบสื่อปฏิบัติให้ดูเป็น
ตัวอย่าง
“กินให้หมด
งดเสียงดัง
ลุกนั่งก็สะอาด”
วดป. (วันที่ 2)
....................
คาบที่ 4/9
15-30 นาที
17.30 – 18.00
[ก-13] ล้างจาน ล้างใจ (มื้อเย็น วันที่ 2) กิจกรรม [1] [2] [3]
เหมือน [ก-13] ล้างจาน ล้างใจ คาบที่ 1/9 หน้า 14
เพื่อให้ผู้เรียน รู้จัก
วิธีล้างจาน เป็นการสร้างวัฒนธรรมใหม่ของชาวบุญนิยม
ชุดอุปกรณ์ล้างจาน [ส-22] -พิธีกร
-จนท.บริการ 5ส.
-พี่เลี้ยง
-จนท.ประเมินผล
-หัวหน้ากลุ่ม
ชุดที่ 4 -สาธิต แนะนำ
-ทำตัวอย่างให้ดู
-เศษอาหารทิ้ง
-น้ำแรกสะอาด
-ล้างตามขั้นตอน
-แยกขยะถูกต้อง
-เป็นงาน
วดป. (วันที่ 2)
....................
คาบที่ 2/3
10-15 นาที
18.00 น.
[ก-23] สาระบันเทิง เรื่อง เพชฌฆาตผู้ลอยนวล นักเรียนสัมมาสิกขา แสดงละครเพลง เรื่อง
เพชฌฆาตผู้ลอยนวล
เพื่อกระตุ้นให้ผู้ชมเกิดจิตสำนึกเห็นโทษภัยของการสูบบุหรี่ และเลิกบุหรี่ให้ได้ เพราะบุหรีให้โทษทั้งต่อตนเอง และผู้อื่น -โสตทัศนูปกรณ์
[ส-2 - 3]
-เพลงเพชฌฆาต
ผู้ลอยนวล
-เครื่องแต่งกาย และ
อุปกรณ์การแสดง
-พิธีกร,
-นักเรียนสัมมา
สิกขา
ชุดที่ 2 -แสดงละคร
-สร้างเจตนคติ
และค่านิยม
-สังเกต
-พร้อมเพรียง
-มีส่วนร่วม
วดป. (วันที่ 2)
....................
คาบที่ 3/6
60 นาที
18.00 – 19.00
[ก-5] รายการภาคค่ำ (สัมภาษณ์ปฏิบัติกร)
-ชีวิตมีคำตอบ (60 นาที)
ปฏิบัติกรตัวอย่าง บรรยายถึงภูมิหลังชีวิต ก่อนพบธรรมะ ที่ประสบปัญหา อันเกิดจากกิเลสเร้ารุม จนเกิดปัญหาวิกฤติของชีวิต ทำให้ชีวิตมีความเป็นอยู่ไม่ผาสุก เดือดเนื้อร้อนใจ เกิดความขัดสน โรคภัยเบียดเบียน อาชีพล้มเหลว ขาดทุน ประสบความทุกขเวทนายิ่งนัก แสวงหาคำตอบ ก็ไม่พบ ในที่สุดเมื่อพบธรรมะ จึงมองเห็นหนทางที่จะแก้ไขวิกฤตของชีวิตได้ เป็น ชีวิตหลังพบสัจธรรม มีประสบการณ์และความรู้ดีๆ มาเล่าสู่กันฟัง โดยเฉพาะการทำกสิกรรมธรรมชาติ จนบัดนี้สามารถ พึ่งตน จนเป็นที่พึ่งของคนอื่นได้ เป็น ชีวิตที่มีคำตอบ
เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดจิตสำนึก ที่จะฝึกตนให้เป็นคนโลกใหม่ เป็นคนมีศีล ขยัน เสียสละ อย่างมีปัญญา โสตทัศนูปกรณ์
[ส-2-3]
ศาลาฟังธรรม
-สมณะ
-ปฏิบัติกร
-พิธีกร
  อภิปราย ซักถาม -สังเกต
-ตั้งใจ
-มีคำถาม
-จดบันทึก
วดป. (วันที่ 2)
....................
คาบที่ 4/6
60 นาที
19.00 – 20.00
[ก-22] วิปัสสนาจอแก้ว (รายการภาคค่ำ) เรื่อง ปอดถูกตัดเพราะอัดบุหรี่ (60 นาที) [1] วิปัสสนาจอแก้ว มีเนื้อหาสาระ และกิจกรรม ดังนี้ -ความหมาย, ประเภทของสื่อวิดีทัศน์, แนวทางการคัดเลือกสื่อ, สื่อวิดีทัศน์ต้องห้าม, จุดประสงค์ 4 ประการของการดูวิดีทัศน์, วิธีการจัดกิจกรรม, การวัดผลประเมินผลหลังการดู, องค์ประกอบของวิปัสสนาจอแก้ว -ดูสารคดี ธรรมคดี และบันเทิงคดี ที่ผ่านการคัดเลือกแล้ว ทางวิดีทัศน์ หรือ โทรทัศน์วงจรปิด (MATV) หรือ แผ่นบันทึกวิดีโอ (VCD, DVD) -เลือกดูสารคดี ธรรมคดี และบันเทิงคดี ที่ทางศูนย์ฝึกอบรมจัดไว้ให้ -สรุปวิเคราะห์ผลที่ได้ หลังการดู โสตทัศนูปกรณ์, เครื่องเล่น VCD หรือ DVD, คอมพิวเตอร์
วิดีทัศน์ เรื่อง ปอดถูกตัดเพราะอัดบุหรี่
[ส-2 (1) (3), 3 (1) (3)]
-สมณะ
-พิธีกร
-นันทนากร
-พี่เลี้ยง
-เจ้าหน้าที่
ประเมินผล
  สนทนาธรรม
ซักถาม
-สังเกต
-ตั้งใจ
-มีคำถาม
-จดบันทึก
  [2] สมณะบรรยายเกี่ยวกับโทษภัยของการสูบบุหรี่ ประกอบกับการชมภาพยนตร์ตัวอย่าง (หรือวิดีทัศน์) เรื่องราวเกี่ยวกับการผ่าตัดปอดเพราะสูบบุหรี่จัด เพื่อให้ผู้เรียนเกรงกลัว คิด ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ -สมณะ      
  [3] อธิบายความหมายของวิปัสสนาจอแก้ว ประเภทของสื่อ
วิดีทัศน์ แนวทางการคัดเลือกสื่อให้ผู้เรียนดู สื่อวิดีทัศน์ต้องห้าม จุดประสงค์ 4 ประการของการดูวิดีทัศน์ และวิธีการจัดกิจกรรม ตลอดจน การวัดผลประเมินผล หลังการดู
เพื่อสร้างสัมมาทิฐิให้แก่ผู้เรียน ในการนำสื่อ วิดีทัศน์มาเป็นนวัตกรรมในการเผยแพร่คำสอนทางศาสนา การพัฒนาคุณภาพชีวิต
ให้แก่บุคคล กลุ่ม องค์กร
       
  1. ประเภทของสื่อวิดีทัศน์ที่กำหนดให้ดู มี 3 ประเภท คือ 1.1 ประเภทสารคดี ประกอบด้วย สาระความรู้ทั่วไป (โลกธรรม) เช่น วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ เกษตรกรรม วัฒนธรรม อาชีพ
1.2 ประเภทธรรมดคี ประกอบด้วย สาระความรู้ที่ มีธรรมะแทรกไว้เกินร้อยละ 60 (โลกุตระธรรม) เช่น ประวัติศาสตร์ศาสนา เรื่องของนักบุญ เหตุการณ์ พิธีกรรม กิจกรรม กิจการ ทางศาสนา
1.3 ประเภทบันเทิงคดี ประกอบด้วยเรื่องราว ลีลา แสง เสียง บทบาท ที่แสดงออกไปในทางโลภ โกรธ หลง ซึ่งถือเป็นเครื่องชูรสในการดู แบ่งได้เป็น 4 ลักษณะ คือ ลักษณะซาบซึ้งตรึงใจ (Romanticism) เช่น เรื่องรัก ประทับใจ (แนวโลภะจริต - ราคะจริต) ลักษณะร้อนแรง ดุเดือด (Sadism) เช่น เรื่องบู๊ โหดเหี้ยม กำลังภายใน (แนวโทสะจริต) ลักษณะสัจจะสังคม (Realistic) เช่น เรื่องราวความเป็นจริงในสังคม ที่เกิดขึ้นจริง และ ลักษณะจินตนาการ (Idealistic) เช่น เรื่องราวที่เน้นอุดมคติ อุดมการณ์ ยึดมั่นต่อคุณความดีของมนุษย์
สื่อประเภทบันเทิงคดี ต้องผ่านการคัดเลือกจากสมณะก่อนว่า สาระในเรื่องจะสอนธรรมะได้มากน้อยเพียงใด แง่ใด เช่น ลักษะซาบซึ้งตรึงใจ ต้องเป็นความซาบซึ้งในความดี ความเอื้อเฟื้อ ความเสียสละ มิใช่รักใคร่แบบชู้สาว ถ้าเป็นเรื่องดุเดือด ต้องชี้ให้เห็นถึงความเข้มแข็ง จริงใจ มิใช่รุนแรงแบบโทสะ อาฆาต ส่วนลักษณะเน้นสัจจะ ความเป็นจริงในสังคมมนุษย์ หรือเน้นอุดมการณ์ จินตนาการ ถ้าไม่เป็นเรื่องเพ้อฝันเกินจริง ก็คัดเลือกให้ดูได้
   
  2. สื่อวิดีทัศน์ ที่ห้ามดูเด็ดขาด ได้แก่ 2.1 สื่อแนวราคะ - โลภะ (หนังรัก) เพราะเป็นการสะสมกาม ปลุกเร้า ยั่วย้อมมอมเมาในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ตลอดจนโฆษณาชวนเชื่อ อนาจาร
2.2 สื่อแนวโทสะ (หนังบู๊ ล้างผลาญ) เพราะเป็นการสะสมจิตสำนึกทำลายล้าง ส่งเสริมความรุนแรง
2.3 สื่อแนวโมหะ (หนังผี ผีหลอก วิญญาณหลอน) เพราะไม่มีสาระ มีแต่ความงมงาย เพ้อเจ้อ หลอกลวงกันด้วยเรื่องผีสาง หรือเป็นเรื่องตลกขบขัน ไร้สาระ ลามกอนาจาร
   
  3. จุดประสงค์ 4 ประการ ของการดูวิดีทัศน์ (ที่เลือกสรรแล้ว) ซึ่งส่งผลต่อการปฏิบัติธรรม ลดละกิเลส เกิดปัญญาญาณ คือ 3.1 เกิดอริยญาณ คือเห็นทุกข์จากการเผารน ของกิเลสเชิงชอบ (กาม) กิเลสเชิงชัง (โทสะ พยาบาท) กิเลสเชิงฤาษีป่า ได้แก่ ความง่วงเหงา หาวนอน เบื่อหน่าย รำคาญ (ถีนะมิทธะ) กิเลสเชิงฤาษีเมือง ได้แก่ ความฟุ้งซ่าน ฝันกลางวัน (อุทธัจจะ กุกกุจจะ) และกิเลสเชิงปัญญา ได้แก่ ความลังเลสงสัยในการทำดี ความอ่อนแอทางจริยธรรม คิดแต่ไม่ทำ มากเหตุผล3.2 ทำการปฏิบัติ คือ เรียนรู้กิเลสที่เกิดขึ้นขณะดู ทดสอบสภาวะจิตของตนเองว่า เมื่อกระทบสัมผัสกับผัสสะ แสง เสียง ลีลา บทบาท ที่กระตุ้นอารมณ์โลภะ ราคะ โทสะแล้ว จิตใจมีอาการอย่างไร และฝึกปรับจิตเปลี่ยนใจ ควบคุมให้อยู่เหนืออารมณ์เหล่านั้นได้3.3 อัดพลังกุศล คือ ให้เพิ่มพูนกำลังใจ ในการทำความดี เรียนรู้วิธีทำดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ซึมซับประทับใจ (Absorb) ในพฤติกรรมที่ดีของตัวละคร และบุคคลที่สัมผัสสัมพันธ์ด้วยในชีวิตจริง รู้จักวิเคราะห์ จำแนก ดี ชั่ว ให้ชำนาญ ดีต้องสะสม ชั่วต้องสะสาง3.4 ฝึกฝนโลกะวิทู – เพิ่มพหูสูต เป็นการเรียนรู้วัฒนธรรมของคนชาติต่างๆ เผ่าต่างๆ เรียนรู้การดำรงชีวิต และการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันของชนชาติต่างๆ ทุกชนชั้น ทุกอาชีพ ได้ศึกษาทิฐิ พฤติกรรม กิจกรรม กิจการ ของคนเหล่านั้น ตลอดจนเรียนรู้เทคโนโลยีต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชีวิตไปสู่ระบบบุญนิยม เป็นโลกุตระชน จนถึงเรียนรู้สมมุติสัจจะของมนุษย์ โลก สังคม    
  4. องค์ประกอบของกิจกรรมวิปัสสนาจอแก้ว ในการส่งเสริมให้เกิดการกระตุ้นในการปฏิบัติธรรม และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ไปสู่ดี ได้แก่ 4.1 ประสิทธิภาพในการสื่อ (คุณภาพของเรื่อง-การดำเนินเรื่อง)
4.2 ประสิทธิภาพในการคัดเลือกเรื่องให้เหมาะกับผู้เรียน (ร่อนทองในกองขี้)
4.3 ประสิทธิภาพการชี้แนะ ในขณะชมว่า ในเรื่องมีสาระ แง่คิดทางธรรมะประการใด
4.4 ประสิทธิภาพในการรับรู้ของผู้เรียน (ความสนใจ) ซึ่งอยู่กับพื้นฐานทางความเชื่อ วัฒนธรรม อารมณ์ สังคม และประสบการณ์เดิม
   
  5. วัตถุประสงค์ 5.1 เพื่อให้รู้จักเลือกสรรดูรายการที่มีสาระ มีประโยชน์ต่อการเรียน การทำงาน และการปฏิบัติธรรม
5.2 เพื่อนำระบบวิดีทัศน์ โทรทัศน์วงจรปิด (MATV) แผ่นบันทึกวิดีโอ (VCD, DVD) โทรทัศน์ มาเป็นเครื่องมือฝึกปฏิบัติลดละกิเลส เพิ่มปัญญาญาณให้แก่ผู้เรียน
5.3 เพื่อนำสารคดีบันเทิง มาปรับปรุงเป็นนวัตกรรมเพื่อการสอนศาสนา (การประยุกต์วิธีการใหม่ในการศึกษาธรรมะ)
5.4 เพื่อเป็นการเสริมกำลังใจในการเรียน และการทำงาน เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด เพื่อใช้เป็นเงื่อนไขในการปรับปรุงและพัฒนาลักษณะนิสัยของผู้เรียน
   
วดป. (วันที่ 2)
....................
คาบที่ 2/4
30 นาที
20.00 – 20.30
[ก-10] สวดมนต์ – นั่งสมาธิ ก่อนนอน –สวดมนต์ –สมาธิพุทธ สมาธิฤาษี กิจกรรม เหมือน [ก-10] คาบที่ 1/4
หน้า 19
เพื่อให้ผู้เรียนระลึกถึงธรรม ได้ดวงตาเห็นธรรม ในขณะสวดมนต์ และเป็นการสร้างพุทธประเพณีของชาวพุทธ เกิดความสะอาด สว่าง สงบ ขึ้นในจิตใจในระหว่างทำพิธี บทสวดมนต์แปล
[ส-12 (1) (2) (3) (4) (5) (6) (8)]
-สมณะ   -นำกล่าว
-ปฏิบัติให้ดู
เป็นตัวอย่าง
-สังเกต
-พร้อมเพรียง
-ครบจำนวน-ศีลเด่น
วัน เดือน ปี
....................
คาบที่ 3/6
90 นาที..................น.
[ก-34] ประชุมคนสร้างชาติ (ประชุมระหว่างงาน) ประชุมเจ้าหน้าที่ศูนย์ฝึก และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง หลังเสร็จสิ้นกิจกรรมของแต่ละวัน กิจกรรม เหมือน [ก-34] ประชุมคนสร้างชาติ คาบที่ 2/6
หน้า 19
-เพื่อประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ ,การดำเนินกิจกรรมตามแผน, แก้ไข เปลี่ยนแปลง -โสตทัศนูปกรณ์
-สถานที่ประชุม
สมณะ
เป็นประธาน
ผอ.ศูนย์ฝึก
ดำเนินการประชุม
  หัวหน้างาน
ชี้แจง ปัญหา อุปสรรค และ
ข้อเสนอแนะ
สิ่งดีควรรักษา
สิ่งบกพร่องควรแก้ไขประเมินคุณภาพ
บุคลากรศูนย์ฝึก-ประโยชน์ตน
ประโยชน์ท่าน-ประหยัดสุด
ประโยชน์สูง-ไม่พัก ไม่เพียร-ทิฐิ อัตตา